Abstract:
วัตถุประสงค์
1. พัฒนากระบอกสุญญากาศประดิษฐ์เองเพื่อใช้กับแผลผ่าตัดของผู้ป่วย
2. ศึกษาประสิทธิผลของการใช้งานกระบอกสุญญากาศประดิษฐ์เองกับแผลผ่าตัดของผู้ป่วย
วิธีดําเนินการวิจัย
การพัฒนากระบอกสุญญากาศ รุ่น 1
เป็นขวดแก้วขนาดบรรจุ 50 ซีซี ประกอบกับสายยางระบาย และท่ออลูมิเนียมขนาดเล็ก
เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 มิลลิเมตร เชื่อมต่อระหว่างสายยางระบาย และขวดแก้วผ่านการทําให้ปราศจาก
เชื้อได้ด้วยวิธีนึ่งด้วยไอน้ํา (Autocave) และวิธีอบแก๊สเอทธิลีนออกไซด์ (Ethylene Oxide Gas )
ผลการทบสอบยังพบข้อบกพร่องคือ ไม่มีตัวชี้วัดว่าภายในขวดยังมีระบบสุญญากาศอยู่ มีจุดรอยรั่วบริเวณ
ตําแหน่งรอยต่อที่แทงท่ออลูมิเนียมกับจุกยางขวด มีความยุ่งยากในการแยกส่วนประกอบเพื่อการทําให้
ปราศจากเชื้อ เนื่องจากต้องใช้วิธีนึ่งด้วยไอน้ําสําหรับขวดแก้วและการอบแก๊สสําหรับสายยางระบายท่อ
อลูมิเนียมขนาดเล็กหาซื้อยาก ขวดแก้วมีน้ําหนักมากเกินไปอาจทําให้สายยางระบายเลื่อนหลุดได้ อ่านปริมาณ
ของสิ่งคัดหลั่งไม่ได้ ต้องใช้วิธีประมาณการ ขวดแก้วทําความสะอาดได้ไม่ทั่วถึง สายยางระบายมีขนาดเล็ก
เกินไป อาจทําให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้
การพัฒนากระบอกสุญญากาศ รุ่น 2
ลักษณะเป็นภาชนะพลาสติกทรงกระบอก(Syring) ขนาดบรรจุ 50 ซีซี ประกอบกับสายยางสําหรับ
ระบาย (Feeding Tube No.8/10) ด้านบนตัวกระบอกครอบด้วยแผ่นยาง (ถุงมือผ่าตัด)รัดด้วยเข็มขัด
พลาสติก ผ่านการทําให้ปราศจากเชื้อด้วยวิธีอบแก๊สเอทธิลีนออกไซด์ ทดสอบประสิทธิภาพหลังทําให้
ปราศจากเชื้อในด้านความปลอดภัยและปราศจากเชื้อด้วยแถบตรวจสอบเคมีภายในหีบห่อ
(Chemical Indicator Strip) เทปตรวจสอบทางเคมีภายนอก (Indicator Tape for Ethylene
Oxide Sterilization) และการเพาะเลี้ยงเชื้อใน Trypticase Soy Broth และ Trypticase Soy Agar ที่ 37
องศาเซลเซียส พบเชื้อที่บริเวณข้อต่อกระบอกสุญญากาศ เมื่อทดสอบการใช้งานพบว่ายังมีข้อบกพร่องคือ
ความยุ่งยากในการล้าง
ทําความสะอาด เสี่ยงต่อการติดเชื้อ แผ่นยางที่ทําจากถุงมือผ่าตัดที่ใช้แล้วจะสูญเสียความยืดหยุ่น มี
โอกาสแตก ฉีกขาดถ้าถูกยืดมากๆ(ขณะหวําเพราะการทําสุญญากาศ)และเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อ ลิ่มเลือด
อาจตกค้างอยู่ในสายยางระบายหากมีความยาวมากเกินไป
การพัฒนากระบอกสุญญากาศ รุ่น 2
พัฒนาจากกระบอกสุญญากาศรุ่น 2 โดยกระบอกพลาสติกและแผ่นยางเป็นวัสดุใหม่ เพิ่มแผ่นยาง
ครอบ 2 ชั้น ชั้นในเป็นตัวบ่งชี้การทํางานของกระบอก ชั้นนอกป้องกันแผ่นยางชั้นในหวําจนอาจแตกหรือขาด
