กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10155
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยการจูงใจในการดูแลรักษาสุขภาพที่มีผลต่อการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors of motivtionl in helth cre ffecting elderly self helth cre in bn sng district, prchinburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัลลภ ใจดี
สุปรียา บุญคง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- คณะสาธารณสุขศาสตร์
ผู้สูงอายุ -- การดูแล
ผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัย
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่มายาวนานอาจขาดการดูแลสุขภาพตนเองส่งผลต่อสุขภาพร่างกายทรุดโทรม จึงควรมีการจูงใจในการป้องกันโรคและการสนับสนุนทางสังคม เพื่อช่วยให้มีการส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงศึกษาปัจจัยการจูงใจในการดูแลรักษาสุขภาพที่มีผลต่อการดูแลสุขภาพตนเองกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 291 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบมีโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด สูงสุด และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลสุขภาพตนเองด้วยสถิติ Multiple linear regression ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 60 - 64 ปี อายุเฉลี่ย 66.4 (4.6) ปีอายุ อายุสูงสุด 79 ปีมีสถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 60.8 โดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับคู่สมรส ร้อยละ 60.8 การประกอบอาชีพเกษตรกรทำนา เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง ร้อยละ 38.3 รองลงมาอาชีพค้าขาย ร้อยละ 28.7 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 52.9 ผู้สูงอายุมีปัจจัยจูงใจภายในในการดูแลรักษาสุขภาพตนเอง คือ การป้องกันการเจ็บป่วยโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 76.46 (6.15) คะแนน โดยส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 73.2 และปัจจัยจูงใจภายนอกในการรักษาสุขภาพตนเอง คือ การสนับสนุนทางสังคมโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 64.45 (8.57) คะแนน โดยส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 75.6 และส่วนใหญ่มีการดูแลรักษาสุขภาพตนเองโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 81.4 โดยมีค่าเฉลี่ย 63.9 (5.48) คะแนน การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดูแลรักษาสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ได้แก่ ปัจจัยจูงใจภายนอกที่เป็นการสนับสนุนทางสังคม มีค่า Badj=0.249 (95 % CI = 0.178 , 0.320) ปัจจัยจูงใจภายในที่เป็นการป้องกันการเจ็บป่วย มีค่า Badj= 0.156 (95% CI = 0.057 , 0.255) โดยมีอายุและการมีโรคประจำตัว เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติดังนั้น จึงควรมีการวางแผนการจัดกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุในเรื่องของการป้องกันโรคที่สามารถดูแลรักษาสุขภาพตนเองได้และมีกิจกรรมส่งเสริมในด้านสุขภาพให้ผู้สูงอายุ เช่น การจัดชมรมผู้สูงอายุ
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (ส.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10155
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59920445.pdf4.89 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น