กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10206
ชื่อเรื่อง: การเปิดรับข่าวสารกับความคิดเห็นทางการเมืองของนิสิตมหาวิทยาลัยในยุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Informtion exposure nd politicl opinions of university studentunder generl pryuth chnoch’s government: cse study of university in the estern region of thilnd
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ
ทรงยศ บัวเผื่อน
โบรญา คุณวิบูลย์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมือง
นักศึกษา -- ทัศนคติ
การเมือง -- ทัศนคติ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง “การเปิดรับข่าวสารกับความคิดเห็นทางการเมืองของนิสิต มหาวิทยาลัยในยุครัฐบาล พล อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก” เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 –4 มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก จำนวน 400 คน งานชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์กับความคิดเห็นทางการเมืองของนิสิต มหาวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ลักษณะทางประชากรกับการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองของนิสิต 3) เพื่อศึกษาความแตกต่างการเปิดรับข่าวสารกับความคิดเห็นทางการเมืองในยุครัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผลการวิจัยพบว่า นิสิตส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 มีเกรดเฉลี่ยสะสมอยู่ระหว่าง 2.00 –2.50 มีความสนใจทางการเมืองอยู่ในระดับมาก ส่วนใหญ่เปิดรับข่าวสารผ่านเว็บไซต์ข่าวในช่วงระหว่างเวลา18.01 – 24.00 น. โดยเปิดรับมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์แต่ละครั้งจะเปิดรับข่าวสารประมาณ 15 – 30 นาที นิสิตไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า พล.อ. ประยุทธ์บริหารประเทศได้ดี (Mean = 1.47) ด้านความเป็นประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพนั้น นิสิตไม่แน่ใจเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ (Mean = 3.47) ไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า รัฐบาลทหารบริหารประเทศดีกว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง (Mean = 4.50) ส่วนด้านสิทธิและ เสรีภาพ นิสิตไม่เห็นว่าประชาชนได้รับการคุ้มครองทางด้านกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน (Mean = 1.97) ส่วนความคิดเห็นที่มีต่อการทำหน้าที่ขององค์อิสระตามรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติคณะกรรมการการเลือกตั้งและองค์กรกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาตินั้น นิสิตเห็นว่าองค์กรดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือไม่มากนัก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10206
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
60920226.pdf2.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น