กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7467
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงคุณภาพดินที่ถูกขุดลอกจากท่าเรือแหลมฉบังเพื่อประยุกต์ใช้เป็นชั้นวัสดุกันซึมในบ่อฝังกลบขยะ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Improvementof dredged soil from lemchbng port for n ppliction s lndfill compcted cly liner
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณวรางค์ รัตนานิคม
ธนาภรณ์ ทองรูปพรรณ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
ขยะ -- การจัดการ
ดิน -- การดูดซึมและการดูดซับ
การฝังกลบขยะ
ดิน -- ไทย -- ท่าเรือแหมฉบัง (ชลบุรี)
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ชั้นดินกันซึมบดอัดในบ่อฝังกลบถูกใช้เพื่อป้องกันการไหลซึมของน้ำชะขยะลงสู่แหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำธรรมชาติข้างเคียง ดินที่เหมาะสมสําหรับใช้เป็นชั้นกันซึมจะต้องมีค่าสัมประสิทธิการซึมผ่านของน้ำไม่เกิน 1  10-9 m/ s ค่ากำลังอัดแกนเดียวไม่น้อยกว่า 200 kPa และค่าการหดตัวเชิงปริมาตรน้อยกว่า 4% งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาและปรับปรุงคุณภาพดินที่ถูกขุดลอกจากท่าเรือแหลมฉบังเพื่อประยุกต์ใช้เป็นชั้นวัสดุกันซึมในบ่อฝังกลบขยะ โดยแปรผันอัตราส่วนของดินที่ถูกขุดลอกต่อเถ้าลอยโดยน้ำหนักแห้งต่าง ๆ ได้แก่ 100: 0 และ 80: 20 และแปรผันระยะเวลาการบ่ม 0 7 และ 28 วัน และแบ่งการทดสอบออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ 1) ทดสอบหาคุณสมบัติทางดัชนี ได้แก่ ขีดพิกัดเหลว ขีดพิกัดพลาสติก ขนาดคละ ความถ่วงจําเพาะและองค์ประกอบทางเคมีโดยการทดสอบ XRF ของดินที่ถูกขุดลอกและเถ้าลอย 2) ทดสอบหาคุณสมบัติทางวิศวกรรมของดินที่ถูกขุดลอกผสมเถ้าลอย ได้แก่ การบดอัด ค่าสัมประสิทธิการซึมผ่านของน้ำ ค่ากำลังอัดแกนเดียว และค่าการหดตัวเชิงปริมาตร 3) สร้างกราฟแสดงขอบเขตที่ยอมรับได้ของชั้นดินกันซึมบดอัด 4) ศึกษาผลกระทบของสารเคมีในน้ำชะขยะต่อค่าสัมประสิทธิการซึมผ่านของน้ำและ 5) คํานวณหาค่าสัมประสิทธิการแพร่ประสิทธิผลและเวลาการไหลทะลุผ่านของสารเคมีต่าง ๆ ภายใต้ปรากฏการณ์การพาและการแพร่จากผลการศึกษาพบว่าดินที่ถูกขุดลอกสามารถใช้เป็นชั้นดินกันซึมในบ่อฝังกลบขยะได้โดยอัตราส่วนของดินที่ถูกขุดลอกต่อเถ้าลอยที่เหมาะสมที่สุด คือ 80: 20 ที่ระยะเวลาการบ่ม 28 วัน และค่าสัมประสิทธิการแพร่ประสิทธิผลของดินที่ถูกขุดลอกต่อเถ้าลอย 80: 20 ที่ซึมผ่านด้วย NaCl มีค่าเท่ากับ 3  10-5 cm2 / sec สําหรับพลังงานการบดอัดแบบสูงกว่ามาตรฐาน และมีค่าเท่ากับ 4.5  10-5 cm2 / sec สําหรับพลังงานการบดอัดแบบมาตรฐาน ตามลําดับ และเวลาการไหลทะลุผ่านประมาณ 30 ปี สําหรับพลังงานการบดอัดแบบสูงกว่ามาตรฐาน และประมาณ 2 ปี สําหรับพลังงานการบดอัดแบบมาตรฐาน และเมื่อซึมผ่านด้วย CaCl2 จะมีค่าเท่ากับ 1  10-5 cm2 / sec สําหรับพลังงานการบดอัดแบบสูงกว่ามาตรฐาน และมีค่าเท่ากับ 5  10-5 cm2 / sec สําหรับ พลังงานการบดอัดแบบมาตรฐาน ตามลําดับ และเวลาการไหลทะลุผ่านประมาณ 20 ปี สําหรับพลังงานการบดอัดแบบสูงกว่ามาตรฐาน และประมาณ 1 ปีสําหรับพลังงานการบดอัดแบบมาตรฐาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7467
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น