กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3358
ชื่อเรื่อง: มาตรการทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหาการใช้อุปกรณ์สื่อสารขณะขับขี่ยานพาหนะ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal measures for solving the problems using of communication devices while driving or riding vehicles
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุกัญญา ยุพาพินท์
อุทัย อาทิเวช
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: กฎจราจร
การขับรถยนต์
สาขาสังคมวิทยา
โทรศัพท์เคลื่อนที่
วันที่เผยแพร่: 2559
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง มาตรฐานทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหาการใช้อุปกรณ์สื่อสารขณะขับขี่ยานพาหนะเป็นการวิจัยเชิงเอกสารที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงมาตรการลงโทษและการดำเนินคดีความผิดเกี่ยวกับกฎหมายห้ามใช้อุปกรณ์สื่อสารในขณะขับขี่ยานพาหนะตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2551 ตลอดจนสภาพปัญหาและข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น เพื่อหาแนวทางมาตรการต่าง ๆ ที่จะนำมาปรับปรุงแก้ไขให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของกฎหมาย และมีความทันสมัยต่อสภาพสังคมในปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการกระทำความผิดที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ในการวิจัยได้รวบรวมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายจราจรทางบก โดยเฉพาะบทบัญญัติกฎหมายหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการใช้อุปกรณ์สื่อสารขับขี่ยานพาหนะ จากนั้นจึงวิเคราะห์ปัญหาแล้วนำเสนอความคิดเบื้องต้นในการแก้ไขปัญหาการใช้อุปกรณ์สื่อสารขณะขับขี่ยานพาหนะ โดยมีการศึกษากฎหมายต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในประเด็นดังกล่าวอีกด้วย ผลการวิจัย พบว่า ความผิดสำหรับการใช้อุปกรณ์สื่อสารขณะขับขี่ยานพาหนะ ตามพระราชบัญญัติจราจรพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 นี้ เป็นความผิดลหุโทษซึ่งสามารถยุติได้ในชั้นเจ้าพนักงาน โดยการลงโทษปรับ ซึ่งการปรับตามความคิดนั้น มีจำนวนค่าปรับที่น้อยเกินไป จึงไม่สามารถช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ขับขี่ได้ ประกอบกับเนื้อหาของบทบัญญัตินี้ ยังไม่มีความชัดเจนและมีความครอบคลุมเพียงพอถึงเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากในบทบัญญัติดังกล่าวได้ระบุไว้เฉพาะโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่านั้น โดยไม่ได้กล่าวถึงอุปกรณ์สื่อสารชนิดอื่น ๆ เอาไว้ด้วย ซึ่งต้องยอมรับว่ารับการติดต่อสื่อสารในสังคมปัจจุบันนี้ไม่เป็นเพียงแค่การสนทนาผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่เพียงอย่างเดียว ยังมีการสนทนาด้วยการสนทนา (แชท) เป็นข้อความผ่านโปรแกรมต่าง ๆ ของอุปกรณ์สื่อสารบนอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีมาตรการลงโทษที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 161 วรรคสอง แต่ไม่ได้มีการนำมาใช้บังคับแต่อย่างใด คือวิธีการบันทึกคะแนนใบอนุญาตขับขี่ ซึ่งหากมีการนำมาตรฐานดังกล่าวมาใช้อย่างจริงจังก็จะสามารถช่วยลดปัญหาการละเมิดกฎหมายห้ามใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์สื่อสารชนิดอื่น ๆ ในขณะขับขี่ยานพาหนะได้มากขึ้น นับจนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 20 ปี ทีมีการบัญญัติมาตรฐานการลงโทษโดยการบันทึกคะแนนใบอนุญาตขับขี่ดังกล่าวขึ้นมา อีกทั้งยังไม่มีการนำมาใช้บังคบแต่อย่างใด
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3358
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
politic8n2p547-578.pdf670.71 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น