กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10161
ชื่อเรื่อง: การจัดการสอนออนไลน์แบบเปิดกว้างสำหรับมวลชนด้วยแนวคิดการคิดการเรียนรู้ของเครื่องจักร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Mssive open online course bsed on mchine lerning pproch
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปริญญา เรืองทิพย์
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
กฤษณะ ชินสาร
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
วรรณธิดา ยลวิลาศ
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
การสอนด้วยสื่อ
เทคโนโลยีทางการศึกษา
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
การสอน
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะโดยใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการจัดการสอนออนไลน์แบบเปิดกว้างสำหรับมวลชนด้วยแนวคิดการเรียนรู้ของเครื่องจักร 2) เพื่อพัฒนาการจัดการสอนออนไลน์แบบเปิดกว้างสำหรับมวลชนด้วยแนวคิดการเรียนรู้ของเครื่องจักร และ 3) เพื่อศึกษาผลการจัดการสอนออนไลน์แบบเปิดกว้างสำหรับมวลชนแนวคิดการเรียนรู้ของเครื่องจักร ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะโดยใช้คอมพิวเตอร์ โดยมีการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน การวิเคราะห์คุณภาพของข้อสอบตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (IRT) แบบ 3 พารามิเตอร์ ได้แก่ ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ ค่าความยากของข้อสอบ และค่าการเดาของข้อสอบ และการจัดการสอนออนไลน์แบบเปิดกว้างสำหรับมวลชนด้วยแนวคิดเรียนรู้ของเครื่องจักร มีการทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทำแบบทดสอบและการสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบไม่อิสระกัน ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) โปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะโดยใช้คอมพิวเตอร์บรรจุคลังข้อสอบที่ผ่านการวิเคราะห์คุณภาพ จำนวน 300 ข้อ มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีวิธีการคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไปด้วยแนวคิดการเรียนรู้เครื่องจักรโดยอาศัยทฤษฎีการตัดสินใจ 2) การออกแบบการจัดการสอนออนไลน์แบบเปิดกว้างสำหรับมวลชนด้วยแนวคิดการเรียนรู้ของเครื่องจักร แบ่งออกเป็น 3 โมดูล ซึ่งมีการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจผู้เรียนโดยใช้เกมมิฟิเคชันและการประเมินผลผู้เรียนโดยการทดสอบแบบปรับเหมาะโดยใช้คอมพิวเตอร์ 3) นักศึกษามีระดับความสามารถหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีประสิทธิภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการจัดการสอนออนไลน์แบบเปิดกว้างสำหรับมวลชนด้วยแนวคิดการเรียนรู้ของเครื่องจักรที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้จริง
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10161
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58810154.pdf7.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น