กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1591
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorพิสิษฐ์ พิริยาพรรณth
dc.contributor.authorเวธกา กลิ่นวิชิตth
dc.contributor.authorขันทอง สุขผ่องth
dc.contributor.authorจงจิตร อริยประยูรth
dc.contributor.authorพวงทอง อินใจth
dc.contributor.authorคนึงนิจ อุสิมาศth
dc.contributor.authorอดุลย์ คร้ามสมบุญth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:07:15Z
dc.date.available2019-03-25T09:07:15Z
dc.date.issued2550
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1591
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาแนวทางและรูปแบบการจัดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังเชิงรุก ใช้แนวคิดบูรณาการการบริการสุขภาพ (Integrated Care) การมีส่วนร่วมของชุมชนในระบบบริการสุขภาพ (Community involvement in health care system) และนโยบายด้านการพัฒนาสาธารณสุขในแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 10 ที่น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางการพัฒนาสุขภาพ โดยมีขั้นตอนแนวทางและรูปแบบดังนี้คือ การสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตพฤติกรรมการจัดการการดูแลและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในการดูแลด้านสุขภาพผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การตรวจร่างกายและภาวะโภชนาการ การให้คำปรึกษาและสร้างแนวทางการจัดการร่วมกันระหว่างครอบครัวและบุคลากรทางด้านสุขภาพเพื่อพัฒนารูปแบบแนวทางในการดูแล จัดการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบและแนวทางการจัดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง 2 โรคได้แก่ โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ประกอบด้วยส่วนประกอบ 5 ด้าน คือ 1) การจัดการดูแลสุขภาพตนเองแบบพอเพียงด้านสุขภาพจิต 2) การจัดการดูแลสุขภาพตนเองแบบพอเพียงด้านโภชนาการ 3) การจัดการดูแลสุขภาพตนเองแบบพอเพียงด้านการใช้ยา 4) การจัดการดูแลสุขภาพตนเองแบบพอเพียงด้านการออกกําลังกาย 5) การจัดการดูแลสุขภาพตนเองแบบพอเพียงด้านการรับบริการจากระบบบริการสุขภาพและชุมชน 2. ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับใช้รูปแบบการจัดการดูแลสุขภาพตนเองแบบพอเพียงของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง พบว่า มีระดับคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับ ดี (ค่าเฉลี่ย 3.89) และมีค่าความมีประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความ เหมาะสม และความถูกต้อง อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.76) 3. ผลการสัมภาษณ์และ Focus group ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะสุขภาพดีภายใต้การเจ็บป่วยเป็นโรคเรื้อรังที่ปราศจากโรคแทรกซ้อน และมีการปฏิบัติตนที่เหมาะสมและได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผลของการปฏิบัติตนของผู้สูงอายุในด้าน ต่าง ๆ พบว่า ผู้สูงอายุสามารถ ความพอประมาณ คือ การรักษาความสมดุลของความมีสุขภาพดี กับ ความเจ็บป่วยซึ่งหมายความว่า การใช้ชีวิตต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลตนเองทางด้านจิตใจ อารมณ์ของผู้สูงวัย จะ ใช้หลักความสมดุลไม่มาก ไม่น้อยจนเกินไป การออกกำลังกาย ก็ให้พอประมาณสมกับการประเมินกำลังของร่างกายของตน ต้องหมั่นสังเกตตนเองประเมินตนเองว่าสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้มากน้อยแค่ไหน สิ่งสำคัญคือ ความต่อเนื่องสม่ำเสมอที่ผู้สูงอายุมักใช้คำว่า "มีวินัย" จะทำให้ร่างกายค่อย ๆ แข็งแรงขึ้นและสามารถออกกำลังกายได้มากขึ้นตามลำดับ ส่วนการรับประทานอาหาร ก็ทานแต่พอประมาณ ไม่อิ่มหรือตามใจปาก ตามใจอยากเช่นเคย หากมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ก็พยายามงดอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล เลือกรับประทานผักผลไม้แทนขนมหวาน