กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1385
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาหลักสูตรเพื่อการเตรียมความพร้อมพัฒนาครูกลุ่มประเทศอาเซียน : การศึกษานำร่องนิสิตทุนพัฒนาครูรัฐบาลประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Development of Curriculum for ASEAN Teachers: A Pilot Study of the Development of Student Teachers in the Republic of Indonesia
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มนตรี แย้มกสิกร
วิชิต สุรัตน์เรืองชัย
วิมลรัตน์ จตุรานนท์
จันทร์พร พรหมมาศ
เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์
พงศ์เทพ จิระโร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ครู -- กลุ่มประเทศอาเซียน
การวางแผนหลักสูตร -- กลุ่มประเทศอาเซียน
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ผลงานวิจัยพัฒนาหลักสูตรจำนวน 9 เรื่อง เป็นหลักสูตรคณิตศาสตร์ 3 เรื่อง วิทยาศาสตร์การสอน เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์ อย่างละ 1 เรื่อง หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ และสิ่งแวดล้อมอย่างละ 1 เรื่อง และการสอนภาษาอังกฤษ 1 เรื่อง สรุปผลการวิจัยพัฒนาแต่ละหลักสูตร ดังนี้ (รายละเอียดแต่ละหลักสูตรในภาคผนวก) การพัฒนาหลักสูตรเพื่อเตรียมความพร้อมพัฒนาครูวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์กลุ่มประเทศอาเซียน : กรณีศึกษาการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาของนิสิตอินโดนีเซีย โดย ดร.จันทร์พร พรหมมาศ วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้นิสิตกลุ่มครูชีววิทยาประเทศอินโดนีเซียใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิตกลุ่มครูชีววิทยาประเทศอินโดนีเซียเกี่ยวกับการสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนของประเทศอินโดนีเซีย ผลการวิจัยพบว่า ด้านความสามรถในการจัดการเรียนรู้ของนิสิตกลุ่มครูชีววิทยาประเทศอินโดนีเซีย การวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่านิสิตกลุ่มครูชีววิทยาประเทศอินโดนีเซีย ดำเนินการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวทาง Constructivist Learning ที่นักเรียนได้สร้างความรู้จากการลงมือกระทำกิจกรรมด้วยตนเอง การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนวิทยาศาสตร์หลากหลายวิธี พบว่านิสิตกลุ่มครูชีววิทยาประเทศอินโดนีเซีย สามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางที่ได้เรียนตามหลักสูตรของคณะศึกษาศาสตร์โดยมีความถูกต้องและมีความสอดคล้องกันในแต่ละองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ ทั้งนี้นิสิตได้ใช้วิธีสอนวิทยาศาสตร์ ๆ ในแต่ละแผ่น ได้แก่ Direct Instruction Cooperative learning และ Discovery learning โดยแต่ละแผนจะใช้วิธีสอนมากกว่า 1 วิธี การลงมือปฏิบัติการสอน พบว่า นิสิตกลุ่มครูชีววิทยาประเทศอินโดนีเซีย สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นไปตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดทำขึ้น นอกจากนี้จากการสัมภาษณ์นิสิต ยังพบว่า นักเรียนที่เรียน เรื่อง อาหารพื้นบ้านอินโดนีเซีย (Indonesian Food) มีความพึงพอใจมากต่อกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งนี้นักเรียนสนใจและตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ มีการแสดงความเห็นภายในกลุ่ม ให้ความร่วมมือผู้สอนเป็นอย่างดี และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้สอน ด้านการสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนของประเทศอินโดนีเซีย พบว่า ครูส่วนมากจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้วิธีสอนหลากหลาย เน้นให้นักเรียนได้พัฒนาการคิดและลงมือทำเพื่อสร้างความรู้ของตนเองตามแนวคิด constructivist learning ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูวิทยาศาสตร์ไทย แต่อย่างไรก็ตามจากการสัมภาษณ์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนิสิต พบว่า ครูวิทยาศาสตร์อินโดนีเซียมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีและหลักการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับดี สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนของตนเองได้เป็นอย่างดี ซึ่งประเด็นนี้น่าจะสะท้อนให้เห็นว่าครูวิทยาศาสตร์อินโดนีเซียส่วนมากมีความสามารถด้านการสอนเป็นอย่างดี หากได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมโดยเฉพาะในแนวทางที่ก้าวเข้ามาเรียนรู้ด้านหลักสูตรและการสอนของประเทศในอาเซียน น่าจะมีแนวโน้มที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการยกระดับคุณภาพของผู้เรียน ซึ่งมีผลต่อเนื่องกับความสามารถในการแข่งขันของประเทศในอนาคต การพัฒนาหลักสูตรเพื่อการเตรียมความพร้อมพัฒนาครูวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์กลุ่มประเทศอาเซียน: กรณีศึกษาการสอนสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติสำหรับนักเรียนชั้น ม.5 เรื่องปัญหาการทำลายป่าไม้ และผลกระทบที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิต โดย ผศ.