DSpace Repository

การพัฒนาการผลิตสารออกฤทธิ์ชีวภาพจากแอคติโนมัยซีทและการผลิตเซลล์ปริมาณมาก

Show simple item record

dc.contributor.author รัตนาภรณ์ ศรีวิบูลย์
dc.contributor.author จันทร์จรัส วัฒนะโชติ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:09:59Z
dc.date.available 2019-03-25T09:09:59Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1951
dc.description.abstract จากการเก็บตัวอย่าง ดินตะกอนป่าชายเลน และจากฟองน้ำทะเล จำนวน 4 ครั้ง ในจังหวัดนครศรีธรรมราช 1 ครั้ง จังหวัดชุมพร 2 ครั้ง และจังหวัดระยอง 1 ครั้ง มาแยกเชื้อหาแอคติโนมัยซีทเพิ่มเติมได้แอคติโนมัยซีท รวมทั้งหมด 111 ไอโซเลท โดยพบว่าแอคติโนมัยซีทที่ได้แยกได้ตะกอนป่าชายเลน จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 52 ไอโซเลต เป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายของชนิด และสามารถให้สารออกฤทธิ์ยับยั้งจุลินทรีย์มากที่สุด (27 ไอโซเลท) คิดเป็น 51.92% ในขณะที่แอคติโนมัยที่ได้จากตะกอนป่าชายเลน จังหวัดระยอง จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นป่าชายเลนที่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเล รวมทั้งที่แยกได้จากฟองน้ำ บริเวณเกาะหลก จังหวัดชุมพร ไม่ค่อยพบว่า มีสารออกฤทธิ์ยับยั้งจุลินทรีย์ จากการทดสอบเบื้องต้น ด้วยวิธี cross streak อย่างไรก็ดี ทั้ง 4 บริเวณ มีแอคติโนมัยซีทที่สร้างรงควัตถุที่สามารถนำมาทดสอบฤทธิ์ชีวภาพอย่างอื่น ๆ ได้อยู่บ้าง ผลจากการศึกษาทางสัณฐานวิทยาและการวิเคราะห์ผนังเซลล์ทางเคมี โดยตรวจสอบชนิดของกรดไดอะมิโนไพมิลิค และนำตาลที่มีอยู่ในเซลล์ทั้งหมด พบว่าแอคติโนมัยซีทที่พบจากป่าชายเลนจังหวัดนครศรีธรรมราช ค่อนข้างมีความหลากหลาย ส่วนที่พบจากจังหวัดระยอง ชุมพร รวมทั้งเกาะหลกนั้นอยู่ในแฟมิลี่ Micromonosporaceae เป็นส่วนใหญ่ โดยจีนัสที่พบได้แก่ Micromonospora, Salinispora, Spirilliplanes, และ Virgisporangium เป็นต้น และจากการคัดเลือกแอคติโนมัยซีทที่สร้างสารแอนติไบโอติกที่ดี และมีสารต้านอนุมูลอิสระ จำนวน 6 สายพันธุ์ คือ CH54-8, A3-3, CP-PH 3-2, CP-PH 3-12, CH8-4A และ RY 2-20 มาปรับปรุงสายพันธุ์ ด้วยการเหนี่ยวนำด้วยแสงอุลตราไวโอเลต เป็นเวลา 15, 20 และ ที่ 25 นาที และคัดเลือกเฉพาะโคโลนีที่วสร้างสารมากกว่าโคโลนีอื่น ๆ ออกมาทดสอบการเลี้ยงปริมาณมาก และสกัดสารออกฤทธิ์ที่สร้างขึ้นมาเปรียบเทียบกับปริมาณของสารสกัดสายพันธุ์ดั้งเดิมที่ไม่ผ่านแสงอัลตราไวโอเลต พบว่าส่วนมากแล้วแต่ละสายพันธุ์มีการสรา้งสารออกฤทธิ์ได้มากขึ้น แต่ไม่มากนัก ยกเว้น แอคติโนมัยซีท RY 2-20 ที่สร้างสารลดลง อย่างไรก็ดี พบว่า แอคติโนมัยซีท CP-PH3-12 เป็นสายพันธุ์ที่สามารถสร้างสารที่สกัดได้ทั้งจากภายในเซลลื และที่สร้างออกมาในอาหารเลี้ยงเชื้อ มากขึ้นกว่าเดิม 6 เท่า และ 2 เท่า ตามลำดับหลังจากที่ได้เหนี่ยวนำด้วยแสงอัลตราไวโอเลต สำหรับมารีนยีสต์ BS 6-2 และ AS1-8 ซึ่งจำแนกชนิดได้เป็น Pichia sp. และ Rhodotorula mucilaginosa พบว่า การเลี้ยงเพื่อเพิ่มปริมาณเซลล์ และการสร้างกรดไขมันที่มีคุณค่าทางอาหารได้ดีในอาหารธรรมชาติ ที่มีมันฝรั่งหริือข้าวโพด เป็นส่วนประกอบกว่าการเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ หรืออาหารมที่เตรียมจากวัสดุเหลือใช่จากการเกษตรอื่น ๆ th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ 2558 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject จุลินทรีย์ th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.subject แอคติโนมัยซีท th_TH
dc.title การพัฒนาการผลิตสารออกฤทธิ์ชีวภาพจากแอคติโนมัยซีทและการผลิตเซลล์ปริมาณมาก th_TH
dc.title.alternative Developmental production of bioactive compounds from actinomycetes and cell mass production en
dc.type Research
dc.author.email janjarus@buu.ac.th
dc.year 2559
dc.description.abstractalternative Four times samples collections of mangrove sediments, once in Nakhon Si-Thamarat province, twice in Chumporn province and once in Rayong province to isolate for more actinomycetes, a total of 111 isolates were discovered, It was found that actinomycetes isolated from Nakhon SI-Thamarat mangrove sediments, 52 isolates and 51.92% of these were able to inhibit the tested microbial strains. Whwreas the actinomycetes isolated from Rayong mangrove and Chumporn mangrove in which the areas were connected to the sea were rarely shown antimicrobial activity by a preliminary cross streak method. However, all the 4 areas inhabitant some pigmented actinomycetes which were able to find for some other bioactive compounds. By the study of morphological and wall chemical analysis of diaminopimelic acids and sugar pattern in the whole-cell hydrolysates, it was found that actinomycetes from Nakhon Si-Thamarat mangrove were rather diverse whereas those from Rayong and Chumporn mangroves, including Loke lsland were mainly in family Micromonosporaceae which dominant genera were Micromonospora, Salinispora, Spirilliplanes and Virgisporangium. Actinomycetes strains which produced a strong antimicrobial activity and showed interesting antioxidant property were selected to expose to ultraviolet light for 15, 20 and 25 min: CH 54-8, A3-3, CP-PH 3-2, CP-PH 3-12, CH8-4A, and RY 2-20. The colonies which showing a prominent bioactive compound more than any other colonies were picked up to culture in mass culture medium. The extracts of bioactive compounds were comparing to those original strains which unexposed to UV light. It was found that most strains which exposed to UV could produce higher amount of bioactive compounds except stain RY 2-22 in which the production was reduced. However, strain CP-PH 3-12 appeared to produce the active compounds 6 times higher amount within cells and twice amount into the culture medium more than the original unexposed strain did en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account