กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1464
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorจิตติมา เจริญพานิช
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:07:05Z
dc.date.available2019-03-25T09:07:05Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1464
dc.description.abstractการตรึงเอนไซม์เป็นเทคนิคที่นิยมใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ในราคาประหยัด เอนไซม์ไลเพสเป็นหนึ่งในตัวเร่งปฏิกิริยาที่นิยมนำมาประยุกต์ใช้ในระดับอุตสาหกรรมแต่เอนไซม์ไลเพสที่มีขายทางการค้ายังคงมีราคาสูง งานวิจัยนี้สนใจที่จะหาวัสดุค้ำจุนราคาถูกสำหรับตรึงรูปเอนไซม์ไลเพสชอบ อุณหภูมิสูงและมีความเสถียรในตัวทำละลายอินทรีย์ผลิตจาก Acinetobacter baylyi (ABL) โดยไดเลือกวัสดุ เหลือทิ้งทางการเกษตรจำนวน 7 ชนิด ได้แก่ ซังข้าวโพด แกลบ ข้าวสาร หยวกกล้วย ทางต้นปาลม์หางกระรอก (Wodyetia bifurcate A.K.) กากมะพร้าว กิ่งไทรยอดทอง (Ficus microcarpa L.f.) และกิ่งระกำ (Salacca wallichiana) และเศษอาหาร จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ เปลือกไข่ เปลือกกุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis) เปลือกปูทะเล (Scylla serrata) และเปลือกหอยแมลงภู่ (Perna viridis) โดยพิจารณาจากปริมาณที่ทิ้งคุณลักษณะทางสัณฐานวิทยา และประสิทธิภาพในการตรึงเอนไซม์ไลเพส ผลการทดลองพบว่า กิ่งระกำและเปลือกไข่ ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 0.1 มิลลิเมตร ให้ประสิทธิภาพในการตรึงเอนไซม์ไลเพสสูงที่สุด จึงเลือกมาใช้เป็นวัสดุค้ำจุนสำหรับตรึงเอนไซม์ไป เมื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการตรึงเอนไซม$ไลเพส ABL โดยวิธีการดูดซับบนกิ่งระกำพบว่า การใช้บัฟเฟอร์ที่มีความแรงไอออนเท่ากับ 10 มิลลิโมลารและมีค่าพีเอชเท่ากับ 7.0 ตรึงเอนไซม์ไลเพส ABL ความเเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป;นเวลา 90 นาทีด้วยความเร็วในการเขย่า 250 รอบต่อนาที เป็นสภาวะที่เหมาะสมในการตรึงเอนไซม์ไลเพส ABL บนกิ่งระกำ ขณะที่การตรึงบนเปลือกไข่มีสภาวะที่เหมาะสมคือบัฟเฟอร์ที่มีความแรงไอออนเท่ากับ 10 มิลลิโมลารและมีค่าพีเอชเท่ากับ 6.0 ความเข้มข้นเอนไซม์ 0.3 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 150 นาทีด้วยความเร็วในการเขย่า 300 รอบต่อนาที การศึกษาคุณลักษณะเฉพาะของเอนไซม์ตรึงไลเพส ABL บนกิ่งระกำพบว่าเอนไซม์ตรึงมีอุณหภูมิที่เหมาะสมในการทำปฏิกิริยาที่ต่ำกว่าของเอนไซม์ไลเพส ABL ในรูปอิสระแต่มีความเสถียรในตัวทำละลายอินทรีย์ที่สูงขึ้น การทดสอบความสามารถในการนำเอนไซม์ตรึงกลับมาใช้เร่งปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสน้ำมันปาล์มพบว่า มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับของเอนไซม์ไลเพสตรึงรูปทางการค่า Novozyme 435 และที่น่าสนใจคือเอนไซม์ไลเพส ABL ที่ตรึงบนกิ่งระกำมีความเสถียรในการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง (25-32 องศาเซลเซียส) เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่เอนไซม์ไลเพส ABL ที่ตรึงบนเปลือกไข่ไม่มีความเสถียรในการเก็บรักษา ผลการทดลองที่ได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะนำกิ่งระกำมาเป็นวัสดุค้ำจุนราคาถูกสำหรับตรึงเอนไซม์ไลเพสต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2557en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectไบโอดีเซลth_TH
dc.subjectเอนไซม์th_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชth_TH
dc.titleการหาวัสดุค้ำจุนราคาถูกสำหรับตรึงรูปเอนไซม์ไลเพสชอบอุณหภูมิสูงและทนตัวทำละลายอินทรีย์จาก Acinetobacter baylyi เพื่อประยุกต์ใช้ในการผลิตไบโอดีเซลth_TH
dc.title.alternativeScreening of low-cost supporters for immobilization of a thermophilic-solvent stable lipase from Acinetobacter baylyi for the application in biodiesel productionen
dc.typeResearch
dc.author.emailjittima@buu.ac.th
dc.year2557
dc.description.abstractalternativereduction. Lipase is one of widespread used biocatalysts for industry but a commercial lipase is still expensive. This study aims to find a low cost support for immobilization of Acinetobacter baylyi lipase (ABL), a novel thermophilic and solvent-stable lipase. Seven agricultural waste residues (corn cob, rice hulls, banana stalk, Wodyetia bifurcate A.K. Irvine leaves, coconut husks, Ficus microcarpa L.f. stems and Salacca wallichiana stems) and four food scraps (egg, Banana shrimp (Penaeus merguiensis), Mangrove crab (Scylla serrata), and Asian green mussel (Perna viridis) shells) were evaluated for their abundances, morphological characteristics, and immobilization efficiency. Among them, Salacca wallichiana stems and egg shells with the size average ∼ 0.1 mm were selected for further optimization of immobilization condition due to the highest immobilization efficiency. Optimum condition for immobilization of ABL on Salacca wallichiana stems via adsorption method was pH 7.0, 10 mM ionic strength, 0.1 mg/ml enzyme loading at 30°C for 90 min and 250 rpm while ABL was adsorbed on egg shells under the condition: pH 6.0, 10 mM ionic strength, 0.3 mg/ml protein loading at 10°C for 150 min and 300 rpm. ABL immobilized on Salacca wallichiana stems has a lower optimum temperature compared to the suspended enzyme and showed remarkable solvent stability. Reusability for palm oil hydrolysis of both immobilized ABL was comparable to that for commercial lipase, Novozyme 435. Interestingly, ABL immobilized on Salacca wallichiana stems showed improved storage stability at room temperature (25-32°C) while those on egg shells were not stable. This study showed that Salacca wallichiana stems can be used as an alternative support for lipase immobilization.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2559_087.pdf13.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น