การทดสอบประสิทธิผลกระบอกสุญญากาศก่อนทําให้ปราศจากเชื้อในด้านความสามารถการดูดของเหลว
พบว่าถ้าใช้ระดับแรงดันสุญญากาศน้อยการดูดของเหลวก็จะน้อย ระดับแรงดันสุญญากาศที่มากกว่า 300
มิลลิเมตรปรอท อาจทําให้แผ่นยางฉีกขาดได้ การทดสอบประสิทธิภาพหลังทําให้ปราศจากเชื้อในด้านความ
ปลอดภัยและปราศจากเชื้อ ไม่พบการเจริญของเชื้อหรือเชื้อที่เกิดใหม่
การทดลองใช้
ใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดครั้งเดียว กลุ่มตัวเป็นผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการ
ผ่าตัด ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา, ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม
บรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
และโรงพยาบาลอ่าวอุดม เก็บรวบรวมข้อมูลในผู้ป่วยที่มีขนาดแผลผ่าตัดไม่เกิน 12 เซนติเมตร หรือ 5 นิ้ว
ผิวหนังหรือบาดแผลบริเวณที่จะทําผ่าตัดเป็นผิวหนังหรือบาดแผลที่ไม่มีลักษณะของการติดเชื้อ ไม่มีโรค
ประจําตัวหรือ โรคติดต่อ และยินดีให้ความร่วมมือ จํานวน 30 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล
การใช้กระบอกสุญญากาศประดิษฐ์เองกับแผลผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย
กระบอกสุญญากาศประดิษฐ์เองมีประสิทธิผลในการดูดสิ่งคัดหลั่งจากแผลผ่าตัดอยู่ในระหว่าง 3-50
มิลลิลิตร (ซีซี) เฉลี่ย 21.53 มิลลิลิตร (ซีซี) ส่วนใหญ่ไม่มีสิ่งคัดหลั่งเหลือค้าง และไม่ทําให้แผลผ่าตัดติดเชื้อ
ซึ่งพบว่าได้ผลใกล้เคียงกับการใช้ขวดสุญญากาศที่สั่งซื้อจากบริษัท
ข้อเสนอแนะ
1. ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดและมีแผลผ่าตัดขนาดเล็ก โดยไม่จํากัดว่าเป็นการผ่าตัดทางด้าน
ออร์โธปิดิกส์เท่านั้น หากแพทย์ประเมินว่าควรมีการระบายสิ่งคัดหลั่งจากแผลผ่าตัดในปริมาณที่ไม่มากควร
สนับสนุนให้ใช้กระบอกสุญญากาศที่ประดิษฐ์เอง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ป่วยและโรงพยาบาล
2. ควรมีนโยบายส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาและใช้สิ่งประดิษฐ์/นวัตกรรมที่ผลิตจากวัสดุหาง่าย
มีประสิทธิภาพ ราคาไม่แพง เพื่อทดแทนอุปกรณ์ราคาแพง เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ป่วย
การนําไปใช้ประโยชน์
กระบอกสุญญากาศประดิษฐ์เอง รุ่นที่ 3 ได้ถูกนําไปใช้กับผู้ป่วยผ่าตัดที่แพทย์ประเมินว่าต้องมีการ
ระบายสิ่งคัดหลั่งจากแผลผ่าตัด ซึ่งมีขนาดเล็กไม่เกิน 12 เซนติเมตร ณ ห้องผ่าตัดและแผนกอุบัติเหตุและ
ฉุกเฉิน