กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10174
ชื่อเรื่อง: การลดของเสียจากกระบวนการผลิต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Defect reduction in the mnufturing process
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ไพโรจน์ เร้าธนชลกุล
ฝนธรรม เจริญสุขรุ่งโรจน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะโลจิสติกส์
คำสำคัญ: การลดปริมาณของเสีย
ของเสียจากโรงงาน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ปัญหาของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต Outer shield ปัจจุบันส่งผลกระทบต่อแผนก Hilex ซึ่งมีผลต่อการไม่บรรลุ KPI (Key performance indicator) ของแผนกเป็นอย่างมาก เนื่องจากทำให้เกิดต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการแข่งขันองค์กรกับคู่แข่งทางการตลาดในธุรกิจประเภทเดียวกัน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและหาแนวทางในการลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ลดต้นทุน และพัฒนาคุณภาพของสินค้าให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุด เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานวิจัยนี้ ประกอบด้วยเครื่องมือควบคุมภาพ 7 ชนิด (7 Qc tools) สำหรับการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์เพื่อจัดลำดับความรุนแรงของปัญหา ได้แก่ แผ่นตรวจสอบ ผังพาเรโต และแผนผังก้างปลา เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาผลจากการวิเคราะห์ พบว่า ของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนผลิตมากที่สุด คือ Outer shield part no. 504KH1A จำนวน 250 เส้น ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลย้อนหลัง 6 เดือน เกิดจากกระบวนการผลิต Liner และป้อน Liner เข้าเครื่องจักร Tubular ซึ่งเกิดจากปัญหาการดึงและชิ้นงานถูกกดทับจากกระบวนการผลิต สาเหตุหลักเกิดมาจากปัญหา 2 ประการ คือ 1) เกิดจากวิธีการปฏิบัติงาน 2) เกิดจากเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ขาดการปรับปรุงพัฒนา จากผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น พบว่า ของเสียในกระบวนการผลิต Liner ถูกกดทับจากร้อยละ 100 เหลือร้อยละ 5 และหัวข้อ Liner ยืดจากร้อยละ 100 เหลือร้อยละ 1 ดังนั้น มูลค่าของเสียก่อนปรับปรุงแก้ไข12,500 บาท ต่อ 6 เดือน หรือ 25,000 บาทต่อปีหลังการปรับปรุงลดลงเหลือ 350 บาทต่อเดือน
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10174
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
61920186.pdf3.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น