กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7467
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorวรรณวรางค์ รัตนานิคม
dc.contributor.authorธนาภรณ์ ทองรูปพรรณ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:58:58Z
dc.date.available2023-05-12T03:58:58Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7467
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractชั้นดินกันซึมบดอัดในบ่อฝังกลบถูกใช้เพื่อป้องกันการไหลซึมของน้ำชะขยะลงสู่แหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำธรรมชาติข้างเคียง ดินที่เหมาะสมสําหรับใช้เป็นชั้นกันซึมจะต้องมีค่าสัมประสิทธิการซึมผ่านของน้ำไม่เกิน 1  10-9 m/ s ค่ากำลังอัดแกนเดียวไม่น้อยกว่า 200 kPa และค่าการหดตัวเชิงปริมาตรน้อยกว่า 4% งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาและปรับปรุงคุณภาพดินที่ถูกขุดลอกจากท่าเรือแหลมฉบังเพื่อประยุกต์ใช้เป็นชั้นวัสดุกันซึมในบ่อฝังกลบขยะ โดยแปรผันอัตราส่วนของดินที่ถูกขุดลอกต่อเถ้าลอยโดยน้ำหนักแห้งต่าง ๆ ได้แก่ 100: 0 และ 80: 20 และแปรผันระยะเวลาการบ่ม 0 7 และ 28 วัน และแบ่งการทดสอบออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ 1) ทดสอบหาคุณสมบัติทางดัชนี ได้แก่ ขีดพิกัดเหลว ขีดพิกัดพลาสติก ขนาดคละ ความถ่วงจําเพาะและองค์ประกอบทางเคมีโดยการทดสอบ XRF ของดินที่ถูกขุดลอกและเถ้าลอย 2) ทดสอบหาคุณสมบัติทางวิศวกรรมของดินที่ถูกขุดลอกผสมเถ้าลอย ได้แก่ การบดอัด ค่าสัมประสิทธิการซึมผ่านของน้ำ ค่ากำลังอัดแกนเดียว และค่าการหดตัวเชิงปริมาตร 3) สร้างกราฟแสดงขอบเขตที่ยอมรับได้ของชั้นดินกันซึมบดอัด 4) ศึกษาผลกระทบของสารเคมีในน้ำชะขยะต่อค่าสัมประสิทธิการซึมผ่านของน้ำและ 5) คํานวณหาค่าสัมประสิทธิการแพร่ประสิทธิผลและเวลาการไหลทะลุผ่านของสารเคมีต่าง ๆ ภายใต้ปรากฏการณ์การพาและการแพร่จากผลการศึกษาพบว่าดินที่ถูกขุดลอกสามารถใช้เป็นชั้นดินกันซึมในบ่อฝังกลบขยะได้โดยอัตราส่วนของดินที่ถูกขุดลอกต่อเถ้าลอยที่เหมาะสมที่สุด คือ 80: 20 ที่ระยะเวลาการบ่ม 28 วัน และค่าสัมประสิทธิการแพร่ประสิทธิผลของดินที่ถูกขุดลอกต่อเถ้าลอย 80: 20 ที่ซึมผ่านด้วย NaCl มีค่าเท่ากับ 3  10-5 cm2 / sec สําหรับพลังงานการบดอัดแบบสูงกว่ามาตรฐาน และมีค่าเท่ากับ 4.5  10-5 cm2 / sec สําหรับพลังงานการบดอัดแบบมาตรฐาน ตามลําดับ และเวลาการไหลทะลุผ่านประมาณ 30 ปี สําหรับพลังงานการบดอัดแบบสูงกว่ามาตรฐาน และประมาณ 2 ปี สําหรับพลังงานการบดอัดแบบมาตรฐาน และเมื่อซึมผ่านด้วย CaCl2 จะมีค่าเท่ากับ 1  10-5 cm2 / sec สําหรับพลังงานการบดอัดแบบสูงกว่ามาตรฐาน และมีค่าเท่ากับ 5  10-5 cm2 / sec สําหรับ พลังงานการบดอัดแบบมาตรฐาน ตามลําดับ และเวลาการไหลทะลุผ่านประมาณ 20 ปี สําหรับพลังงานการบดอัดแบบสูงกว่ามาตรฐาน และประมาณ 1 ปีสําหรับพลังงานการบดอัดแบบมาตรฐาน
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
dc.subjectขยะ -- การจัดการ
dc.subjectดิน -- การดูดซึมและการดูดซับ
dc.subjectการฝังกลบขยะ
dc.subjectดิน -- ไทย -- ท่าเรือแหมฉบัง (ชลบุรี)
dc.titleการปรับปรุงคุณภาพดินที่ถูกขุดลอกจากท่าเรือแหลมฉบังเพื่อประยุกต์ใช้เป็นชั้นวัสดุกันซึมในบ่อฝังกลบขยะ
dc.title.alternativeImprovementof dredged soil from lemchbng port for n ppliction s lndfill compcted cly liner
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeLandfill compacted soil liners are used to prevent leachate leaks into the groundwater and surrounding water. A suitable soil to be used as the landfill liner must have hydraulic conductivity not more than 1  10-9 m/ s, unconfined compressive strength greater than 200 kPa, and volumetric shrinkage less than 4%. This research aimed to study the improvement of dredged soil from Laemchabang Port for an application as a landfill compacted clay liner. The ratios of dredged soil-fly ash mixture were 0 and 20% by total dry weight and 0, 7, and 28 days curing time. The investigation were 5 parts include 1) indexand chemical propertiesof dredged soil and fly ash (liquid limit, plastic limit, particle size analysis, specific gravity, and X-Ray Fluorescence Spectrometer (XRF)) 2) engineering properties of dredged soil-fly ash mixture (compaction, permeability, unconfined compressive strength, and volumetric shrinkage) 3) plots of overall acceptable zone of compacted dredged soil liner4) study of the effectsof leachate chemicalson hydraulic conductivity and 5) calculate the effective diffusion coefficient and breakthrough time under the advection and diffusion phenomena. Experimental results showed that the dredged soil can be used as a landfill liner if it was mixed 20% fly ash at 28 days curing time. The effective diffusion coefficient of the ratios of dredged soil-fly ash mixture was20% by total dry weight permeated with NaCl as 3  10-5 cm2 / sec for Modified Proctor and 4.5  10-5 cm2 / sec for Standard Proctor and breakthrough time of about 30 years for Modified Proctor and about 2 years for Standard Proctor respectively. While the effective diffusion coefficient of dredged soil-fly ash mixture permeated with CaCl2 as 1  10-5 cm2 / sec for Modified Proctor and 5  10-5 cm2 / sec for Standard Proctor and breakthrough time of about 20 years for Modified Proctor and about 1 year for Standard Proctor respectively.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธา
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น