กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10169
ชื่อเรื่อง: การฟื้นฟูความจำแบบจำได้ในผู้ป่วยติดสุราโดยใช้โปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกด้านร่างกายและจิตใจ : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Improving recognition memory in lcohol dependent ptients by using cbt combined with mp progrm: n eeg study
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภัทราวดี มากมี
สมจิต แดนสีแก้ว
ศราวิน เทพสถิตย์ภรณ์
นรากร สารีแหล้
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
คนดื่มสุรา
ความจำ
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฟื้นฟูความจำแบบจำได้ในผู้ติดสุราโดยใช้โปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกด้านร่างกายและจิตใจในผู้ป่วยติดสุราที่มีภาวะบกพร่องทางสมอง ศึกษาการเรียกคืนความจำแบบจำได้ในเชิงพฤติกรรม คลื่นไฟฟ้าสมอง ขณะทำกิจกรรมทดสอบ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดสุรา จำนวน 60 คน จัดกลุ่มอาสาสมัครเข้ากลุ่มด้วยเกณฑ์การคัดกรอง จำนวน 3 กลุ่ม (จำนวนกลุ่มละ 20 คน) กลุ่มทดลองได้รับการฝึกและติดตามผลหลังการทดลองระยะเวลา 6 เดือน และ 9 เดือน เก็บรวมรวมข้อมูลขณะทำกิจกรรมการทดสอบผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ จากแบบทดสอบ Delayed Matching to Sample (DMS) Paired Associates Learning (PAL) และ Pattern Recognition (PRM) สถิติที่ใช้ ได้แก่ Repeated ANOVA และ 2-way MANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า โปรแกรมการฟื้นฟูความจำแบบจำได้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ประกอบด้วย กิจกรรมบำบัด 6 ครั้ง เป็นเวลา 7 สัปดาห์ ใช้เวลาในการทำกลุ่ม 1.30 ชั่วโมง หลังการทดลองมีคะแนน เฉลี่ยตอบถูกสูงกว่า และใช้เวลาปฏิกิริยาน้อยกว่า เมื่อเทียบกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ผลการเปรียบเทียบข้อมูลพลังงานสัมบูรณ์ของช่วงความถี่คลื่นไฟฟ้าสมองย่าน Theta, Alpha, Low Beta และ High Beta ขณะทำกิจกรรมการทดสอบการเรียกคืนความจำแบบจำได้ ได้แก่ แบบทดสอบ DMS, PAL, และ PRM ระหว่างระยะติดตามผล 6 เดือน กับระยะติดตามผล 9 เดือน ในกลุ่มทดลอง ปรากฏว่ากลุ่มทดลองมีค่าพลังงานสัมบูรณ์ของช่วงความถี่คลื่นไฟฟ้าสมองย่าน Theta, Alpha, Low Beta และ High Beta หลังการฝึกสูงกว่าก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกบริเวณสมอง ได้แก่ บริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า บริเวณเปลือกสมองด้านข้าง และบริเวณเปลือกสมองส่วนขมับ สรุปได้ว่า การฝึกด้วยโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการฝึกด้านร่างกายและจิตใจอย่างต่อเนื่อง สามารถช่วยเพิ่มความจำแบบจำได้ในผู้ป่วยติดสุราได้ในเชิงพฤติกรรม และศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10169
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58810163.pdf5.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น