กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1468
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสมคิด ใจตรง
dc.contributor.authorเจิมขวัญ สังข์สุวรรณ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
dc.date.accessioned2019-03-25T09:07:05Z
dc.date.available2019-03-25T09:07:05Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1468
dc.description.abstractการผลิตฟิล์มจากพอลิแลคติกแอซิดเป็นส่วนประกอบหลักร่วมกับวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร ได้แก่ ไคโตซาน เมทิลเซลลูโลส และเปลือกไข่ พบว่าฟิล์มพอลิแลคติกแอซิดบริสุทธิ์ และพอลิแลกติกแอซิดผสมกับผงเปลือกไข่สัดส่วน 7:3 สามารถขึ้นเป็นแผ่นฟิล์มได้ และมีลักษณะใส และขาวขุ่นตามลำดับ ส่วนเมทิลเซลลูโลสและไคโตซานส่วนผสมไม่เข้ากัน เกิดการแยกเฟสชัดเจน ไม่สามารถขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์มได้ โครงสร้างพื้นผิวของแผ่นฟิล์ม พอลิแลคติกแอซิดบริสุทธิ์ มีลักษณะพื้นผิวค่อนข้างเรียบ และเป็นเนื้อเดียวกัน มีรูพรุน ขนาด 500 ไมโครเมตร เมื่อผสมเปลือกไข่ลงไปในพอลิแลกติกแอซิด ทำให้ฟิล์มมีรูพรุนขนาดใหญ่ขึ้นตามสัดส่วนของเปลือกไข่ที่ผสมลงไป ซึ่งมีขนาดของรูพรุนระหว่าง 600 นาโนเมตร ถึง 2 ไมโครเมตร และมีลักษณะพื้นผิวเป็นโครงตาข่าย สำหรับความหนาของฟิล์มพอลิแลคติกบริสุทธิ์ คือ 400 นาโนเมตร และฟิล์มพอลิแลคติกแอซิดผสมเปลือกไข่ มีค่าระหว่าง 1.3 ถึง 1.8 ไมโครเมตร โครงสร้างของพอลิแลคติกแอซิดและผงไข่มีโครงสร้างเป็นผลึก ส่วนเมทิงเซลลูโลสและไคโตซานมีโครงสร้างเป็นผลึกกึ่งอสัณฐาน ธาตุองค์ประกอบหลัก คือ ธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และ ไททาเนียม คุณสมบัติทางกายภาพของฟิล์มในด้านขีดจำกัดการยืดหยุ่น ร้อยละการยืด และโมดูลัสความยืดหยุ่นพบว่า เมื่อผสมผงเปลือกไข่ลงไปในพอลิแลคติกแอซิด จะช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับแผ่นฟิล์ม ทำให้ฟิล์มมีคุณสมบัติทนต่อแรงกระทำฉับพลันและวัสดุมีความสามารถในการขึ้นรูปได้มากขึ้น และประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli เพิ่งขึ้นตามสัดส่วนของเปลือกไข่ที่ผสมลงไปในฟิล์มth_TH
dc.description.sponsorshipสนับสนุนโดย สำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้วth_TH
dc.subjectพอลิแลคติกแอซิดth_TH
dc.subjectเปลือกไข่th_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชth_TH
dc.titleการพัฒนาสูตรฟิล์มห่อหุ้มผลิตภัณฑ์อาหารจากพอลิแลคติกแอซิดและวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรth_TH
dc.title.alternativeFilms development from poly lactic acid and agricultural waste for food productsen
dc.typeResearch
dc.year2557
dc.description.abstractalternativePolylactic acid (PLA) based composites films with different type of agricultural waste, such as chitosan, methylcellulose and eggshell, were prepared using a solvent casting method and their physical, chemical and antibacterial properties were investigated. The results showed that PLA and PLA-eggshell (PLA-ES) (7:3) can be create the composite films, transparency and opaque white, respectively. The surface structure of films was evaluated by scanning electron microscopy (SEM). OLA films surfaces showed homogeneous and a numerous of pores, 500 nm pore size, eggshell increased pore size of films range from 600 nm to 2 um with stacked layers of composite films. Films thickness pf PLA and PLA-ES films were 400 nm and 1.3 to 1.8 um. respectively. Structure of PLA and eggshells were crystalline, while the chitosan and methyl cellulose were Semi-crystalline. The main element in composite film is Ca, P, and Ti. The eggshell in composite films were improved physical properties, significant increase in hardness and reinforcement of film. The PLA-ES composite film showed antimicrobial function inhibit growth of Escherichia coli.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_174.pdf3.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น