กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10123
ชื่อเรื่อง: ความเมื่อยล้าและสมรรถภาพทางกายทั่วไปของพนักงานผลิตบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Rftigue nd generl physicl fitness to employee compny limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณภา ลือกิตินันท์
กัญจนวลัย นนทแก้ว แฟร์รี่
วรรธนะ คงโต
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
คำสำคัญ: ความล้าในที่ทำงาน
พนักงานบริษัท -- สุขภาพและอนามัย
มหาวิทยาลัยบูรพา -- คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
พนักงานบริษัท -- การทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะสุขภาพ ความเมื่อยล้า สมรรถภาพทางกายทั่วไปและแนวทางการแก้ไขปัญหาสุขภาพของพนักงานผลิตเพื่อจัดกิจกรรมการบริหารร่างกายให้กับพนักงานผลิต และเพื่อเปรียบเทียบความเมื่อยล้าและสมรรถภาพทางกายทั่วไปของพนักงานผลิตก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการบริหารร่างกายโดยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) แบ่งระยะเวลาในการวิจัยออกเป็น 3 ช่วงผลการศึกษาระยะที่ 1 การสำรวจความเมื่อยล้าของพนักงานผลิตด้วยแบบสอบถาม จำนวน 130 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ในช่วงอายุ 20-29 ปีและมีลักษณะการทำงาน ประเภทการยืนทำงานนาน มีพนักงาน จำนวน 30 คน มีความเมื่อยล้าเฉพาะที่อยู่ในระดับที่ 3 (มีอาการปวดเมื่อยปานกลาง) ถึงระดับที่ 5 (มีอาการปวดเมื่อยมาก หยุดพักงาน ไม่ทุเลาลง) โดยมีผู้ที่มีความสนใจและมีความยินยอมสมัครใจเข้าร่วมการทดลองระยะที่ 2 เป็นจำนวน 5 คน ผลการศึกษาระยะที่ 2 การทำกิจกรรมการบริหารร่างกายผู้เข้าร่วมการวิจัยมีความเมื่อยล้าเฉพาะที่ระดับที่ 3 บริเวณก้นและสะโพกบริเวณ ต้นขา บริเวณเข่า เป็นส่วนใหญ่ถึงระดับที่ 4 บริเวณหลังส่วนบน และบริเวณหลังส่วนล่าง (เอว) หลังจากการทำกิจกรรมการบริหารร่างกายด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นเวลา 2 เดือน พบว่าผู้เข้าร่วมวิจัยมีระดับอาการความเมื่อยล้าอยู่ในระดับที่ 0 ถึงระดับที่ 2 เป็นส่วนใหญ่ผลจากการศึกษาระยะที่ 3 การเปรียบเทียบความเมื่อยล้าก่อนและหลังกิจกรรมของผู้เข้าร่วมการวิจัย มีระดับความเมื่อยล้าเฉพาะที่ลดลง โดยรวม บริเวณส่วนของร่างกายด้านซ้ายมีระดับความเมื่อยล้าเฉพาะที่ลดลง บริเวณส่วนของร่างกาย ด้านขวา มีระดับความเมื่อยล้าเฉพาะที่ลดลง สรุปได้ว่า พนักงานกลุ่มทดลองที่เข้ากิจกรรมการบริหารร่างกายมีความเมื่อยล้าก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน โดยพนักงานมีระดับความรู้สึกเมื่อยล้าลดลง และมีสมรรถภาพทางกายทั่วไป ก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน แต่พบว่ามีพนักงานมีดัชนีมวลกายทั้งคงที่และแย่ลงอัตราส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพกคงที่ เช่นเดียวกับการแตะมือด้านหลัง มือขวาอยู่ บน และมือซ้ายอยู่บน แต่การนั่งงอตัวมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และการนอนยกตัว 1 นาทีดีขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กจ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10123
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59920341.pdf4.44 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น