ดร.สฎายุ ธีระวณิชตระกูล วัตถุประสงค์การวิจัย เพ่อประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรการสอนเรื่องปัญหาการทำลายป่าไม้ และผลกระทบที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิต เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสอนของผู้สอน และพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนในขณะทดลองปฏิบัติการสอนในชั้นเรียนจริง สรุปผลวิจัย ผลการประเมินความเหมาะสมตามหลักสูตรซึ่งประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ด้านสาระการเรียนรู้ของหลักสูตรและด้านผลการใช้หลักสูตร โดยรวมทั้ง 3 ด้าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.66) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านผลการใช้หลักสูตร ด้านสาระการเรียนรู้ของหลักสูตรและด้านจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ตามลำดับ พฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนในขณะทดลองปฏิบัติการสอนในชั้นเรียนจริง ซึ่งประกอบด้วย 2 ด้าน ได้แก่ ด้านพฤติกรรมการสอนของกลุ่มนิสิต และด้านพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน พบว่า ด้านพฤติกรรมการเรียนสอนของกลุ่มนิสิต หลักสูตรที่กลุ่มนิสิตได้พัฒนาขึ้นมาสามารถสร้างความน่าสนใจให้กับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี กิจกรรมกลุ่มที่แบ่งนิสิตให้วิเคราะห์ประเด็นปัญหาจากใบงานประจำกลุ่มที่ออกแบบขึ้นมาเป็นลักษณะการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นตัวตั้ง (Problems based Learning) ที่ทำให้บรรยากาศชั้นเรียนไม่น่าเบื่อ กลุ่มผู้สอนได้มีการดำเนินการสอนได้เป็นอย่างดีตามหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ สำหรับด้านพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนให้ความร่วมมือและสนใจการเรียนรวมทั้งให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี มีลักษณะการเรียนรู้แบบ Proactive โดยมีการแสดงบทบาททั้งการเป็นผู้ให้และผู้รับตามแนวทาง Co-operative Learning โดยผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองเรียนรู้ผ่านกลุ่มเพื่อน และเรียนรู้ผ่านสิ่งแวดล้อมต่างๆ รวมทั้งเกิดจิตพิสัยในเรื่องความตระหนักได้มากว่าการบรรยายตามหลักสูตรเดิมที่เคยมีมาการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการเตรียมความพร้อมพัฒนาครูวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์กลุ่มประเทศอาเซียน : กรณีศึกษาการพัฒนาหลักสูตรเคมีในครัวครัวเรือน โดย ผศ.ดร.สพลภัทร ทองสอน มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรเคมีสำหรับนักเรียนมะยมศึกษาปีที่ 4 ภายใต้หัวข้อเคมีในครัวเรือน เพื่อทดลองการใช้หลักสูตรเคมีสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมน้อมเกล้า สมุทรปราการ ภายใต้หัวข้อเคมีในครัวเรือน สรุปผลการวิจัย จากการที่นิสิตปริญญาโทจากประเทศอินโดนีเซียได้มาศึกษาบางรายวิชาที่คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา และได้ทำการพัฒนาหลักสูตรวิชาเคมีในครัวเรือนและได้มีการนำไปทดลองใช้หลักสูตรกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมน้อมเกล้า สมุทรปราการ นั้นผู้วิจัยได้ศึกษาพฤติกรรมการสอนของครูและพฤติกรรมการเรียนของเรียน พบว่า ครูผู้สอนมีการเตรียมการสอนอยู่ในเกณฑ์ดี และในช่วงการดำเนินการสอนซึ่งได้มีการสังเกตพฤติกรรมการสอนของครูพบว่าครูเคมีชาวอินโดนีเซียมีพฤติกรรมการสอนอยู่ในเกณฑ์ดี และได้มีการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนที่เรียนกับอาจารย์ชาวอินโดนีเซียซึ่งต้องใช้การเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ พบว่านักเรียนมีความตั้งใจที่เรียนโดยการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ และให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนเป้นอย่างดี การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของนิสิตทุนพัฒนาครูรัฐบาลสาธารณรัฐอินโดนีเซีย : กรณีศึกษาครูภาษาอังกฤษ โดย ดร.