กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1657
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorจารุนันท์ ประทุมยศth
dc.contributor.authorสุพรรณี ลีโทชวลิตth
dc.contributor.authorณิษา สิรนนท์ธนาth
dc.contributor.authorศิริวรรณ ชูศรีth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned2019-03-25T09:08:32Z
dc.date.available2019-03-25T09:08:32Z
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1657
dc.description.abstractในธรรมชาติปลาแมนดารินเขียว (Synchiropus splendidus) กินแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็กและขนาดใหญ่แต่แพลงก์ตอนสัตว์เหล่านี้เพาะเลี้ยงยากในที่กักขัง อาร์ทีเมียแต่ หาได้ง่าย เจริญเติบโตเร็วซึ่งเป็นอาหารทางเลือกในการเลี้ยงปลาแมนดารินเขียวแต่ขนาดและปริมาณอาร์ทีเมียที่ให้ปลาแมนดารินเขียวกินและปลาสามารถสืบพันธุ์ได้ต้องทำการศึกษา นอกจากนี้ การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาแมนดารินเขียวด้วยอาหารเม็ดทดแทนการใช้อาหารมีชีวิตยังไม่มีรายงานการวิจัย รายงานการวิจัยนี้เป็นรายงานการวิจัยเพื่อศึกษาขนาดและปริมาณของอาร์ทีเมียที่ให้พ่อแม่พันธุ์ปลาแมนดารินเขียวที่ได้จากการเพาะเลี้ยง (F1) กินและปลาสามารถสืบพันธุ์ ในปีที่ 1 วางแผนการทดลองแบบ 4×3 การทดลองแบบสุ่มตลอด ชุดการทดลองประกอบด้วย ชุดการทดลองที่ 1 ให้กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 3 ตัว/ลิตร/ครั้ง ชุดการทดลองที่ 2 ให้กินอาร์ทีเมียแรกเกิด 0.5 ตัว/มิลลิลิตร/ครั้ง ชุดการทดลองที่ 3 ให้กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 2 ตัว/ลิตร/ครั้งและอาร์ทีเมียแรกฟัก 0.25 ตัว/มิลลิลิตร/ครั้ง ชุดการทดลองที่ 4 ให้กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 1 ตัว/ลิตร/ครั้งและอาร์ทีเมียแรกฟักจำนวน 0.5ตัว/มิลลิลิตร/ครั้ง ก่อนนาอาร์ทีเมียไปใช้เป็นอาหารปลาแมนดารินเขียว ทำการเสริมอาหารในอาร์ทีเมียด้วยแพลงก์ตอนพืชผสมกัน 2 ชนิดเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ชม ระหว่างเตตราเซลมิส (Tetraselmis gracilis) และไอโซไคลซิส (Isochrysis galbana) หรือระหว่างเตตราเซลมิส (T. gracilis) และนาโนโครลอปซิส (Nanochrolopsis oculata) เริ่มต้นการทดลองเมื่อปลามีอายุ 1 ปี 2 เดือน ทดลองในตู้กระจกขนาด 45 × 120 × 50 เซนติเมตรบรรจุน้ำ 270 ลิตร ตู้ทดลองแบ่ง 2 ส่วนคือส่วนเลี้ยงปลา (180 ลิตร) และส่วนเก็บไข่ ( 90 ลิตร) ให้อาหารปลาแมนดารินเขียว 2 ครั้ง/วัน ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 8 เดือน เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ปลาแมนดารินเขียวอายุ 2 ปีพบว่าในทุกชุดการทดลองปลาเพศเดียวกันมีการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p0.05) แต่ปลาเพศผู้มีขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย ปลาแมนดารินเขียวที่กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัยจำนวน 1 คู่ เริ่มผสมพันธุ์เมื่ออายุ 1 ปี 7 เดือนก่อนสิ้นสุดการทดลอง 3 เดือนดังนั้นปลาแมนดารินเขียวที่เลี้ยงในที่กักขังและเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์อาจจะมีขนาดใกล้เคียงกับขนาดของปลาแมนดารินเขียวเมื่อสิ้นสุดการทดลองซึ่งปลาแมนดารินเขียวเพศผู้มีน้ำหนัก 3.70 กรัม ความยาวลำตัว 5.54 เซนติเมตร และ เพศเมียมีน้ำหนัก 3 กรัม ความยาวลาตัว 5.39 เซนติเมตร ปลาแมนดารินเขียวออกไข่ครั้งละประมาณ 48 - 253 ฟอง จำนวนครั้งการออกไข่สัมพันธ์กับคุณภาพไข่ดีแต่ไม่สัมพันธ์กับปริมาณไข่ ลูกปลาแรกเกิดเป็นระยะ pro-larvae ซึ่งมีลำตัวใสและมีถุงไข่แดงขนาดใหญ่ ปากและสีของตายังไม่พัฒนา การทดลองปีที่ 2 ศึกษาผลของอาหารมีชีวิตและอาหารเม็ดต่อการสืบพันธุ์ของปลาแมนดารินเขียว (F1) ที่เลี้ยงกักขังth_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectปลา - - การเพาะเลี้ยงth_TH
dc.subjectปลาแมนดารินเขียวth_TH
dc.subjectอาร์ทีเมียth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleผลของขนาดและความหนาแน่นของอาร์ทีเมียต่อผลผลิตไข่ของปลาแมนดารินเขียว (Synchiropus splendidus, Herre, 1927)th_TH
