กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10282
ชื่อเรื่อง: โมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถของนักกีฬาว่ายน้ำ มาราธอนเยาวชนทีมชาติไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Structural equation modeling of its determinant factors of Thai open water swimming performance
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรพจน์ ไชยนอก
คำสำคัญ: การว่ายน้ำ
การว่ายน้ำ - - การฝึก
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบของร่างกาย สมรรถภาพทางกาย ความสามารถในการออกแรง ตัวแปรทางด้านระบบพลังงาน และความสามารถในการแข่งขันระยะทาง 5 กิโลเมตรในนักกีฬาว่ายน้ำมาราธอนเยาวชนก่อนและหลังการฝึก 12 สัปดาห์ในวงรอบการ ฝึกวงรอบที่ 3 ของปีและ (2) เพื่อใช้เทคนิคของโมเดลสมการโครงสร้างในการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ เพื่อตรวจสอบตัวแปรทำนายที่สามารถนำมาสร้างสมการพยากรณ์ความสามารถในการแข่งขันระยะทาง 5 กิโลเมตรของนักกีฬาว่ายน้ำมาราธอนเยาวชนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักกีฬาว่ายน้ำมาราธอน เยาวชนทีมชาติไทย จำนวน 22 คน (ชาย 11, หญิง 11) อายุเฉลี่ย 15.36 +1.05 ปี เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและร้อยละการเปลี่ยนแปลงของตัวแปร ระหว่างก่อนและหลังการฝึกโดยใช้สถิติค่าที วิเคราะห์โมเดลสมการ โครงสร้างโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้ โปรแกรม LISREL student 9.30 ทดสอบความมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าความสามารถในการแข่งขันระยะทาง 5 กิโลเมตรมีการพัฒนาขึ้นเมื่อเปรียบเทียบก่อนและ หลังการฝึก 12 สัปดาห์ในวงรอบการฝึกวงรอบที่ 3 ของปีอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01) คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 9.01 เมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบด้านต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนามากที่สุด 3 อันดับแรกพบว่า ร้อย ละของไขมันมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ร้อยละ 6.69 (d=0.27, Small) รองลงมาได้แก่ แรงเฉลี่ยในการว่าย โดยใช้ขา ร้อยละ 5.97 (d=0.20, small) และปริมาณแลคเตทสูงสุดจากการทดสอบ 6x50 เมตร ร้อยละ 5.18 (d=0.46, small) ตามลำดับ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณของตัวแปรแต่ละด้านที่ส่งผลต่อ ความสามารถในการแข่งขันระยะทาง 5 กิโลเมตรของนักกีฬาว่ายน้ำมาราธอนเยาวชนพบว่าองค์ประกอบที่ สามารถอธิบายความแปรปรวนของความสามารถในการแข่งขันได้มากที่สุดคือ ตัวแปรทางด้านระบบพลังงาน แบบแอโรบิค ร้อยละ 55.0 รองลงมาได้แก่ ตัวแปรของสมรรถภาพทางกาย ร้อยละ 40.4 ตัวแปรองค์ประกอบของร่างกาย ร้อยละ 24.9 ตัวแปรทางด้านระบบพลังงานแบบแอนแอโรบิค ร้อยละ 21.1 และตัวแปรทางด้าน ความสามารถในการออกแรง คิดเป็นร้อยละ 8.7 ตามลำดับ ผลที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึง ลักษณะการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อความสามารถของนักกีฬาว่ายน้ำมาราธอนเยาวชนในวงรอบการฝึก และความสำคัญของตัวแปรด้านระบบพลังงานแบบแอโรบิคและองค์ประกอบด้านสมรรถภาพ ทางกายที่มีความสำคัญโดยตรงต่อความสามารถ ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับผู้ฝึกสอนในการวางแผนการ ฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาความสามารถของนักกีฬาว่ายน้ำมาราธอนเยาวชนในระยะยาวต่อไป
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10282
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2567_081.pdf7.77 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น