กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10270
ชื่อเรื่อง: ศึกษาภาวะการรู้คิดทางการเคลื่อนไหวในวัยผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะความบกพร่องทางพัฒนาการ การทำงานประสานสัมพันธ์กันของร่างกาย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The involvement of motor cognition in suspected adult developmental coordination disorder
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรพรหม สุระกุล
กุลธิดา กล้ารอด
ศิริรัตน์ เกียรติกูลานุสรณ์
นงนุช ล่วงพ้น
พรพิมล เหมือนใจ
จันทร์ทิพย์ นามสว่าง
คมวุฒิ คนฉลาด
คำสำคัญ: การเคลื่อนไหว
การเคลื่อนไหวของมนุษย์
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ภาวะความบกพร่องทางพัฒนาการการทำงานประสานสัมพันธ์กันของร่างกาย (Developmental coordination disorder หรือ DCD) พบว่ามีความผิดปกติทางด้านการทำงานประสานสัมพันธ์ของร่างกาย การทรงตัว และการเคลื่อนไหวที่มักแสดงให้เห็นในวัยเด็ก หากไม่ได้รับการแก้ไขอาจส่งผลต่อเนื่องเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้นซึ่งมักแสดงออกถึงความยากลำบากเมื่อต้องเผชิญกับการทำกิจกรรมที่ต้องอาศัยทักษะการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อน มีรายงานเพิ่มเติมว่าภาวะ DCD ยังมีความเกี่ยวข้องกับความจำสำหรับการทำงานด้านการรับรู้ทางมิติสัมพันธ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรู้คิดในการที่จะทำให้บุคคลสามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันได้อย่างอิสระ ในประเทศไทยยังขาดรายงานการศึกษาเกี่ยวกับภาวะ DCD ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการรู้คิดทางการเคลื่อนไหว ได้แก่ ความสามารถในการทรงตัว การทำงานสองอย่างในเวลาเดียวกัน ปฏิกิริยาการตอบสนองต่อการล้ม และการรู้คิดด้านมิติสัมพันธ์ของกลุ่ม ผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีและไม่มีความเสี่ยงต่อภาวะ DCD ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยจะถูกสัมภาษณ์โดยนัก กายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์ทางคลินิกเพื่อแยกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยง (suspected) ต่อภาวะ DCD หรือ sDCD และกลุ่มควบคุมที่ไม่มีความเสี่ยงต่อภาวะ DCD ผู้เข้าร่วม โครงการวิจัยทุกคนจะถูกทดสอบความสามารถการทรงตัวขณะอยู่นิ่ง (static balance test) การทำงานสองอย่างในเวลาเดียวกัน (dual task test) บนเครื่อง biometric e-link four force plate version 14 (DFP4) การทดสอบปฏิกิริยาการตอบสนองต่อการล้ม (simple reaction time test) และการทำงานของสมองส่วนหน้าด้วยเครื่อง functional near-infrared spectroscopy (fNIRS) ขณะทำการทดสอบการ รู้คิดด้านมิติสัมพันธ์ จากการศึกษาพบการลดลงของการควบคุมการทรงตัวขณะอยู่นิ่งเมื่อรบกวน somatosensory system เมื่อให้ทำงานสองอย่างร่วมกันพบการลดลงของการควบคุมการทรงตัวในทุกเงื่อนไข และพบการลดลงของปฏิกิริยาการตอบสนองต่อการล้ม ในกลุ่ม sDCD เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมการทำงานสองอย่างร่วมกันทำให้มีการแบ่งความสนใจซึ่งบ่งบอกถึงการรู้คิด ในกลุ่ม sDCD อาจใช้การรู้คิดชดเชยความ บกพร่องทางการเคลื่อนไหวดังนั้นเมื่อการรู้คิดถูกรบกวนจึงส่งผลต่อการควบคุมการทรงตัวได้ การศึกษาต่อไปหากสามารถฝึกทักษะการรู้คิดทางการเคลื่อนไหวโดยเฉพาะด้านมิติสัมพันธ์อาจส่งผลให้ sDCD มี ทักษะทางการควบคุมการทรงตัวที่ดีขึ้นเป็นการลดความเสี่ยงต่อการล้มเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุต่อไป
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10270
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2567_058.pdf7.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น