กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10054
ชื่อเรื่อง: กลวิธีการแปลหน่วยสร้างประโยคเน้นส่วนในพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Trnsltion strtegies of focus clusl constructions in the immigrtion ct from thi into english
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณัฐภัทร พัฒนา
พิสินี เจียมสถิตย์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: ภาษาไทย -- การแปล
ภาษาอังกฤษ -- การแปล
ภาษาไทย -- การแปลเป็นภาษาอังกฤษ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยเรื่องกลวิธีการแปลหน่วยสร้างประโยคเน้นส่วนในพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างหน่วยเน้นส่วนในภาษาอังกฤษที่ผู้แปลเลือกใช้แทนโครงสร้างหน่วยเน้นส่วนชนิดต่าง ๆ ในภาษาไทย และเพื่อศึกษากลวิธีการแปลหน่วยสร้างเน้นส่วนชนิดต่าง ๆ จากต้นฉบับภาษาไทยเป็นฉบับแปลภาษาอังกฤษที่ปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ฉบับตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2563 จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สูตรไพศาล ผลการวิจัยพบว่า ในการแปลหน่วยสร้างเน้นส่วนในตัวบทพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษนั้น โดยทั่วไปพบว่า ผู้แปลใช้กลวิธีการแปลหลัก 3 กลวิธี ได้แก่ 1. การแปลแบบเสรี โดยไม่จำกัดอยู่ที่หน่วยสร้างชนิดใด พบในอัตราส่วนร้อยละ 39.17 2. การแปลแบบตรงตัวโดยใช้หน่วยสร้างเน้นส่วนที่เป็นชนิดเดียวกันกับภาษาต้นฉบับมาเป็นคู่เทียบ พบในอัตราส่วนร้อยละ 36.66 และ 3. การแปลแบบสื่อความโดยใช้หน่วยสร้างเน้นส่วนด้วยกันแต่ไม่จำกัดชนิดในภาษาอังกฤษมาเป็นคู่แปลพบในอัตราส่วนร้อยละ 24.17 และมีการใช้หน่วยสร้างเน้นส่วนทั้งหมด 4 ชนิดที่ปรากฎพบโดยเฉลี่ยในภาษาฉบับแปล โดยหน่วยสร้างเน้นส่วนรูปแบบ Passive construction ปรากฏมากที่สุด พบในอัตราส่วนร้อยละ 46.57 รองลงมาคือ หน่วยสร้างเน้นส่วนรูปแบบ Fronting/ Y-movement Construction พบในอัตราส่วนร้อยละ 24.66 และหน่วยสร้างเน้นส่วน Cleft Construction พบในอัตราส่วนร้อยละ 6.85
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10054
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58920284.pdf6.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น