กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/903
ชื่อเรื่อง: การเก็บรักษาถุงน้ำเชื้อกุ้งขาวและน้ำเชื้อปลาดุกอัฟริกันแบบแช่แข็ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Cryopreservation of white shrimp (Litopenaeus vannamei) spermatophore and african catfish (Clarias gariepinus) milt
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: กุ้งขาว - - การขยายพันธุ์
น้ำเชื้อ - - การเก็บและรักษา
น้ำเชื้อแช่แข็ง
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาวิธีการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลากระพงขาวด้วยวิธีการแช่แข็ง ได้ศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาการเก็บรักษาน้ำเชื้อแบบแช่แข็ง โดยได้ศึกษาคุณภาพน้ำเชื้อปลา ศึกษาผลของสารไครโอโพรเทคแทนท์ต่อการเคลื่อนที่สเปิร์ม ศึกษาการพัฒนาวิธีการแช่แข็งน้ำเชื้อด้วยวิธีการต่างๆกัน ศึกษาผลของระยะเวลาการเก็บรักษาน้ำเชื้อแช่แข็งที่มีต่อคุณภาพสเปร์มและประเมินความสามรถในการปฏิสนธิกับไข่ของน้ำเชื้อแช่แข็ง พบว่า น้ำเชื้อปลากระพงขาวในช่วงฤดูผสมพันธุ์วางไข่มีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพบางประการ โดยค่าความหนาแน่นของสเปิร์มมีค่าสูงสุดในช่วงฤดูผสมพันธุ์วางไข่ ในขณะที่การเคลื่อนที่ของสเปิร์ม และเปอร์เซนต์การมีชีวิตของสเปร์มมีค่าไม่แตกต่างกันในช่วงฤดูผสมพันธุ์วางไข่ การทดสอบความเป็นพิษของสารไครโอโพรเทคแทนท์ชนิดต่างๆ 10 ชนิด (propylene glycol, acetamide, glycerol,formamide, ethylene glycol, DMSO, ethanol, sucrose,trehalose, methanol) ที่ความแข้มข้นสุดท้าย 4 ระดับ (5% , 10%, 15% และ 20%) ที่เวลา 0, 15, 30, 45 , 60, 120, 150 และ 180 นาที ที่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของสเปิร์มปลากระพงขาวปรากฏว่า propylene glycol, acetamide และ DMSO มีความเหมาะสมในการนำมาแช่แข็งน้ำเชื้อปลากระพงขาว แต่เมื่อนำไปแช่แข็งน้ำเชื้อปลากระพงขาวปรากฏว่า DMSO ให้ผลดีที่สุดเพราะสเปิร์มมีการเคลื่อนที่หลังการละลาย (post-thow sperm motility) สูงสุด การแช่แข็งน้ำเชื้อปลากระพงขาวได้พัฒนาทั้งรูปแบบการใช้เครื่องมือลดอุณหภูมิอัตโนมัติ (controlled-rate programmable freezer) และการแช่แข็งอย่างง่ายๆในถังโฟม (simple crypreservation) ภายในหลอดฟาง (French straw) ขนาด 0.25 มิลลิลิตร โดยพบว่าการแช่แข็งด้วยเครื่องมือลดอุณหภูมิอัตโนมัติได้ผลดีที่สุดเมื่อใช้ในอัตราลดอุณหภูมิ -10 C/นาทีในขณะที่การแช่แข็งอย่างง่ายไห้ผลดีที่สุดเมื่อแช่แข็งน้ำเชื้อเหนือผิวหน้าไนโตรเจนเหลว 4 เซนติเมตร การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถเก็บรักษาน้ำเชื้อปริมาณมากขึ้นได้แช่แข็งน้ำเชื้อในหลอดฟาง ขนาด 0.25 และ 0.5 มิลลิลิตร และหลอดไครโอไวออล (cryovial) ขนาด 2 มิลลิลิตร ด้วยการใช้เครื่องมือลดอุณหภูมิอัตโนมัติทำการลดอุณหภูมิด้วยอัตรา – 10 C/นาทีก่อนนำไปเก็บรักษาในไนโตรเจนเหลว พบว่าน้ำเชื้อแช่แข็งที่เก็บรักษาในหลอดฟางขนาด 0.5 ซีซี และหลอดไครโอไวออลขนาด 2 ซีซี มีผลทำให้เปอร์เซนต์การเคลื่อนที่ของสเปิร์มหลังการละลาย (post-thaw sperm motility) มีค่าประมาณ 70% ในขณะที่น้ำเชื้อที่เก็บรักษาในหลอดฟางขนาด 0.25 ซีซี มีค่าประมาณ 25% หลังจากการเก็บรักษาผ่านไป3 เดือน การศึกษาความสามารถในการปฏิสนธิกับไข่ด้วยน้ำเชื้อแช่แข็ง พบว่าน้ำเชื้อแช่แข็งมีความสามารถในการสนธิกับไข่ได้ไม่แตกต่างจากการใช้น้ำเชื้อในการผสมเทียม และให้ค่าเปอร์เซ็นต์การฟักของไข่ที่ไม่แตกต่างทางสถิติ (P>0.05) การศึกษาผลของระยะเวลาการเก็บรักษาน้ำเชื้อที่มีต่อคุณภาพสเปิร์มในระยะเวลา 6 เดือนพบว่าคุณภาพน้ำเชื้อแช่แข็งที่เก็บรักษาไว้นาน 6 เดือนมีคุณภาพไม่แตกต่างกับน้ำเชื้อสด เนื่องจากการเคลื่อนที่ และการมีชีวิตของสเปิร์มไม่แตกต่างกัน การศึกษาในครั้งนี้สามารถพัฒนาวิธีการแช่แข็งน้ำเชื้อปลากระพงขาวที่มีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเพาะพันธุ์ปละกระพงขาวได้ต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/903
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น