กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6286
ชื่อเรื่อง: ความต้องการสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสม็ด อำเภอเมืองชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The need for socil welfre mong senior citizens living in smed sub-district, mueng chonburi district, chonburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ
สามารถ รุ่งโรจน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ -- ชลบุรี
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
สวัสดิการผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการสวัสดิการผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสม็ด อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี และเพื่อเปรียบเทียบความต้องการสวัสดิการผู้สูงอายุ จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลครัวเรือน กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยในครั้งนี้คือผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ในเขตเทศบาลตำบลเสม็ด อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี จำนวน 270 คน โดยผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่(Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (  ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติ t-test และ One-way ANOVA และกรณีที่ ค่า Levene’s test ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดใช้ค่า Brown-forsythe และค่า Welch และการทดสอบความแตกต่าง รายคู่ด้วยวิธีการทดสอบ LSD ผลการศึกษาพบว่า โดยภาพรวมผู้สูงอายุมีความต้องการสวัสดิการอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ต้องการด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลเป็นอันดับแรกรองลงมาคือด้านนันทนาการ ด้านการสร้างบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุน ด้านความมั่นคงทางสังคม ครอบครัวผู้ดูแลและการคุ้มครอง ด้านรายได้ และด้านที่พักอาศัยผู้สูงอายุเป็นด้านที่ผู้สูงอายุต้องการเป็นลำดับสุดท้าย ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้สูงอายุที่มีสถานภาพสมรส ระดับการศึกษาที่ต่างกัน มีความต้องการสวัสดิการทั้งภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน แต่ผู้สูงอายุที่มีเพศต่างกัน มีความต้องการด้านรายได้ ด้านการสร้างบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้สูงอายุที่มีอายุต่างกัน มีความต้องการในภาพรวมและด้านรายได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้สูงอายุที่มีอาชีพต่างกัน มีความต้องการด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ด้านการสร้างบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้สูงอายุที่มีรายได้ ต่างกัน มีความต้องการในภาพรวมและด้านที่พักอาศัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้สูงอายุที่มีที่มาของรายได้ต่างกัน มีความต้องการด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ด้านความมั่นคงทางสังคม ฯ ด้านการสร้างบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้สูงอายุที่มีลักษณะที่พักอาศัยต่างกัน มีความต้องการด้านนันทนาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้สูงอายุที่มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวต่างกัน มีความต้องการด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้สูงอายุที่มีบุคคลที่ทำหน้าที่ดูแลต่างกัน มีความต้องการในภาพรวม และด้านรายได้ ด้านความมั่นคงทางสังคม ฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้สูงอายุที่มีภาระความรับผิดชอบเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัวต่างกัน มีความต้องการสวัสดิการทั้ง 6 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6286
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น