กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9291
ชื่อเรื่อง: ผลของการเสริมไคโตซานในอาหารกุ้งต่อการเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย การลอกคราบ และการสนองตอบต่อภูมิคุ้มกันกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei) ที่ความเค็มน้ำ 3 ระดับ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of dietary chitosan supplementation in pellet feed on growth performance, survival rate, molting and immune response of pacific white shrimp (Litopenaeus vannamei) at 3 salinity levels
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญรัตน์ ประทุมชาติ
สกนธ์ แสงประดับ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: กุ้งขาวแวนนาไม - - การเลี้ยง
วัตถุเจือปนในอาหาร
อาหารเสริม
กุ้งขาวแวนนาไม - - การเจริญเติบโต
กุ้งขาวแวนนาไม - - อาหาร
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ผลของการเสริมไคโตซานในอาหารร่วมกับความเค็มต่อการเจริญเติบโต อัตรารอด ความถี่ของการลอกคราบ การเปลี่ยนแปลงทางสรีระเคมีและการสนองตอบต่อภูมิคุ้มกันของกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) ซึ่งได้วางแผนการทดลองแบบแฟคทอเรียล (factorial) ตามอาหารที่มีการเสริมไคโตซาน 0.2 % และไม่เสริมไคโตซาน (ชุดควบคุม) ร่วมกับความเค็ม 3 ระดับ (10, 23 และ 36 ppt) ทา 4 ซ้ำ โดยเลี้ยงกุ้งขาวขนาด 3.18±0.08 กรัม ความยาว 7.61±0.34 เซนติเมตร ให้อาหารทดลองที่มีโปรตีน 36%ให้อาหารอัตรา 5% ของน้ำหนักตัวต่อวัน แบ่งให้วันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ตรวจสอบพารามิเตอร์การเจริญเติบโต อัตรารอด อัตราแลกเนื้อ (FCR) ความถี่ในการลอกคราบ ระยะเวลาที่ต้านการสลบจากการทดสอบความเครียด (ARP) ปริมาณเม็ดเลือดรวม (THC) ระยะเวลาที่เลือดแข็งตัว (CP) ความเข้มข้นของอิออน (ion) โซเดียม (Na) โพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) ฟอสฟอรัส (P) แมงกานีส (Mn) ทองแดง (Cu) ซัลเฟอร์ (S) คลอไรด์ (Cl) ของพลาสมาและเปลือกกุ้ง ความเข้มข้นโปรตีนรวมในพลาสมา ปริมาณไคติน (Chitin) และไคโตซาน (Chitosan) ในเปลือก ผลการทดลอง พบว่ากุ้งขาวที่เลี้ยงด้วยอาหารที่เสริมไคโตซาน 0.2% มี % น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น (%WG) และ% ความยาวที่เพิ่มขึ้น (%LG), ARP และโปรตีนในพลาสมา และ Mg ในเปลือกสูงกว่า FCR ต่ำกว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารชุดควบคุม (p<0.05) ขณะที่พารามิเตอร์อื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน (p>0.05) เมื่อพิจารณาผลของความเค็มปัจจัยเดียวพบว่า กุ้งที่เลี้ยงในน้ำความเค็ม 36 ppt มีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นต่อวัน (ADG), %WG และ %LG สูงกว่าที่กุ้งเลี้ยงใน 10 ppt และ 23 ppt (p<0.05) ขณะที่กุ้งที่เลี้ยงในน้ำความเค็ม 10 ppt มีอัตรารอดต่ำ (p<0.05) และ FCR สูงกว่า (p<0.05) อีก 2 ระดับความเค็ม ARP นานขึ้นเมื่อเลี้ยงกุ้งในน้าความเค็มต่ำลง (p<0.05) ความเค็มที่สูงขึ้นส่งผลให้ความเข้มข้นของโปรตีน Mg และ THC ในเลือดสูงขึ้น (p<0.05) กุ้งที่เลี้ยงในความเค็ม 23 ppt พบ Ca ในเปลือกสูงกว่ากุ้งที่เลี้ยงใน 36 ppt และพบ Mgสูงกว่ากุ้งใน 36 ppt กับ 10 ppt (p<0.05) ขณะที่พบ Mn ในเปลือกกุ้งสูง (p<0.05) เมื่อเลี้ยงในน้าความเค็ม 36 ppt เมื่อพิจารณาผลร่วมของการเสริมไคโตซานและความเค็มในการเลี้ยงกุ้ง พบว่าอัตรารอดของกุ้งกลุ่มที่เลี้ยงในความเค็ม 23 ppt และ 36 ppt และให้อาหารที่ผสมไคโตซานมีค่าสูงกว่า (p<0.05) กุ้งชุดที่เลี้ยงใน 10 ppt ทั้ง 2 กลุ่ม ARP ของกุ้งกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมไคโตซานมีค่าสูงกว่าชุดที่ให้อาหารชุดควบคุม (p<0.05) ทั้งในความเค็ม 10 ppt และ 23 ppt ขณะที่ไม่มีค่าแตกต่างกันที่ 10 ppt (p>0.05) FCR เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มอาหารของแต่ละระดับความเค็มไม่แตกต่างกัน (p>0.05) แต่กุ้งทุกกลุ่มที่เลี้ยงในความเค็ม 23 ppt และ 36 ppt มีค่า FCR ต่ากว่า (p<0.05) กุ้งทั้ง 2 กลุ่มที่เลี้ยงในความเค็ม 10 ppt ค่าโปรตีนในพลาสมาของกุ้งกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมไคโตซานมีค่าสูงกว่า (p<0.05) ชุดที่ให้อาหารควบคุม ทั้งในความเค็ม 10 ppt และ 36 ppt และ ค่า THC ของกุ้งกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมไคโตซานมีค่าสูงกว่า (p<0.05) ชุดที่ให้อาหารควบคุม ที่ความเค็ม 36 ppt
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9291
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2567_020.pdf2.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น