กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10060
ชื่อเรื่อง: ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกร่วมกับการฝึกวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดแบบแรงต้านที่มีต่อความเร็วและสมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of plyometric trining combined with resisted sprint trining on speed nd nerobic performnce
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสกสรรค์ ทองคำบรรจง
สมพร ส่งตระกูล
วิรัตน์ สนธิ์จันทร์
เจริญสุข อ่าวอุดมพันธุ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การออกกำลังและการกีฬา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกายและการกีฬา
การวิ่ง -- การฝึก
พลัยโอเมตริก (การฝึกกำลัง)
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์การออกกำลังและการกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกพลัยโอเมตริกร่วมกับการฝึกวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดแบบแรงต้านที่มีต่อความเร็ว และสมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิกระหว่างกลุ่ม และภายในกลุ่มก่อนฝึกและหลังฝึกกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนเพศชายของโรงเรียนพรสวรรค์กีฬา-กายกรรมจากหลายชนิดกีฬา อายุเฉลี่ย 18.44 ปี จำนวน 26 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 13 คน คือ กลุ่มทดลองฝึกพลัยโอเมตริกร่วมกับการฝึกวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดแบบแรงต้าน และฝึกด้วยโปรแกรมปกติและกลุ่มควบคุมฝึกด้วยโปรแกรมปกติของแต่ละชนิดกีฬา ทำการฝึก 2 วันต่อสัปดาห์ ทั้งหมด 8 สัปดาห์ ทดสอบความเร็วในการวิ่ง 40 หลาและทดสอบสมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก ด้วยแบบทดสอบรันนิ่ง เบสท์แอนแอโรบิกสปริ๊นท์นำผลทดสอบที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์แบบที (t) ที่กลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน (Independent sample t-test) และเปรียบเทียบความแตกต่างแบบรายคู่รูปแบบการวัดซ้ำมิติเดียว (One-way repeated measure) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 จากการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม พบว่า ภายหลังการฝึก 8 สัปดาห์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของความเร็ว 4.92 วินาทีเร็วขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ย 5.11 วินาที ส่วนค่าเฉลี่ยของพลังสูงสุดเชิงแอนแอโรบิก และค่าสมรรถนะในการยืนระยะเชิงแอนแอโรบิก โดยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย 483.34 วัตต์ และ 407.81 วัตต์เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ย 419.31 วัตต์ และ 362.03 วัตต์ ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำภายในกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม พบว่า ความเร็วแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่า (p = 0.001; Partial n2 = 0.742) และ (p = 0.040; Partial n2 = 0.443) ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ค่าพลังสูงสุดเชิงแอนแอโรบิก ไม่แตกต่างกัน แต่ค่าสมรรถนะในการยืนระยะเชิงแอนแอโรบิกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เฉพาะของกลุ่มทดลอง โดยมีค่า (p = 0.002, Partial n2 = 0.692) จากข้อมูลที่ปรากฏ จึงสามารถสรุปได้ว่า วิธีการฝึกพลัยโอเมตริกร่วมกับการฝึกวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดแบบแรงต้านสามารถพัฒนาความเร็ว และ สมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิกให้เพิ่มมากขึ้นได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10060
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59910197.pdf3.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น