มณเทียร ชมดอกไม้ และ อาจารย์ วัฒนพร จตุรานนท์ คณะศึกษาศาสตร์ หมาวิทยาลัยบูรพา มี วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาผลการนิเทศการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของนิสิตทุนพัฒนาครูรัฐบาลสาธารณรัฐอินโดนีเซีย: กรณีศึกษาครูภาษาอังกฤษ สรุปผลการวิจัย ผลการนิเทศการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของนิสิตทุนพัฒนา ครูรัฐบาลสาธารณรัฐอินโดนีเซีย: กรณีศึกษาครูภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคการให้คำปรึกษาช่วยให้นิสิตมีความสามารถในการจัดทำร่างแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ ช่วยให้นิสิตมีคามสามารถในพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ในระดับดีมากช่วยให้นิสิตมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ในระดับดี การพัฒนาหลักสูตรเพื่อเตรียมความพร้อมพัฒนาครูวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์กลุ่มประเทศอาเซียน: ผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง คณิตศาสตร์เพื่อผู้ประกอบการ (สินค้าจากวัสดุเหลือใช้) โดย ผศ.ดร.วิมลรัตน์ จตุรานนท์โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง คณิตศาสตร์เพื่อผู้ประกอบการ (สินค้าจากวัตถุเหลือใช้) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อศึกษาผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์เพื่อผุ้ประกอบการ (สินค้าจากวัสดุเหลือใช้) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สรุปผลวิจัย ได้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ บทนำ และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ประกอบด้วน เกริ่นนำวัตถุประสงค์ สื่อการเรียนการสอน กระบวนการจัดการเรียนการสอน และคำถามในการประเมินผล ผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนมีความรู้และมีเจตคติในระดับดีมาก การพัฒนาหลักสูตรเพื่อการเตรียมความพร้อมพัฒนาครูวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์กลุ่มประเทศอาเซียน: กรณีศึกษาการพัฒนาหลักสูตรฟิสิกส์ในสวนสนุก โดย ดร.นพมณี เชื้อวัชรินทร์, ผศ.ดร.สุเมธ งามกนก โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนาหลักสูตรฟิสิกส์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภายใต้หัวข้อฟิสิกส์ในสวนสนุก เพื่อทดลองการใช้หลักสูตรฟิสิกส์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภายใต้หัวข้อฟิสิกส์ในสวนสนุก สรุปผลวิจัย ผลการพัฒนาแผนการสอนในหลักสูตร ฟิสิกส์ในสวนสนุก และทดลองใช้ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา น้อมเกล้า จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน โดยใช้แผนการสอนหลักสูตรฟิสิกส์ในสวนสนุกสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีคะแนนพัฒนาการโดยรวม ร้อยละ (เฉลี่ย) 45.53 โดยมีคะแนนพัฒนาการสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 50.00 และมีคะแนนพัฒนาการต่ำสุดคิดเป็นร้อยละ 41.18 โดยผ่านเกณฑ์การประเมินทุกคนคิดเป็นร้อยละ 100.00 การพัฒนาหลักสูตรเพื่อเตรียมความพร้อมพัฒนาครูวิทยาศาสตร์กลุ่มประเทศอาเซียน: การพัฒนาหลักสูตรคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติกับทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดย ดร.พรรณทิพา พรหมรักษ์ วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนาหลักสูตรคณิตศาสตร์ เรื่อง สถิติกับทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรคณิตศาสตร์ เรื่องสถิติกับทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้น พบว่าครูผู้สอนมีการเตรียมการสอนอยู่ในเกณฑ์ดี และในช่วงการดำเนินการสอนซึ่งได้มีการสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู พบว่า ครูคณิตศาสตร์ชาวอินโดนีเซียมีพฤติกรรมการสอนด้านการเสนอเนื้อหาอย่างเป็นลำดับต่อเนื่อง ถูกต้อง และเหมาะสมกับเวลา ด้านการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นขั้นตอน และด้านการใช้ภาษาและความสามารถในการพูด อยู่ในระดับดีมาก นอกนั้นพฤติกรรมโดยรวมอยู่ในระดับดีและได้มีการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนที่เรียนกับอาจารย์ชาวอินโดนีเซียซึ่งต้องใช้การเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ พบว่านักเรียนมีความตั้งใจที่จะเรียน มีการซักถามขณะเรียนเป็นภาษาอังกฤษ การตอบคำถาม ให้ความร่วมมือกับผู้สอนและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอยู่ในระดับดีมาก การพัฒนาหลักสูตรเพื่อเตรียมความพร้อมพัฒนาครูวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์กลุ่มประเทศอาเซียน: ผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาเศรษฐศาสตร์ เรื่อง ราคาขาย โดย ดร.สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาเศรษฐศาสตร์เรื่อง ราคาขาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อศึกษาผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาเศรษฐศาสตร์ เรื่องราคาขาย ที่พัฒนาขึ้น สรุปผลวิจัย พบว่า ด้านบรรยากาศในชั้นเรียน บรรยากาศในชั้นเรียน ภายในห้องเรียนมีกระดานไวท์บอร์ด อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และโปรเจคเตอร์ เป็นการสอนแบบ Team teaching โดยใช้ภาษาอังกฤษ มีผู้สอนจำนวน 4 คน มีนักเรียนจำนวน 19 คน ซึ่งในช่วงแรกผู้เรียนยังไม่กล้าโต้ตอบกับทีมผู้สอน แต่ผู้สอนได้พยายามถามคำถามง่ายๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียน ทำให้บรรยากาศการเรียนดีขึ้น และเมื่อผู้สอนเข้าสู่เนื้อหาและยกตัวอย่าง ผุ้เรียนเริ่มเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหามากขึ้น จนกระทั่งผู้เรียนสนใจและกล้าตั้งทำถามเกี่ยวกับใบงานที่ได้รับมอบหมาย ด้านผลการเรียนรู้ตามแผน ผลการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาเศรษฐศาสตร์ เรื่อง ราคาขาย ผุ้เรียนสามารถทำใบงานได้ถูกต้องแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ในระดับดี และจากการทดสอบโดยให้ทำแบบฝึกหัดหลังเรียนร่วมกัน ผู้เรียนก็สามารถทำแบบฝึกหัดได้ถูกต้อง การพัฒนาหลักสูตรเพื่อเตรียมความพร้อมพัฒนาครูวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์กลุ่มประเทศอาเซียน: การพัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทักษะการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สาระพีชคณิต เรื่อง แบบรูป และสมการเชิงเส้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน โดย ผู้วิจัย ดร. อาพันธ์ชนิต เจนจิต มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนาหลักสูตรพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สาระพีชคณิต เรื่องแบบรูป และสมการเชิงเส้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทาง คณิตศาสตร์ สาระพีชคณิต เรื่องแบบรูป และ สมการเชิงเส้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน สรุปผลการวิจัย พบว่ามีความเหมาะสมและสอดคล้องขององค์ประกอบของหลักสูตร ประกอบด้วยแผนกรจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สาระพีชคณิต เรื่องแบบรูป จำนวน 1 แผน และเรื่องสมการเชิงเส้น จำนวน 1 แผน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ใช้เวลาแผนละ 4 ชั่วโมง เรื่องแบบรูป และสมการเชิงเส้นเกมแบบรูป แบบฝึกหัดตรวจสอบผลการเรียนรู้ของนักเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนผลการใช้หลักสูตรพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สาระพีชคณิต เรื่องแบบรูปและสมการเชิงเส้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน พบว่า นักเรียนให้ความสนใจในกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาฐาน ที่ใช้กิจกรรมที่เชื่อมโยงสถานการณ์ในชีวิตประจำวันมาพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์และการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และนักเรียนสามารถแก้ปัญหาในชั้นเรียนได้ ได้แก่ เรื่องแบบรูป ใช้เกมก้อนหินในการค้นหาแบบรูปและผสมผสานกับเกม ที่สอดคล้องกับวัยของนักเรียน จึง มีความสนใจ และตั้งใจในการทำกิจกรรมโดยสุดท้ายนักเรียนได้พบว่าเกมที่กำลังเล่นอยู่นั้นเป็นสาระทางคณิตศาสตร์เรื่องแบบรูป และในการจัดการเรียนรู้เรื่องสมการเชิงเส้นนักเรียนได้เรียนรู้การแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เรื่องการเลือกใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่กับบริษัทที่ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ ในการเปรียบเทียบค่าบริการค่าใช้จ่ายต่างๆ สามารถหาคำตอบ และตัดสินใจเลือกว่าจะเลือกใช้บริการของบริษัทใดที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่ากันแต่ได้รับการบริการเท่ากันในด้านเวลาที่ใช้ในการโทรศัพท์ ซึ่งจะทำให้นักเรียนได้เห็นความสำคัญของการเรียนคณิตศาสตร์ เรียนคณิตศาสตร์อย่างมีความหมาย มีความเข้าใจมากขึ้น และสนุกสนานกับการเรียน ให้ความร่วมมือต่อผู้สอนเป็นอย่างดี และการใช้กิจกรรมกลุ่มก็สามารถช่วยในการเรียนรู้ของนักเรียนมากขึ้น และสามารถแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องแบบรูป และสมการเชิงเส้นได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1385
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น