กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/416
ชื่อเรื่อง: การแพร่กระจายและการถ่ายทอดเชื้อไวรัสระหว่างกุ้งขาวกับกุ้งพื้นเมืองในลุ่มแม่น้ำบางปะกง (โครงการวิจัยปีที่ 2)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Distribution and transmission of virus diseases between litopenaeus vannamei and native shrimp species in Bangpakong watershed
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปภาศิริ บาร์เนท
วันศุกร์ เสนานาญ
จรัญ วงษ์วิวัฒนาวุธิ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: กุ้งขาว - - การเลี้ยง - - วิจัย
กุ้งขาว - - โรค
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ไวรัส - - วิจัย
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาในครั้งนี้เป็นการสำรวจไวรัสสามชนิด คือ Taura syndrome Virus (TSV), white Spot Syndrome Virus (WSSV) และ Yellow Heard Virus (YHV) ต่อเนื่องในปีที่ 2 แบ่งการสำรวจออกเป็นฤดูแล้งในปี 2005 (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) และฤดูฝน ปี 2006 (มิถุนายน-สิงหาคม) จากกุ้งพ่อแม่พันธุ์ที่จับจากธรรมชาติของอ่าวไทย และกุ้งพื้นเมือง ในแม่น้ำบางปะกง สำหรับการตรวจไวรัส TSV จะใช้เทคนิค RT-PCR ของชุดทดสอบ IQ2000TM TSV Detection and Prevention system ส่วน WSSV และ YHV ใช้เทคนิค Immuno dot blot ที่มี monoclonal antibody จำเพาะต่อ YHV และ WSSY ผลสรุปการสำรวจไวรัสในกุ้งพ่อแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำตลอดปีจากจำนวน 66 ตัว พบไวรัสชนิด TSV, WSSV และ YHV จำนวน 3, 16 และ 10 ตัว ตามลำดับ พ่อแม่พันธุ์กุ้งแชบ๊วย จำนวน 38 ตัว พบไวรัส TSV และ WSSV อย่างละ 1 ตัว และพ่อแม่พันธุ์กุ้งกุลาลาย จำนวน 1 ตัว ไม่พบไวรัสทั้งสามชนิด ผลการตรวจพบอัตราความชุกชุม (prevalence) ของไวรัสจากกุ้งธรรมชาติที่จับจากแม่น้ำบางปะกง ดังนี้ในช่วงฤดูแล้ง พบไวรัส TSV ในกุ้งขาว จากอำเภอเมืองจำนวน 26 ตัว จาก 47 ตัว และจากอำเภอบางคล้า จำนวน 6 ตัว จาก 44 ตัว รวมทั้งพบไวรัส WSSV และ YHV ด้วยส่วนกุ้งพื้นเมืองจำนวน 11 ชนิด สามารถพบไวรัสได้ทั้งสามชนิด ในช่วงฤดูฝน และพบการปนเปื้อนของไวรัส TSV ในกุ้งพื้นเมืองสูงมาก สอดคล้องกับการปนเปื้อนของไวรัส TSV จากกุ้งขาวในฤดูแล้งที่ผ่านมาเป็นที่น่าสังเกตว่า การพบกุ้งจากธรรมชาติไวรัส YHV ได้ทั้งสองฤดู สอดคล้องกับการระบาดในฟาร์กุ้งขาวเลี้ยงอย่างมาก ทำให้การเลี้ยงกุ้งขาวในฟาร์มขอองปี 2006 มีปัญหาการระบาดได้ทั้งสามชนิดผลการศึกษาในครั้งนีั้ชี้ให้เห็นถึงการแพร่กระจายของไวรัส TSV ต่อกุ้งท้องถิ่นของประเทศไทยหลายชนิดในแม่น้ำบางปะกง รวมทั้งพ่อแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำ และกุ้งแชบ๊วย จากธรรมชาติ และกุ้งขาวเองก็ยอมรับไวรัสท้องถิ่น (WSSV และ YHV) ของประเทศไทย ทั้งยังสำรวจพบไวรัส TSV ได้ในปูนา และปลากะพงขาวชี้ให้เห็นบทบาทของไวรัสต่างถิ่นนี้มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์แหล่งน้ำของประเทศไทยอย่างมาก การศึกษาการยอมรับและการตายของกุ้งขาวต่อไวรัส YHV และ WSSV โดยการฉีดและผ่านทางน้ำ ถูกเปรียบเทียบที่ความเค็ม 5 ppt และ 25 ppt พบว่า การฉีดก่อความรุนแรงให้เกิดการตายในกุ้งขาวของไวรัสทั้งสองชนิด ทุกความเจือจาง (1 ต่อ 100, 200 และ 500) ของปริมาณไวรัสและไม่ขึ้นกับความเค็มโดยทำให้กุ้งขาวเริ่มตายภายใน 24 ชั่วโมง และตายติดต่อกันภายใน 2-3 วัน ส่วนการอบรมรับเชื้อผ่านทางน้ำ พบว่า การยอมรับของกุ้งขาวต่อไวรัส YHY ได้เริ่มภายใน 48 ชั่วโมง กุ้งเริ่มตายภายใน 7 วัน และตายปริมาณ 100% ภายใน 6 วัน ที่ความเค็ม 5 ppt เมื่อเปรียบเทียบกับความเค็ม 25 ppt ใช้ระยะเวลา 8 วัน ส่วนการยอมรับและการตายของกุ้งขาวต่อไวรัส WSSV ที่ความเค็ม 5 ppt พบไวรัสในกุ้ง 72 ชั่วโมง กุ้งเริ่มตายภายใน 9 วัน และตายปริมาณ 100% ภายใน 5 วัน ส่วนที่ความเค็ม 25 ppt พบไวรัสในกุ้งภายใน 72 ชั่วโมง กุ้งเริ่มตายปริมาณ 100% ภายใน 9 วัน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/416
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น