กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1775
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorนุจรี ไชยมงคล
dc.contributor.authorยุนี พงศ์จตุรวิทย์
dc.contributor.authorทวีลาภ ตั๊นสวัสดิ์
dc.contributor.authorชรริน ขวัญเนตร
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:08:40Z
dc.date.available2019-03-25T09:08:40Z
dc.date.issued2559
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1775
dc.description.abstractโรค Metabolic Syndrome มีการศึกษาน้อยในประเทศไทยในกลุ่มวัยเด็ก โดยเฉพาะในเรื่องของความชุก ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และตัวชี้วัดที่สำคัญของการวินิจฉัยโรค การวิจัยนี้เป็นแบบ Cohort-prospective Study มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความชุก หาความสัมพันธ์ และปัจจัยทำนายของโรค Metabolic Syndrome ในเด็กวัยเรียนชาวไทยในระยะติดตามปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 131 ราย โดยติดตามจากกลุ่มเดิมที่ศึกษาในปีแรกที่มีภาวะน้ำหนักเกิน และอ้วน ที่อยู่ในเขตจังหวัดชลบุรี ในปีพ.ศ. 2558 กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 10.86 (± 1.36) ปี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เส้นรอบเอว วัดความดันโลหิต และตรวจเลือดหาระดับน้ำตาล และไขมันวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Crosstabs x^2-test, Independent t-test, paired t-test และใช้ Stepwise multiple linear regression ผลการวิจัยพบความชุกของโรคเมตาบอลิกซินโดรมร้อยละ 7.8 เพิ่มขึ้นจากการศึกษาในปีแรกที่พบร้อยละ 5.0 คิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.0 ค่าเฉลี่ยของน้ำหนัก ความสูง ค่าดัชนีมวลกาย ค่าเปอร์เซ็นไทล์ดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอวเพิ่มขึ้นเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้นทั้งเด็กนักเรียนชายและหญิง แต่ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างเพศของเด็กในเรื่องของลักษณะตัวแปรทางกายภาพดังกล่าว แต่พบว่านักเรียนชายที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปมีค่าเฉลี่ยเส้นรอบเอวมากว่านักเรียนหญิงในอายุที่เท่ากันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t =2.09, p <.05) Triglyceride เป็นตัวทำนายที่ดีที่สุดของดัชนีมวลกาย เปอร์เซ็นไทล์ (β= .214) รองลงไปคือ Systolic BP (β= .214) ตัวแปรทั้งสองทำนายดัชนีมวลกายเปอร์เซ็นไทล์ของเด็กนักเรียนได้ร้อยล่ะ 10.6 (Adjust R² = .93, F2, 128=7.63, p<.01) นอกจานนี้ Triglyceride ยังเป็นตัวทำนายที่ดีที่สุดของเส้นรอบเอวเด็กนักเรียน (β= .349) รองลงไปคือ Systolic BP (β= .333) เพศของเด็ก (ชาย) (β=.201) และ HDL (β =.164) ตัวแปรทั้งสี่ทำนายความยาวเส้นรอบเอวของเด็กนักเรียนได้ร้อยละ 34.1 (Adjust R2 =.320, F4,126 = 16.289, p<.001) การศึกษาติดตามปีที่ 2 นี้ได้ผลเช่นเดียวกับการศึกษาในปีแรก ซึ่งเป็นการยืนยันได้ว่า Triglyceride, Systolic BP และ HDL มีความสัมพันธ์ และอิทธิพลต่อดัชนีมวลกายเปอร์เซ็นไทล์และความยาวเส้นรอบเอวในเด็กนักเรียน และส่งผลต่อการเกิดโรคเมตาบอลิกซินโดรม ซึ่งสอดคล้องกับ IDF สำหรับการวินิจฉัย Metabolic Syndrome ในเด็กอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ระดับน้ำตาลสูงในเลือดยังไม่เหมาะสมเป็นตัวชี้วัดสำหรับใช้เพื่อการวินิจฉัยโรค Metabolic Syndrome ในเด็ก แต่ควรซักประวัติโรคเบาหวานในเครือญาติ อย่างน้อย 3 ลำดับชั้นเพื่อเป็นข้อมูลสำคัญช่วยในการเฝ้าระวังโรค และ เพศของเด็กยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคth_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินงบประมาณเงิยรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558th
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.subjectเด็กวัยเรียนth_TH
dc.subjectโรคเมตาบอลิกซินโดรมth_TH
dc.titleโรค Metabolic Syndrome ในเด็กวัยเรียนในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย: ความชุก และการศึกษาติดตาม (ระยะติดตามปีที่ 2)th_TH
dc.title.alternativeMetabolic Syndrome among School-age children in the Eastern Region of Thailand: Prevalence and Cohort Study (The 2nd year follow-up)th_TH
dc.typeResearch
dc.author.emailnujjaree@buu.ac.th
dc.author.emailyuneep@buu.ac.th
dc.author.emailtaweelarp@buu.ac.th
dc.year2559
dc.description.abstractalternativeMetabolic Syndrome Studies related to metabolic syndrome in Thailand were scarcely reported among children, especially about subjects pertinent to its prevalence, associated factors and diagnostic. This Cohort-prospective study aimed to survey prevalence, examine associated factors and determine predictors or indicators of metabolic syndrome in Thai school-age children at the second year follow-up period. Sample included 131 school-age children who had participated at the first year of study with overweight and obesity in Chon Buri province in 2015. The children had their mean age of 10.86 (± 1.36) years. Data were collected by measuring body weight, height, waist circumference, blood pressure, and blood test for sugar and lipid levels. Descriptive statistics in terms of frequency, per cent, mean and standard deviation, and Crosstabs x^2-test, Independent t-test, paired t-test, paired t-test, Paired t-test and Stepwise multiple linear regression were used to analyzed the data. Results revealed that the prevalence of metabolic syndrome was 7.8% while the last year was 5.0%, which was 56.0% acceleration. There were increasing of means of body weight, height, BMI, BMI-for-age percentile and waist circumference when the children grew older both girls and boys. However, there was no significant difference between genders of the children among these physiologic characteristics. Yet, in boys with their age of 10 years or older had significantly more waist circumference average than girls at the same age (t =2.09, p <.05) Triglyceride was the best predictor of BMI-for-age percentile (β= .214), and the second best was Systolic BU (β= .214). These two predictors accounted for 10.6% in prediction of BMI-for-age percentile in school-age children (Adjust R² = .93, F2, 128=7.63, p<.01). Moreover, Triglyceride was also the best predictor of the children waist circumference, (β= .349), following by Systolic BP (β= .333), child gender (boy) (β=.201) and HDL (β =.164). These four predictors accounted for 34.1% in the prediction of the children waist circumference (Adjust R2 =.320, F4,126= 16.289, p<.001). This second follow-up revealed the same findings as in the first year. It could be confirmed that Triglyceride, systolic BP and HDL were associated with, and had effected on BMI-for-age percentile and waist circumference. Consequently, these could result in metabolic syndrome among school-age children. These findings are blood sugar level is less likely to be an appropriated indicator for diagnostic criteria of metabolic syndrome in children. Nevertheless, family health history about Diabetes mellitus for at least three generation should be assessed. Information from the family would be crucial for the metabolic syndrome’s surveillance. In addition, child gender is not clearly confirmed it association with Metabolic syndromeen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_083.pdf11.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น