กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6393
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อคอนโดมิเนียมของประชากรเขตพื้นที่บางนา กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The fctors ffecting condominium buying behviors of residents of bngn district, bngkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กฤช จรินโท
เทพฤทธิ์ สมบูรณ์ผล
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: อาคารชุด
อาคารชุด -- การตลาด
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก
พฤติกรรมผู้บริโภค -- การตัดสินใจ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อคอนโดมิเนียมของประชากรเขตพื้นที่บางนากรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามไปแจกให้กับกลุ่มตัวอย่างในเขตพื้นที่บางนา โดยได้แจกแบบสอบถามในเขตพื้นที่บางนาระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน พ. ศ. 2556 ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายโดยมีอายเุฉลี่ยอยรู่ ะหวา่ ง 32-49 ปี และมีสถานภาพสมรสแล้ว ระดับการศึกษาของผูต้อบแบบสอบถามอยู่ในระดับปริญญาตรี และประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน/ ห้างร้าน มีรายได้ต่อเดือน 60,001-80,000 บาท และมีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 3-4 คน และพบว่า PDB ที่แตกต่างกัน มีผลต่อ 3I Model ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) ระหว่างตัวแปรต้น คือ ภาพลักษณ์ด้านความน่าเชื่อถือ ภาพลักษณ์ ด้านบริษัทผู้ผลิตกับตัวแปรตามคือ 3I Model ได้แก่ อัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand identity), คุณค่าแท้จริงของแบรนด์ (Brand integrity) และภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ (Brand image) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.349 พบว่า ตัวแปรต้นและตัวแปรตามมีความสัมพันธ์กัน มีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R square) เท่ากับ 0.122 หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงของส่วนประกอบ PDB ในด้านภาพลักษณ์ ส่งผลต่อ 3I Model ร้อยละ 12.20 ส่วนค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เมื่อปรับแล้ว (Adjusted R squarer) เท่ากับ 0.119 และพบว่า 3I Model ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อคอนโดมิเนียมในเขตพื้นที่บางนาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) ระหว่างตัวแปรต้นคือคุณค่าแท้จริงของแบรนด์ อัตลักษณ์ของแบรนด์และภาพลักษณ์ของแบรนด์กับตัวแปรตามคือ พฤติกรรมการเลือกซื้อ คอนโดมิเนียมในเขตพื้นที่บางนา ซึ่งมีค่าเท่ากัย 0.313 พบว่า ตัวแปรต้นและตัวแปรตาม มีความสัมพันธ์กัน มีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R square) เท่ากัย 0.098 หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงของ Model ทางการตลาด 3I ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อคอนโดมิเนียม ในเขตพื้นที่บางนาร้อยละ 9.800 ส่วนค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เมื่อปรับแล้ว (Adjusted R squarer) เท่ากับ 0.091
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6393
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น