กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10072
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการจัดการในการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาสาขาการจัดการการกีฬาด้วยการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The management model for competency development for sports management students with community based
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รังสฤษฏ์ จำเริญ
นภพร ทัศนัยนา
เสกสรรค์ ทองคำบรรจง
วิกรม สวาทพงษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การออกกำลังและการกีฬา
คำสำคัญ: กีฬา -- การศึกษาและการสอน
สมรรถนะ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์การออกกำลังและการกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบและการยืนยันประเมินรูปแบบการจัดการในการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาสาขาการจัดการการกีฬาด้วยการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ขอบเขตกาวิจัย ประกอบด้วย การบริหารจัดการ POIC คือ การวางแผน (Planning) การจัดการองค์การ (Organizing) การชี้นํา (Leader) และการควบคุม (Control) ที่ครอบคลุมระดับมหาวิทยาลัย คณะ สาขาวิชา ชุมชน และนักศึกษา โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) และในการทดลองรูปแบบกับชุมชนใช้เทคนิคแบบมีส่วนร่วม (A-I-C) คือ การสร้างความรู้ การสร้างแนวทางการพัฒนา การสร้างแนวทางปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการบริหารงาน ด้านการจัดการกีฬาและการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชุนเป็นฐาน โดยเลือกแบบบอกต่อ (Snowball) จํานวน 15 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างนําข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วสร้างรูปแบบ และคู่มือการดําเนินงาน ยืนยันความเหมาะสม ความเป็นไปได้ สามารถนําไปปฏิบัติได้ของรูปแบบและคู่มือ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบในดําเนินการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาสาขาการจัดการการกีฬา ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการระดับมหาวิทยาลัย คณะ กลุ่มนักศึกษาและชุมชน ที่ระบุบทบาท หน้าที่ องค์กรที่รับผิดชอบและการอํานวยความสะดวกในการดําเนินงาน 2) แผนงาน กระบวนการและคู่มือการดําเนินงานตามรูปแบบ 3) สมรรถนะและผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการเรียนรู้ของนักศึกษาตามหลักสูตรการจัดการกีฬา 4) การประสานความร่วมมือกับชุมชนในการดําเนินงาน 5) การประเมินโครงการและทดสอบ ผลสัมฤทธิ์ การเรียนรู้ของนักศึกษาผลการยืนยันรูปแบบ พบว่า มีความเหมาะสม เป็นไปได้ ในการนําไปปฏิบัติ และเมื่อนํากระบวนการต่าง ๆ ของรูปแบบไปทดลองกับชุมชน พบว่า นักศึกษา มีสมรรถนะตามที่คาดหวัง โดยเฉพาะวางแผนและจัดทําแผนอยู่ในระดับมากที่สุด และผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมของนักศึกษา หลังใช้รูปแบบในระดับมากที่สุด
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10072
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57810089.pdf4.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น