กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2038
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกตาลอ่อนกึ่งแห้งให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพมูลค่าสูง ด้วยวิธีการออสโมซิสในสภาวะสุญญากาศร่วมกับการทำแห้ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of intermediate moisture young palmyra (Borassus flabellifera) as high value functional food using vacuum osmotic dehydration combined with drying
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิชมณี ยืนยงพุทธกาล
สันทัด วิเชียรโชติ
ธีรารัตน์ อิทธิโสภณกุล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: การออสโมซิส
ลูกตาลอ่อน
สภาวะสุญญากาศ
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
อาหารสุขภาพ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: จากการศึกษาผลของการใช้สารละลายออสโมติกในรูปแบบสารละลายผสมระหว่างน้ำตาลมะพร้าว (0-60%) กับน้ำตาลโอลิโกฟรุกโตส (0-60%) ผลการทดลองพบว่ามีผลทำให้ค่าการถ่ายเทมวลสาร ได้แก่ ค่า WL SG และ WR รวมถึงคุณภาพของลูกตาลอ่อนหลังการออสโมซิสด้านปริมาณความชื้น ค่า aw ปริมาณน้้าตาลทั้งหมด ค่าสี และคะแนนความชอบทางประสาทสัมผัสด้านลักษณะปรากฏ ด้านสี และด้านเนื้อสัมผัส แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การใช้สารละลายผสมมีผลให้ค่า WL SG และ WR เพิ่มขึ้นมากกว่าการใช้สารละลายน้ำตาลโอลิโกฟรุกโตสเพียงอย่างเดียว เท่ากับ 1.29-11.57% 2.09-2.64% และ 8.66-8.93% ตามล้าดับ จากการศึกษาผลของความเข้มข้นของแคลเซียมแลคเตทและกรดแอสคอร์บิกร่วมกับการใช้สภาวะสุญญากาศในการออสโมซิส พบว่า อิทธิพลร่วมของทั้ง 3 ปัจจัยมีผลต่อ ค่า WR ปริมาณน้ำตาล ปริมาณวิตามินซี ค่าสี และค่าความแน่นเนื้อ (p<0.05) และพบว่าไม่มีอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อความชอบด้านสี และความชอบด้านลักษณะปรากฏ (p≥0.05) สิ่งทดลองที่เหมาะสมที่สุดคือการใช้แคลเซียมแลคเตท 2% และกรดแอสคอร์บิก 2% ร่วมกับการใช้สภาวะสุญญากาศ การเตรียมขั้นต้นด้วยการออสโมซิสลูกตาลอ่อนช่วยลดเวลาในการท้าแห้งด้วยลมร้อนลงได้ 80 นาที เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ผ่านการเตรียมขั้นต้น โดยพบว่าผลิตภัณฑ์ลูกตาลกึ่งแห้งที่ผ่านการออสโมซิสมีปริมาณน้ำตาลทั้งหมด (5.55g/100g) ปริมาณแคลเซียม (198.47mg/100g) และปริมาณวิตามินซี (966.38mg/100g) มากกว่าลูกตาลกึ่งแห้งที่ไม่ผ่านการออสโมซิส รวมถึงได้รับคะแนนความชอบโดยรวมมากกว่าอยู่ในระดับชอบปานกลาง (p<0.05) โดยมีความปลอดภัยสำหรับการบริโภคที่อุณหภูมิอุณหภูมิห้องและอุณหภูมิตู้เย็น เมื่อเก็บรักษาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ โดยลูกตาลกึ่งแห้งที่ผ่านการออสโมซิสได้รับความชอบโดยรวมมากกว่า 6 คะแนนขึ้นไป ตลอดเวลาการเก็บรักษา
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2038
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2563_041.pdf3.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น