กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1495
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorณรงค์ พลีรักษ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:07:07Z
dc.date.available2019-03-25T09:07:07Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1495
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวชุมชน สำรวจพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับการท่องเที่ยวชุมชน และจัดทำ Web Map Services เพื่อเผยแพร่ข้อมูลการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด โดยการประยุกต์ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) และระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (Global Positioning System: GPS) จากการสำรวจพบว่าใน 4 จังหวัดมีแหล่งท่องเที่ยวชุมชนรวมทั้งสิ้น 132 แห่ง จำแนกเป็นจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด เท่ากับ 57, 28, 25 และ 22 แห่ง ตามลาดับ จากการประเมินความเป็นไปได้ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนของแต่ละจังหวัด มีแหล่งท่องเที่ยวชุมชนทั้งสิ้น 25 แห่งที่มีคะแนนน้อยกว่า 18 คะแนน อยู่ในจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด เท่ากับ 17, 2, 1 และ 5 แห่ง ตามลำดับ เช่น วัดวังคีรีวนาราม อาเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี วัดเหมืองแร่ อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง ป้อมไพรีพินาศ อาเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี และวัดสะพานหิน อาเภอเมืองตราด จังหวัดตราด ส่วนแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่มีค่าคะแนนสูงที่สุด ได้แก่ น้ำตกชันตาเถร อาเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เท่ากับ 32 คะแนน รองลงมา คือ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง อาเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เท่ากับ 31 คะแนน และวัดญาณสังวรารามวรวิหาร อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี และวัดเขาแก้ว อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี เท่ากับ 30 คะแนน เส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนแบ่งออกเป็น 8 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางที่ 1 ทำบุญไหว้พระ-ชมวัฒนธรรม มีระยะทางรวม 13.36 กิโลเมตร เส้นทางที่ 2 ตามรอยนิทานตามหาพระรถเมรี มีระยะทางรวม 23.61 กิโลเมตร เส้นทางที่ 3 เที่ยวเมืองระยอง นอนเมืองจันท์ มีระยะทางรวม 121.81 กิโลเมตร เส้นทางที่ 4 ย้อนรอยเส้นทางทัพ สัมผัสวัฒนธรรมชายฝั่งทะเล มีระยะทางรวม 219.66 กิโลเมตร เส้นทางที่ 5 เรียนรู้วิถีชีวิต-วัฒนธรรม-ธรรมชาติ มีระยะทางรวม 122.17 กิโลเมตร เส้นทางที่ 6 มหัศจรรย์แห่งธรรมชาติ มีระยะทางรวม 137.43 กิโลเมตร เส้นทางที่ 7 ความหลากหลายชายฝั่งบูรพาวิถี มีระยะทางรวม 321.85 กิโลเมตร และเส้นทางที่ 8 เส้นทางธรรมะ มีระยะทางรวม 108.69 กิโลเมตร การสอบถามนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์การท่องเที่ยวชุมชนเพื่อนำไปใช้ในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวชุมชน โดยแบ่งออกได้เป็น 4 แนวทาง ได้แก่ กระตุ้นและส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน สร้างความประทับใจและภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแหล่งท่องเที่ยวชุมชน การปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวชุมชน และการประชาสัมพันธ์ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ส่วนการพัฒนา Web Map Services เพื่อเผยแพร่ข้อมูลการท่องเที่ยวชุมชนนั้น URL ของเว็บไซต์ คือ www.gi-cbt.buu.ac.th เว็บไซต์แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนการแสดงผลหน้าเว็บ (Web Interface) และส่วนการเก็บข้อมูลหลังเว็บไซต์ (Database Backend) โครงสร้างของเว็บไซต์ประกอบด้วย 5 เมนูหลัก ได้แก่ หน้าแรก แหล่งท่องเที่ยวชุมชน ค้นหาเส้นทาง ข้อมูล 4 จังหวัด และเกี่ยวกับโครงการวิจัยth_TH
dc.description.sponsorshipสนับสนุนโดยงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ตามมติคณะรัฐมนตรีen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการท่องเที่ยว -- การจัดการ -- ไทย (ภาคตะวันออก)th_TH
dc.subjectสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์th_TH
dc.subjectการท่องเที่ยว -- ไทย (ภาคตะวันออก)
dc.titleโครงการการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก: ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราดth_TH
dc.title.alternativeManagement of community based tourism in the east coastal areas: Chon Buri, Rayong, Chanthaburi and Traten
dc.typeReaearch
dc.author.emailnarong_p@buu.ac.th
dc.year2557
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to create the community attractions database, survey the tourist behaviors about community based tourism, and create Web Map Services for dispersing community based tourism in Chon Buri, Rayong, Chanthaburi and Trat province. Geographic Information System (GIS) and Global Positioning System (GPS) were applied to this research. The 132 community attractions were found from field survey including 57 community attractions of Chon Buri, 28 community attractions of Rayong, 25 community attractions of Chanthaburi and 22 community attractions of Trat. The estimation of possibility for developing community attractions found the scores of 25 community attractions were lower than 18 points and they were shown 17, 2, 1 and 5 community attractions in Chon Buri, Rayong, Chanthaburi and Trat, respectively, for example Wat Wangkiri (Bothong district, Chon Buri), Wat Mhuangrae (Khao Chamao district, Rayong), Phairee Phinat fortress (Lamesing district, Chanthaburi) and Wat Saphanhin (Murngtrat district, Trat). Chantathen waterfall (Sri Racha district, Chon Buri) shown the highest score (32 points). The second was Mab Aueng agri-nature center (Banbueng district, Chon Buri) with 31 points while the score of Wat Yannasangwararam (Bang Lamung district, Chon Buri) and Wat Khaokaew (Soidaw district, Chanthaburi) were 30 points. Then the community based tourism routes were create including Route 1: Make merit and see cultures (distance 13.36 kilometers), Route 2: Trace of Phrarod-Maeree folk tale (distance 23.61 kilometers), Route 3: Day-night in Rayong-Chan (distance 121.81 kilometers), Route 4: King Tak Sin’s marching route and coastal cultures (distance 219.66 kilometers), Route 5: Learn life-culture-nature (distance 122.17 kilometers), Route 6: Miracle of natures (distance 137.43 kilometers), Route 7: Varity of east coastal line (321.85 kilometers) and Route 8: Dharma route (distance 108.69 kilometers). The 1,583 questionnaires of tourists about knowledge and experience of community based tourism have been surveyed in Chon Buri, Rayong, Chanthaburi and Trat province. The 4 guidelines were proposed to use for managing the community based tourism in these areas including (1) encouraging and promoting the community based tourism, (2) creating the first impressiveness and good images of the community based tourism, (3) adjusting the community based tourism, and (4) publicizing the community based tourism. Final part of project shows Web Map Services namely, www.gi-cbt.buu.ac.th. The website was divided into 2 main parts, the web interface and the database backend. The web interface included 5 modules namely, main page, community based tourism data, community based tourism route, 4 provinces data and research project backgrounden
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_041.pdf5.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น