กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1263
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorกาญจนา พิบูลย์
dc.contributor.authorเกษม ใช้คล่องกิจ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:04:22Z
dc.date.available2019-03-25T09:04:22Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1263
dc.description.abstractโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุทั่วโลก และเป็นโรคที่ต้องได้รับการดูแลรักษาระยะยาวที่มีประสิทธิภาพ วิธีการดูแลควบคุมโรคเป็นสิ่งสำคัญในการลดความรุนแรง และภาวะแทรกซ้อนของโรค ตลอดจนส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลควบคุมโรคในผู้สูงอายุที่เป้นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในประเทศไทย โดยมีคำถามสำหรับการทบทวนครอบคลุมถึงรูปแบบและประสิทธิผลของวิธีการดูแลในผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ดำเนินการสืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบโดยใช้วิธีการสืบค้นด้วยมือและสืบค้นทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อค้นหางานวิจัยทั้งที่ตีพิมพ์เผยแพร่และไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ ที่มีรายงานไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2556 งานวิจัยที่นำมาทบทวนประกอบด้วยการศึกษาแบบจำลอง จำนวน 9 เรื่อง และแบบกึ่งทดลอง จำนวน 28 เรื่อง รวมทั้งหมด 38 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการทบทวนครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบคัดกรองงานวิจัย แบบประเมินงานวิจัยและแบบสกัดข้อมูลงานวิจัย มีการตรวจสอบความถูกต้อง การคัดเลือกงานวิจัย และการประเมินคุณค่างานวิจัย และการสกัดข้อมูลโดยทีมผู้วิจัยและผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปเชิงเนื้อหาเพื่อจำแนกวิธีการและประสิทธผลของวิธีการดูแลควบคุมโรค การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบครั้งนี้แสดงถึงวิธีการดูแลควบคุมโรคเบาหวาน 2 รูปแบบ ได้แก่ โปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตนเองที่มีการดำเนินการติดตามประสิทธิผลของผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง และโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลควบคุมโรคเฉพาะเรื่อง พบว่าวิธีการควบคุมโรคเบาหวานที่ใช้โปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตนเองโดยติดตามอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่สามารถลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ทั้งระดับน้ำตาลสะสมที่เกาะติดเม็ดเลือกแดง และระดับน้ำตาลในเลือดได้ ถึงแม้ว่าโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตนเองที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเหล่านั้นจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของกรอบแนวคิดและวิธีการดำเนินการใช้ แต่ละรูปแบบดำเนินการมีความคล้ายคลึงกันในแง่ของเนื้อหาสาระซึ่งประกอบด้วยการให้ความรู้ด้วยวิธีการสอน การดูตัวแบบการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมทั้งการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลควบคุมโรคเบาหวานโดยเน้นเอง การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยา การดูแลสุขภาพทั่วไป และการดูแลเท้า สำหรับการดูแลควบคุมโรคเฉพาะเรื่องที่พบในการทบทวนครั้ง ได้แก่ การดูแลควบคุมอาหาร การออกกำลังกายหรือการเคลื่อนไหว การปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหว การให้ความรู้ การให้คำปรึกษา และการป้องกันภาวะแทรกซ้อน ผลการทบทวนยืนยันประสิทธิผลของวิธีการดูแลเฉพาะเรื่องโดยเฉพาะเรื่อง การออกกำลังกายหรือการเคลื่อนไหว ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และระดับน้ำตาลสะสมที่เกาะติดเม็ดเลือดแดง การทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้ให้หลักฐานเชิงประจักษ์ที่เป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดูแลควบคุมโรคเบาหวานในประเทศไทย โปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตนเองโดยดำเนินการติดตามอย่างต่อเนื่องและการดูแลเฉพาะเรื่องสามารถนำไปใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับน้ำตาลสะสมที่เกาะติดเม็ดเลือดแดงในผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งต่อไปควรมีการพัฒนารูปแบบการดำเนินการวิจัย โดยเฉพาะส่วนการให้ความรู้ การพัฒนาเนื้อหาในส่วนที่เป้นการให้ความรู้ รวมทั้งเครื่องมือวัดความรู้ให้มีรูปแบบมาตรฐานที่สามารถใช้ในกลุ่มผู้สูงอายุมีความจำเป็นเพื่อให้งานวิจัยมีคุณภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ควรมีการทดลองซ้ำในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ และมีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม รวมทั้งมีการวัดผลลัพธ์ของวิธีการอย่างเหมาะสมth_TH
dc.description.sponsorshipผลงานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2555en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectโรคเรื้อรังth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleการศึกษาอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังth_TH
dc.title.alternativeA systematic review of care intervention among older adults with chronic illnessen
dc.typeResearch
dc.year2557
dc.description.abstractalternativeDiabetes mellitus is a chronic disease and serious problem for older adults world wide. This chronic disease requires effective long term care and treatment to reduce complications and severities of the disease, as well as improving quality of life among older adults with type 2 diabetes mellitus. This systematic review aimed to summarize the best available evidence related to the effectiveness of diabetic care interventions among older adults with type 2 diabetes mellitus in Thailand. Specific review question addressed include the type of care intervention and their effectiveness. Searching strategies included hand searching and electronic searching to find both published and unpublished studieds in Thailand and conducted between 2003 to 2013. Nine randomized controlled trials and 28 quasi-experimental studies retrieved from both journal and thesis were appraised and recruited instruments consisted of research screening From, critical appraisal from and data extraction From. Research screening and critical appraisal were cross-checked by researcher' team and an expert. Narrative summarization was employed to identify various types of care intervention and their effectiveness. Results revealed 2 major types of diabetes mellitus care interventions, including continuous self care interventions and specific onterventions. Most continuous self care interventions were used and could reduce blood sugar' level both FBS and HbA1C. Even though those continuous self care interventions were difference in conceptual-bases and methods of intervention, they were similar in therms of contents, which included knowledge and practice regarding diabetic control, and learning methods which included health education, learning from positive and negative models and sharing experiences. The specific interventions revealed in this review were exercised or movement, exercised meditation, educational support, counselling, and complication management. This systematic review presents available diabetic care' evidence in Thailand. Continuous self care intervention and specific intervention, especially exercise and movement program can be used to control FBS and HbA1C among older adults with type 2 diabetes mellitus. Further study, developing the contents of knowledge and standardize of measurement that appropriate for older adults are needed to improve the quality of research. Moreover, the diabetes care interventions that were exerimented in very few studies, replication of the experimental study should be done with large sample size, randomization of group assignment, and appropriate measurement of the outcome variables.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น