กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7985
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเชาวน์ปัญญาด้านดนตรีของนักเรียนระดับประถมศึกษาด้วยชุดกิจกรรมฝึกผิวปากเป็นเพลง : การศึกษาเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Enhncing musicl intelligenc mong primry school students with whistling song ctivities: behviorl nd eeg study
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พูลพงศ์ สุขสว่าง
รณชัย รัตนเศรษฐ
ชัยวัฒน์ สุมังคะละ
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: ดนตรี -- การทดสอบ
นักเรียนประจำ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
เชาวน์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบชุดกิจกรรมฝึกผิวปากเป็นเพลงสำหรับเพิ่มเชาวน์ปัญญาด้านดนตรีของนักเรียนระดับประถมศึกษา และศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 120 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง (ฝึกผิวปากเป็นเพลง) และกลุ่มเปรียบเทียบ (ฝึกเป่าขลุ่ย) กลุ่มละ 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดกิจกรรมฝึกผิวปากเป็นเพลงสำหรับเพิ่มเชาวน์ปัญญาด้านดนตรี แบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญาด้านดนตรี และเครื่องมือวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ชุดกิจกรรมฝึกผิวปากเป็นเพลงสำหรับเพิ่มเชาวน์ปัญญาด้านดนตรีของนักเรียนระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย กิจกรรม 2 ชุด จำนวน 20 กิจกรรม ฝึกวันละ 45 นาที เป็นเวลา 20 วัน 2) ระยะหลังการทดลอง กลุ่มที่ฝึกผิวปากเป็นเพลงและกลุ่มที่ฝึกเป่าขลุ่ยมีคะแนนเชาวน์ปัญญาด้านดนตรีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทั้ง 2 กลุ่ม ไม่พบความแตกต่างของคะแนนเชาวน์ปัญญาด้านดนตรีระหว่างเพศชายกับหญิง 3) คลื่นไฟฟ้าสมองของนักเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มที่ฝึกผิวปากเป็นเพลง พบความแตกต่างที่ย่านความถี่ Theta บริเวณสมองซีกขวา ณ ตำแหน่ง F4 ย่านความถี่ Alpha สมองซีกซ้าย ณ ตำแหน่ง F3 และสมองซีกขวา ณ ตำแหน่ง FC6, F8 และ AF4 ในขณะที่กลุ่มเป่าขลุ่ยไม่พบความแตกต่างของคลื่นไฟฟ้าสมอง 4) คลื่นไฟฟ้าสมองของนักเรียนระดับประถมศึกษา ระหว่างกลุ่มที่ฝึกผิวปากเป็นเพลงและกลุ่มที่ฝึกเป่าขลุ่ย พบความแตกต่างที่ย่านความถี่ Theta บริเวณสมองซีกขวา ณ ตำแหน่ง F4 และที่ย่านความถี่ Alpha บริเวณสมองซีกซ้าย ณ ตำแหน่ง F7 และสมองซีกขวา ณ ตำแหน่ง F4
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7985
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น