กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7302
ชื่อเรื่อง: การแสวงหาความรู้ภายใต้การภาวนา : กรณีศึกษากรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Methods of knowledge quiring under spiritul cultivtion :bA cse study on Phr Ajhn Mun bhuridtt ther medittion
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีวรรณ ยอดนิล
สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์
ทรงพล บุญสุข
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม
กรรมฐาน
วิปัสสนา
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
?d2414-2492
สมาธิ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาในการแสวงหาความรู้ภายใต้ การภาวนา กรณีศึกษา กรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต 2) ศึกษาวิธีการแสวงหาความรู้ภายใต้การภาวนา กรณีศึกษา กรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย เชิงคุณภาพ จากการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 30 รูปร่วมกับ การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัญหาการแสวงหาความรู้ภายใต้การภาวนา มี 3 ประการ คือ 1) การเจริญกรรมฐานไม่ถูกจริต 2) การเจริญกรรมฐานไม่ถูกวิธี เพราะเจริญวิปัสสนาล้วนโดยไม่มีสมาธิ และ 3) หลักธรรมที่ไม่เอื้อหนุนการเจริญกรรมฐาน คือ อาการสมาธิเสื่อม และวิปัสสนูปกิเลส 2. วิธีการแสวงหาความรู้ภายใต้การภาวนา ของกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ใช้การปฏิบัติแบบสมถปุพพังคมวิปัสสนาเป็นส่วนใหญ่ หรือสมถยานิก โดยใช้สมถกรรมฐาน คือ อานาปานสติกรรมฐานเป็นกองหลัก ร่วมกับกรรมฐานกองอื่น ๆ เช่น อสุภกรรมฐาน กายคตานุสติกรรมฐาน เป็นต้น และใช้วิธีม้างกายในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน โดยส่วนใหญ่ถอยกำลังจากอัปปนาสมาธิมาที่ระดับอุปจารสมาธิเพื่อพิจารณากาย เป็นการเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน 3. ข้อเสนอแนะต่อการนำไปปฏิบัติ คือ ทำสมาธิถึงระดับฌาน หลังจากนั้นเจริญวิปัสสนา
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7302
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น