กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7346
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมการดูแลแบบองค์รวมต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยจิตเภท
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of holistic cring progrm on self-cre behviors nd self-esteem mong ptients with schizophreni
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดวงใจ วัฒนสินธุ์
ชนัดดา แนบเกษร
ยุพาพรรณ์ มาหา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: ผู้ป่วยจิตเภท
ผู้ป่วยจิตเภท -- การดูแล
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภทเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยจิตเภทสามารถปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเองได้และมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองเพิ่มขึ้น การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพ่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลแบบองค์รวมต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบริการในคลินิกจิตเวช โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรจังหวัดปราจีนบุรีและมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 24 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ12 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการดูแลแบบองค์รวมด้วยวิธีการเยี่ยมบ้านเป็นรายบุคคล สัปดาห์ละครั้ง เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ครั้งละ 60-90 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติจากสถานบริการสาธารณสุขในชุมชน ประเมินพฤติกรรม การดูแลตนเองและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน ด้วยแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองและแบบประเมินความรู้สึก มีคุณค่าในตนเองที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .81 และ .83 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองกลุ่มวัดซ้ำ และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอร์โรนี ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองและความรู้สึกมีคุณค่า ในตนเองในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้น และระยะติดตามผล 1 เดือน สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .001 โดยกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองและความรู้สึกมีคุณค่า ในตนเองระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที (X = 66.50, SD = 3.83; X =33.83, SD = 3.51) และระยะติดตามผล 1 เดือน (X =68.75, SD = 3.11; X = 36.17, SD = 3.63) สูงกว่าระยะก่อนการทดลอง (X = 63.83, SD = 3.59; X =27.92, SD = 3.32) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.001 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการดูแลแบบองค์รวมสามารถเพิ่มพฤติกรรมการดูแลตนเองและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยจิตเภทได้ดังนั้น พยาบาลหรือบุคลากรทางด้านสาธารณสุขจึงควรนำโปรแกรมฯ ไปประยุกต์ใช้ในการเพิ่มความสามารถในการดูแลตนเองและคุณค่า ในตนเองของผู้ป่วยจิตเวชหรือผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มอื่น เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7346
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น