กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10273
ชื่อเรื่อง: ผลของการใช้สมาร์ทโฟนด้วยมือหนึ่งข้างและสองข้างต่อท่าทางคอไหล่ อาการปวด ความตึงตัวของเส้นประสาทมีเดียน แรงบีบมือ การไหลเวียนเลือดส่วนปลายและสมรรถภาพปอดในนักศึกษาระดับอุดมศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of one and double hands use of smartphone on posture median nerve tension pain grip streipheral blood fiow and respiratory function in university
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิมลพรรณ ทวีการ วรรณจักร
คุณาวุฒิ วรรณจักร
ทัศวิญา พัดเกาะ
พรพิมล เหมือนใจ
อรชร บุญลา
จันทร์ทิพย์ นามสว่าง
คำสำคัญ: สมาร์ทโฟน
กระดูก - -โรค
ปวดไหล่
ปวดคอ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ปัจจุบันพบว่านักเรียนในระดับอุดมศึกษามีการใช้สมาร์ทโฟนกันอย่างแพร่หลาย การศึกษาเกี่ยวกับผล ของการเกิดโรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อในผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนมีมาไม่นาน ก่อนหน้านี้การศึกษาครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของท่าทางคอไหล่ อาการปวด ความตึงตัวของเส้นประสาทมีเดียนแรงบีบมือ การไหลเวียนเลือดส่วนปลายและสมรรถภาพปอดในนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่ใช้สมาร์ทโฟนด้วยมือหนึ่งข้างและสองข้าง จากผลการศึกษาพบว่ามุมคอยื่นในกลุ่มเล่นมือถือด้วยมือหนึ่งข้างมีลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = ๐.๐๐๒) ภายหลังการใช้สมาร์ทโฟน ๓๐ นาทีเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่ม กลุ่มเล่นมือถือด้วยมือสองข้างไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม ภาวะไหล่งุุ้มด้านขวาและซ้ายในสองกลุ่มมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติภายในกลุ่ม (p = ๐.๐๐๐๑, ๐.๐๐๓, ๐.๐๐๐๑, ๐.๐๓ ตามลำดับ) แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม แรงบีบมือด้านขวาและซ้ายในกลุ่มเล่นมือถือด้วยมือหนึ่งข้างไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติภายในกลุ่มแต่ในกลุ่มเล่นมือถือด้วยมือสองข้างมีค่าเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติภายในกลุ่ม (p = ๐.๐๐๒, ๐.๐๐๑ ตามลำดับ) และไม่พบความแตกต่างกันระหว่างกลุ่ม อาการปวดคอทั้งสองกลุ่มมีค่าเพิ่มขึ้นหลังการเล่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=๐.๐๐๐๑, ๐.๐๐๐๑ ตามลำดับ) แต่ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติระหว่างกลุ่ม อาการปวดบ่าไหล่ทั้งสองกลุ่มมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังการเล่น (p=๐.๐๐๐๑, ๐.๐๐๐๑ ตามลำดับ) และพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=๐.๐๔) ระหว่างกลุ่มอาการปวดข้อศอกในกลุ่มเล่นมือถือด้วยมือหนึ่งข้างมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นหลังการเล่นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=๐.๐๐๑) ส่วนในกลุ่มเล่นมือถือด้วยมือสองข้างมีไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม อาการปวดข้อมือทั้งสองกลุ่มมีค่าเพิ่มขึ้นหลังการเล่นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=๐.๐๐๑, ๐.๐๓ ตามลำดับ) แต่ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มอาการปวดนิ้วมือและนิ้วโป้งในกลุ่มเล่นมือถือด้วยมือหนึ่งข้างมีค่าเฉลี่ยมีค่าเพิ่มขึ้นหลังการเล่นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=๐.๐๒, ๐.๐๐๓ ตามลำดับ) ส่วนในกลุ่มเล่นมือถือด้วย มือสองข้างมีไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มความตึงตัวของ เส้นประสาทมีเดียนทางด้านขวาและซ้ายของทั้งสองกลุ่มมีค่าเฉลี่ยมีค่าลดลงหลังการเล่นอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p=๐.๐๐๐๒, ๐.๐๐๐๑, ๐.๐๐๑, ๐.๐๒ ตามลำดับ) แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม การไหลเวียนของหลอดเลือดส่วนปลายบริเวณหน้าข้อมือ บริเวณ Radial artery และบริเวณ Ulnar artery ข้างขวาและข้างซ้ายทั้งสองกลุ่มไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม ค่า FVC, FEV1, FEV1/FVC, TV, IRV และ ERV ในกลุ่มเล่นมือถือด้วยมือหนึ่งข้างและสองข้างไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม และ ค่า VC ในกลุ่มเล่นมือถือด้วยมือหนึ่ งข้างไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติภายในกลุ่ม แต่ในกลุ่มเล่นมือถือด้วยมือสองข้างมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติภายในกลุ่ม (p=๐.๐๓) แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่ม จะเห็นได้ว่าท่าทางการใช้งานสมาร์ทโฟนที่แตกต่างกันอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของมุมคอยื่นและอาการปวดบ่าได้
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10273
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2567_063.pdf952.95 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น