dc.title.alternativeEffects of artemai size and density on eggs production of green mandarinfish, Synchiropus splendidus, Herre, 1927en
dc.typeงานวิจัย
dc.year2558
dc.description.abstractalternativeIn the wild, green mandarinfish, Synchiropus splendidus, feed principally on a range of zooplankton, however, rearing zooplankton under captive conditions remains problematic. While Artemia are used intensively in aquaculture for rearing finfish, they have the benefit of being fast growing and readily available and therefore may serve as an alternative live feed for S. splendidus, however, the right size and density of Artemia to present to the fish needs to be determined. In addition, Replacement of live feeds with artificial diet remains investigation. The current experiment set to determine what stages and density of Artemia were appropriate for maintaining growth, leading to successful spawning events. To investigate this, a 4×3 completely randomised design (CRD) was used to test various live Artemia diets presented to the F1 progeny of green mandarinfish reared under artificial conditions. The experimental treatments were: 1) live adult Artemia fed at 3 individuals (ind) L-1; 2) newly hatched (NH) Artemia fed at 0.5 ind. ml-1; 3) adult Artemia at 2 ind. L-1 plus NH at 0.25 ind. ml-1; and, 4) adult Artemia at 1 ind. L-1 plus NH at 0.25 ind. ml-1. The Artemia used in all treatments, were fed on a daily diet of dry Spirulina platensis prior to enrichment with a mixture of live algae, i.e., either Tetraselmis gracilis and Isochrysis galbana or T. gracilis and Nanochrolopsis oculata. The initial, 1.2 year old S. splendidus used for the experimental trials, were raised in 45 × 120 × 50 cm glass tanks containing 270 l of 32-34 ppt seawater. The experimental tanks were separated into 2 parts; rearing (180 l) and egg collecting areas (90 l). After 8 months of feeding the fish the experimental diets twice per day, there were no significant differences (p0.05) in the growth performances when same sex fish were compared between treatments; male were always of a larger size. Only a single pair of S. splendidus fed on the adult Artemia began to display breeding behaviour when they were aged 1.7 years old and just three months before the termination of the trial. This pair of fish went onto successfully to spawn multiple times. This result, although observed for only this single pair of fish, leads to the assumption that the size and age at which S. splendidus reaches maturity under aquaculture conditions is when male fish reach 5.54 cm in total length (TL) and females reach 5.39 cm TL. The number of eggs in each batch of eggs that were laid ranged from 48 – 253 eggs. The study found that there appears to be an improvement in egg quality with each successive batch of eggs that are produced irrespective of the number of eggs produced in a batch. After hatching, the pro-larvae were transparent associated with large yolk sac and had undeveloped eye pigment and lacked a mouth. The digestive system was seen as a simple straight tube. In the second trial, various live Artemia and artificial diets will be fed on the green mandarinfish progeny (F1) and the effect on their reproduction will be investigated.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_100.pdf1.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น