กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1566
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorพรชัย จูลเมตต์th
dc.contributor.authorรัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์th
dc.contributor.authorจันทนงค์ อินทร์สุขth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:07:13Z
dc.date.available2019-03-25T09:07:13Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1566
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองชนิดสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการสนับสนุนผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้องรังโดยใช้โปรแกรม “Powerful Tools” ต่อความเครียดในบทบาทและความผาสุกของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จำนวน 100 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 50 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติจากเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการสนับสนุนตามโปรแกรม “Powerful Tools” จำนวน 4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินข้อมูลพื้นฐานของผู้ดูแลและผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้องรัง แบบประเมินความเครียดในบทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .85 แบบประเมินความผาสุกของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย ด้วยโรคเรื้อรังที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .87 แผนการสนับสนุนผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังโดยใช้โปรแกรม “Powerful tools” และคู่มือการสนับสนุนผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (Independent t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง มีคะแนนความเครียดในบทบาทหลังการทดลอง ต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมีคะแนนความผาสุกหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้องรังกลุ่มทดลองมีคะแนนความเครียดในบทบาทภายหลังการทดลอง 1 สัปดาห์ และภายหลังการทดลอง 1 เดือน ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังกลุ่มทดลองมีคะแนนความผาสุกภายหลังการทดลอง 1 สัปดาห์และภายหลังการทดลอง 1 เดือนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลควรนำโปรแกรมดังกล่าวนี้ไปประยุกต์ใช้ในการให้การดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้องรังในชุมชน เพราะจะช่วยให้ผู้ดูแลมีความเครียดในบทบาท ลดลงและมีความผาสุกมากขึ้น อันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังได้รับการดูแลที่มีประสิทธิภาพจากผู้ดูแลth_TH
dc.description.sponsorshipสนับสนุนโดย สำนักบริหารฏครงการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectความเครียดth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectโรคเรื้องรังth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleประสิทธิผลของการสนับสนุนผู้ดูแลโดยใช้โปรแกรม "Powerful tools" ต่อความเครียดในบทบาทและความผาสุกของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้องรังในชุมชน.th_TH
dc.title.alternativeThe effectiveness of caregivers's support using "Powerful Tolls" program on role stress and well being of caregivers of elderly with chronic illness in the communityth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.year2556
dc.description.abstractalternativeThis two group pretest-posttest quasi experimental research aimed to study the effectiveness of caregiver’s support using “Powerful Tool” program on role stress and well-being of caregivers of elderly with chronic illness in the community. A hundred caregivers of elderly with chronic illness in the community were randomly assigned into experimental and control group equally. The control group received normal nursing care from healthcare providers whereas the experimental group received “The Four-Week Powerful Tools Support Program from the researcher in group once a week. Instruments consisted of The Demographic Assessment of Elderly with Chronic illness, The Demographic Assessment of caregiver of Elderly with Chronic illness, The Caregives’ Role Stress Assessment with its reliability of .85, The Caregivers’ Well-being Assessment with its reliability of .87, The Lesson Plan of “Powerful Tools” Support Program, and The Handout of “Powerful Tools” Support Program. Frequency, percentage, standard deviation as well as dependent and independent t test were computed for data analysis. The findings revealed that 1. After receiving the program, the caregivers’s role stress score of the experimental group was statistically lower than before receiving the program (p <.01) 2. After receiving the program, the caregivers’ well-being score of the experimental group was statistically higher than before receiving the program (p<.01) 3. After receiving the program 1 week and 1 month, the caregivers’ role stress score of the experimental group was statistically lower than the caregivers’ role stress score of the control group (p<.01) 4. After receiving the program 1 week and 1 month, the caregivers’ well-being score of the experimental group was statistically higher than the caregivers’ well-being score of the control group (p <.01) Findings suggested that nurses should implement this program in providing care for caregivers of elderly with chronic illness in the community so to reduce their role stress but increase their well-being. Eventually, the elderly with chronic illness will receive effective care from their caregivers.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_002.pdf4.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น