ไม่ดื่มเครื่องดื่มอแลกอฮอล์ หรือน้ำอัดลม ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุเลือกที่จะประกอบอาหารทานเองเพื่อให้เกิดความมั่นใจในความสะอาด ไม่มีสารพิษเจือปน หากมีโลกความดันโลหิตสูงก็เลือกรับประทานอาหารที่รสไม่จัด ไม่เค็ม รักษาสุขภาพจิต ทำสมาธิ ร่วมกิจกรรมกับทางชมรม ผู้สูงอายุกล่าวว่า "ยิ่งทำงานยิ่งแข็งแรง ได้ฝึกสมอง ได้ออกกำลัง" การเลือกใช้บริการสุขภาพในสถานบริการใกล้บ้านใกล้ใจ สร้างความคุ้นเคยและพอที่จะให้ความช่วยเหลือสถานพยาบาลในเรื่องใดได้บ้างก็พร้อมจะอาสา เช่น อาสาเล่นดนตรีไทยในงานโรงพยาบาล อาสาช่วยทำขนมไทยแจกผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล อาสาสอนการทำสิ่งประดิษฐ์ช่วยงานอาชีพหรือกิจกรรมแบบจิตอาสาตามความสมัครใจอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความสมดุลแบบพอประมาณของจิตที่คิดจะให้และความพอประมาณของจิตที่คิดจะรับ เป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันไม่ใช่แบบพึ่งพาและไม่เป็นภาระต่อกัน เป็นการเสริมสร้างคุณค่า เป็นการเปิดบัญชีออมใจต่อกัน ความมีเหตุผล คือ การใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผล ตามความจําเป็น ไม่ใช้สิ่งที่เกินฐานะและกําลัง ใช้อย่างคุ้มค่า ประหยัด มีภูมิคุ้มกัน คือ มีการดูแลสุขภาวะให้อยู่ในสภาพที่ดี สามารถเป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่น ๆ ได้ สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้บ้างตามสมควร มีความรู้คู่คุณธรรม การที่ผู้สูงอายุมีโรคประจําตัวที่เป็นโรคเรื้อรัง ทําให้เกิดความตระหนักในเรื่องของการดูแลสุขภาพของตนเอง ทําให้ใฝ่หาความรู้ เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ให้ความสําคัญกับการนําความรู้ไปปฏิบัติและ หมั่นทบทวนตรวจสอบตนเองว่านําไปใช้กับตนเองได้จริงหรือไม่ ส่วนความรู้เท่าทันโรคภัย เป็นเรื่องของสติ ที่ต้องเรียนรู้เพื่อให้เกิดความรู้เท่าทัน เมื่อรู้สติ จะทําให้ไม่เกิดความ หวั่นวิตก ให้อยู่กับโรคนั้นได้ อย่างมีความสุข และเกิดความสมดุล สามารถดูแลตนเองได้อย่างเท่าทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงและพึ่งตนเองได้ สิ่งสําคัญยิ่งที่ผู้สูงอายุให้ความหมายและความสําคัญคือ การอยู่รวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องแรงสนับสนุนทางสังคม ทําให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่า มีกําลังใจในการต่อสู้เผชิญกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณที่จะค่อย ๆเสื่อมถอยไปตามวัย ให้มีโอกาสใช้ชีวิตที่อุดมไปด้วยความสุขสมบูรณ์ในวัยสูงอายุนี้อย่างพอเพียง ข้อเสนอแนะ 1. รัฐบาล ควรสนับสนุนกลุ่ม องค์กร เครือข่ายเพื่อผู้สูงอายุในด้านงบประมาณ ช่องทางการ สื่อสารเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เข้าไปมีส่วนร่วม วางแผนช่วยเหลือองค์กรต่าง ๆ สร้างและ เชื่อมต่อ สังคมฐานความรู้ พัฒนาศักยภาพในการจัดการดูแลสุขภาพของกลุ่มสมาชิก 3 3 2.ควรสร้างเครือข่าย ช่องทางการสื่อสารเพื่อให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังสามารถเข้าถึงการ รับบริการได้ง่าย เช่นการสร้างแหล่งเรียนรู้ในชุมชน การแสวงหาบุคคลต้นแบบ ให้กลุ่มผู้สูงอายุได้ เรียนรู้จากประสบการณ์ และส่งเสริมให้สหสาขาวิชาชีพ มีส่วนร่วมในชุมชนเพิ่มพูนองค์ความรู้ที่ ถูกต้อง และเป็นการทวนสอบซึ่งกันและกันในการตัดสินใจ เลือกแล้วนําไปสู่การปฏิบัติตนที่ถูกต้อง เหมาะสมต่อไป 3. ควรให้ ข้อมูล ข่าวสาร คําแนะนํา คําปรึกษาต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง แก่ผู้สูงอายุใน เชิงรับและเชิงรุก ทั้งภายในสถานพยาบาล ชุมชน และที่บ้าน เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร อย่างทั่วถึง และรวดเร็ว เป็นแรงกระตุ้นให้ผู้สูงอายุตระหนักในการดูแล เอาใจใส่พฤติกรรมสุขภาพ เพิ่มมากขึ้น 4. การสนับสนุนทางอารมณ์ เช่น การให้การยอมรับนับถือ การแสดงถึงความห่วงใย เป็น ปัจจัยที่ผู้สูงอายุต้องการมากที่สุดในด้านการสนับสนุนทางสังคม