กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10094
ชื่อเรื่อง: การลดการสูบบุหรี่และความอยากบุหรี่ในวัยรุ่นที่ติดบุหรี่โดยใช้โปรแกรมการกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อนร่วมกับสติบำบัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Reduction of smoking nd cigrette crving in smoking ddiction dolescents by using trnscrnil direct current stimultion with mindfulness-bsed therpy progrms
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิริกรานต์ จันทเปรมจิตต์
ศราวิน เทพสถิตย์ภรณ์
พิชญาภา พิชะยะ
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: การติดบุหรี่ -- การป้องกันและควบคุม
การสูบบุหรี่ -- การป้องกันและควบคุม
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
การสูบบุหรี
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อนร่วมกับสติบำบัด สำหรับการลดการสูบบุหรี่และความอยากบุหรี่ในวัยรุ่นที่ติดบุหรี่ และศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อนร่วมกับสติบำบัดสำหรับการลดการสูบบุหรี่และความอยากบุหรี่ในวัยรุ่นที่ติดบุหรี่กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นที่ติดบุหรี่ จากโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 80 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรม ฯ (กลุ่มควบคุม) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อนร่วมกับสติบำบัด (กลุ่มทดลองที่ 1) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อน (กลุ่มทดลองที่ 2) และกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมสติบำบัด (กลุ่มทดลองที่ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินความอยากบุหรี่ 2) เครื่องวัดระดับค่าระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจออก และ 3) ชุดตรวจวัดค่านิโคตินในปัสสาวะ โปรแกรมการกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อนร่วมกับสติบำบัด ประกอบด้วย 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมสติบำบัด แบบกลุ่ม 30 นาทีหลังจากนั้นทำกิจกรรมกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อนครั้งละ 20 นาทีวันละ 1 ครั้ง รวม 5 วัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน สถิติทดสอบที สถิติการทดสอบลำดับที่ โดยเครื่องหมายของวิลค็อกซัน สถิติการทดสอบของครัสคาล-วัลลิส และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยปรากฏว่า คะแนนเฉลี่ยความอยากบุหรี่ค่าเฉลี่ยระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจออก ค่าเฉลี่ยค่านิโคตินในปัสสาวะ และค่าเฉลี่ย จำนวนบุหรี่ที่สูบ หลังการทดลองในกลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่ม ต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 นอกจากนี้ยังพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองที่ 3 มีค่าเฉลี่ยระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจออกต่ำกว่ากลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10094
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59810022.pdf4.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น