กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10066
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวกีฬาดำน้ำตามแนวคิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A mngement model for diving sport tourism coresponds to locl community sustinbility
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นภพร ทัศนัยนา
สันติพงษ์ ปลั่งสุวรรณ
ประวิทย์ ทองไชย
สัคคยศ สังขพันธ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การออกกำลังและการกีฬา
คำสำคัญ: การท่องเที่ยวโดยชุมชน -- สตูล
การท่องเที่ยวเชิงกีฬา
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์การออกกำลังและการกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวกีฬาดำน้ำตามแนวคิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่นตามองค์ประกอบการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ กีฬาดำน้ำ และองค์ประกอบการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนด้วยกระบวนการบริหารจัดการ POLC โดยกระบวนการวิจัยแบบเดลฟายประยุกต์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านการวางแผน (Planning) 5 องค์ประกอบ คือ จัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จัดการทรัพยากรบุคคล พัฒนาบริการและการตลาด พัฒนาชุมชนท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมและจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว 2) ด้านการจัดการองค์กร (Organizing) 10 องค์ประกอบ คือ กรมการท่องเที่ยวออกแบบโปรแกรมอุทยานแห่งชาติดูแลกิจกรรม สำนักงานการท่องเที่ยวพัฒนาคน หน่วยกู้ภัย ตำรวจน้ำ ตำรวจภูธรและองค์กรบริหารส่วนตำบลดูแลความปลอดภัย กรมเจ้าท่าดูแลเรือ ตำรวจท่องเที่ยวตรวจมัคคุเทศก์ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้ประกอบการจัดเตรียมสิ่งอำนวยสะดวก องค์การบริหารส่วนตำบลและโรงพยาบาลดูแลสุขภาพ นักท่องเที่ยว เครือข่ายในท้องถิ่นกำหนดมาตรฐานบริการ มัคคุเทศก์และครูสอนดำน้ำออกแบบกิจกรรม แนะนำให้เคารพกติกาการใช้ทรัพยากร 3) ด้านการนำ (Leading) 13 องค์ประกอบ คือ สนับสนุนงบประมาณ เจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมที่เหมาะสมนำไปฟื้นฟูทรัพยากรออกกฎหมายและบังคับใช้เปิดหลักสูตรทางการศึกษาให้กับคนในพื้นที่วางผังเมือง นำนักท่องเที่ยวส่งถึงชุมชน ออกแบบโปรแกรม วางกลไกให้ชุมชนเข้าถึงการท่องเที่ยว ทำข้อตกลงการใช้ประโยชน์ในพื่นที่และดูแลรักษา สร้างความเข้าใจเรื่องกฎหมายมาตรฐานและแนวปฏิบัติ รับฟังปัญหาแก้ไขความไม่สะดวก ส่งเสริมการรวมกลุ่ม เตรียมบริการและอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานให้มีมัคคุเทศก์ในการทำกิจกรรมทุกครั้ง 4) ด้านการควบคุม (Controlling) 7 องค์ประกอบ คือ เปิดปิดฤดูกาลการท่องเที่ยว แบ่งพื้นแหล่งดำน้ำจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว ติดตั้งทุ่นสอดส่องดูแลบังคับใช้กฏหมาย ควบคุมมาตรฐานการให้บริการ บริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10066
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57810090.pdf6.89 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น