กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1415
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคระบาดในการผลิตแก้วมังกรคุณภาพ.
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Prevention and disease problem management of dragon fruit.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เครือวัลย์ ดาวงษ์
ยศพล ผลาผล
วิจิตรา โหราเรือง
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
คำสำคัญ: โรคระบาด
แก้วมังกร
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
บทคัดย่อ: สำรวจและแยกเชื้อราสาเหตุโรคกิ่งและผลเน่าของแก้วมังกรในพื้นที่ตำบลโขมง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันบุรี พบเชื้อรา Dothiorella sp. จากการตรวจภายในกล้องจุลทรรศน์โดยตรง ส่วนการแยกเชื้อด้วยวิธี Tissue transplanting method พบเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides, Colletotrichum sp., Phomopisi sp. and Dothiorella sp. โดยพบเชื้อรา Dothiorella sp. มี ปริมาณมากที่สุดทั้งในกิ่งและในผล มีค่าเฉลี่ยร้อยละของเชื้อราที่ตรวจพบ 50 และ 35.42 ตามลำดับ ผลการศึกษาระยะการเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุโรค ตั้งแต่ระยะดอกถึงผลแก่ พบเชื้อราสาเหตุโรค 6 ชนิดคือ C. gloeosporioides, Colletotrichum sp., Phomopisi sp., Bipolaris cactivora, Curvularia sp. and Dothiorella sp. พิสูจน์การเกิดโรคด้วยวิธี Koch’s paustulation บนผลแก้วมังกร พบเชื้อราทั้ง 6 ชนิดสามารถทำให้เกิดแผลที่แก้วมังกรได้ โดยในระยะดอก พบปริมาณเชื้อรา Dothiorella sp. มากที่สุดร้อยละ 25.86 ในระยะผลอ่อน พบปริมาณเชื้อรา Colletotrichum sp. มากที่ สุดร้อยละ 58.65 ส่วนในระยะผลแก่พบปริมาณเชื้อรา C. gloeosporioides มากที่สุดร้อยละ 43.67 และพบเชื้อรา B. cactivora ในระยะดอกเท่านั้น จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าเชื้อโรคสามารถเข้าทำลายได้ตั้งแต่ระยะดอกเป็นต้นไป ผลการทดสอบประสิทธิภาพสารเคมี 3 ชนิดคือ Copper oxychloride, prochloraz, iprodione และเชื้อราปฏิปักษ์ Trichoderma harzianum โดยการพ่นสารเคมีสลับระหว่างสารชนิดสัมผัสและสารชนิดดูดซึม ตั้งแต่ก่อนแก้วมังกรออกดอกจนถึงระยะผลอ่อนรวม 6 8iyh’ ทำการทดลองในแปลงเกษตรกรจำนวน 4 แปลง พบกรรมวิธีพ่นสาร Copper oxychloride สลับ Prochloraz มี ประสิทธิภาพในการควบคุมโรคมากที่สุด มีร้อยละความรุนแรงของโรคน้อยกว่ากรรมวิธีพ่นสารเคมีชนิดอื่น นอกจากนี้ยังพบว่าการเขตกรรมตัดแต่งกิ่งเป็นโรคออกจากแปลงเพียงอย่างเดียว โดยไม่พ่นสารเคมีใดๆ สามารถควบคุมโรคได้ มีร้อยละความรุนแรงของโรคน้อยกว่ากรรมวิธีเกษตรกรที่ไม่มีการตัดแต่งกิ่งและไม่พ่นสารเคมี จากการศึกษาในครั้งนี้แสดงในเห็นว่า การลดแหล่งสะสมโรคก่อนแก้วมังกรออกดอก และการวางแปรแกรมพ่นสารเคมีตลอดระยะการพัฒนาของผลสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1415
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย(Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น