ซึ่งจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ในกลุ่ม ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังที่มีสภาวะสุขภาพที่สมดุล ส่วนใหญ่ จะมีแรงสนับสนุนจากการดูแลซึ่งกันและ กัน ทํากิจกรรมร่วมกันในชมรม และมีความเข้มแข็งขึ้นเมื่อได้รับการยอมรับนับถือในกลุ่มผู้สูงอายุ ด้วยกัน และเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพ 5. การนํารูปแบบการจัดการดูแลสุขภาพแบบพอเพียงของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง ไปใช้ใน การปฏิบัติ อาจต้องมีการสร้างแนวปฏิบัติที่เป็นพฤติกรรมที่ควรปรากฏเพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อให้สามารถ นําไปใช้ในการตรวจสอบ ประเมินผลได้อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น การนําไปใช้ ใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมสําหรับผู้สูงอายุหรือโครงการที่เป็นประโยชน์และตอบสนองต่อความ ต้องการของชุมชน รวมทังใช้เป็นข้อมูลในการบริหารจัดการ และประกอบการตัดสินใจในการลงทุน หรือการขยายให้ครอบคลุมและเข้าถึงความต้องการของผู้ใช้บริการด้านการรักษาพยาบาลth_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนจากสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการดูแลสุขภาพth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectโรคเรื้อรังth_TH
dc.titleพัฒนาแนวทางและรูปแบบการจัดการดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังเชิงรุกth_TH
dc.title.alternativeDevelopment Guideline and Model of Health Management in Elderly and Chrinic Patientsen
dc.typeResearch
dc.year2550
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were designed to develop guidekine and model of health management in elderly and chronic patients. The conceptual framework of integrated care and community involvement in health care system were used with the health policy of sufficiency economic philosophy of Thai royal King Bhumiphol. The participants were the sample from eastern region of Thailand. The collecting data were used by indept-interview, questionnaire and observing their health management and behavior including the general and nutritional examination to consider guideline and model in multidisciplinary group of health science. The initiative guideline and model of health management in elderly and chronic patients were considered by 3 experts before use with the participants. It was found that 1. The components of Guideline and Model of Health management in Elderly and Chronic patients are 5 components; mental health, nutrition, drug using compliance, exercise and choosing health service system in community. 2. The quality of using Guideline and Model of Health management in Elderly and Chronic patients was in good level (X = 3.89) and the average of the benefit, the feasibility, the appropriation and the accuracy were 3.76 3. By interviewing the elderly with chronic patients Always have the conceptual of the middle way for balancing their life between healthy and Illness in body, mind, emotion and spirit. The key success of this behavior was "discipline". The effective behavior is the best basic of health protector. The concerning of illness is effected to cognitive thinking for learning, practicing and improving their life. The most factor that help them was the bonding of their group for help each other such as the social sopportive for the rest of their life.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_030.pdf4.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น