กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1419
ชื่อเรื่อง: ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในน้ำส้มสายชูพันธุ์ต่าง ๆ หลังผ่านกระบวนการย่อยในหลอดทดลอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Antioxidant activity of some orange juices after in vitro digestion
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชัชวิน เพชรเลิศ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
อนุมูลอิสระ
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ปัจจุบันน้ำผลไม้ในตระกูลส้มได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเนื่องจากมีประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพ เพราะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น สารประกอบฟีนอล และฟลาโวนอยด์ เป็นต้น ซึ่งมีฤทธิ์ในการป้องกัน การเกิดโรคหัวใจและโรคมะเร็ง อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลที่เกี่ยวกับน้ำผลไม้ตระกูลส้มหลังผ่านกระบวนการย่อยอาหารแล้วจะส่งผลต่อสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพอย่างไรบ้าง ดังนั้นจุดประสงค์ของการศึกษานี้จึงทำขึ้นเพื่อตรวจสอบอิทธิพลของสถาวะการย่อยอาหารในร่างกาย ในปาก กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก เพื่อตรวจดูเสถียรภาพของสารต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระหลังจากการย่อยในหลอดทดลองของน้ำผลไม้ตระกูลส้ม น้ำผลไม้ในตระกูลส้มที่นำมาใช้ในการทดลองครั้งนี้ คือ น้ำส้มแมนดาริน น้ำส้มสายน้ำผึ้ง น้ำส้มโอ น้ำส้มเข้มข้น น้ำมะกรูด และน้ำมะนาว ในการประเมินผลใช้วิธีการตรวจสอบปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ในการต้านสารอนุมูลอิสระ โดยการหาปริมาณสารประกอบฟีนอลรวม ปริมาณฟลาโวนอยด์รวม และทดสอฤทธิ์ในการต้านสารอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ FRAP ทั้งก่อนและหลังการย่อย รวมทั้งฤทธิ์ในการกำจัดอนุมูลซูเปอร์ออกไซด์ ผลจากการทดสอบน้ำผลไม้ตัวอย่างก่อนการย่อยในหลอดทดลอง พบว่ามีปริมาณสารประกอบฟีนอลอยู่ในช่วง 0.32-0.09 มิลลิกรัมสมมูลกรดแกลลิกต่อมิลลิลิตรตัวอย่าง ปริมาณสารประกอบฟลาโวนอยด์รวมอยู่ในช่วง 2.38-9.80 มิลลิกรัมสมมูลเฮสเพอริดินต่อมิลลิลิตรตัวอย่าง ความสามารถในการยับยั้งอนุมูล DPPH อยู่ในช่วง 12.96-96.28% และมีความสามารถในการรีดิวซ์อยู่ในช่วง 0.08-5.52 มิลลิโมลาร์ต่อมิลลิลิตรตัวอย่าง หลังผ่านการย่อยในหลอดทดลองพบว่ามีปริมาณสารออกฤทธิ์และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระลดลง มีปริมาณสารประกอบฟีนอลอยู่ในช่วง 0.02-0.04 มิลลิกรัมสมมูล กรดแกลลิกต่อมิลลิลิตรตัวอย่าง ปริมาณสารประกอบฟลาโวนอยด์รวมอยู่ในช่วง 1.01-1.18 มิลลิกรัมสมมูลเฮสเพอริดินต่อมิลลิลิตรตัวอย่าง ความสามารถในการยับยั้งอนุมูล DPPH อยู่ในช่วง 24.68-72.85% และมีความสามารถในการรีดิวซ์อยู่ในช่วง 0.01-2.11 มิลลิโมลาร์ต่อมิลลิลิตรตัวอย่าง ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำส้มเข้มข้นมีฤทธิ์ในการยับยั้งอนุมูลซุปเปอร์ออกไซด์ได้ดีที่สุด ( = 0.25±6.41) Citrus fruit juices have taken great attention for their health benefits with high variety of antioxidants such as phenolic compounds and flavonoids, which have protective effects against heart disease and cancers. Nevertheless, very little informations are known about the antioxidant activity of citrus fruit juices during the digestion process. The aim of this study was to examine the influence of digestive condition in gastrointestinal system on the antioxidant capacities and antioxidant compounds of citrus fruit juices including mandarin, tangerine, pomelo, orange juice concentrate, leech lime and juices. The antioxidant activity and antioxidant compounds of some citrus fruit juices both before and after in vitro digestion were evaluated by DPPH scavenging activity, FRAP assay, total phenolic contents (TPC) and total flavonoid contents (TFC). Additionally, superoxide radical scavenging activity was also determined. The results revealed that before in vitro digestion the bioaccessible total phenolic content (0.32-0.09 mg GAE/mL), total flavonoid content (2.38-9.8 mg of hesperidin/mL) and antioxidant activity DPPH scavenging activity (12.96-96.28% inhibition), FRAP value (0.08-5.52 mM/mL). Although, antioxidant compounds and antioxidant activity before in vitro digestion have highest value but the results observed that after in vitro digestion decreased the antioxidant compounds total phenolic content (0.02-0.04 mg GAE/mL), total flavonoid content (1.01-1.18 mg of hesperidin/mL) and antioxidant activity DPPH scavenging activity (24.68-72.85% inhibition), FRAP value (0.01-2.11 mM/mL) (p<0.05). Moreover, we found that orange juice concentrate had the highest inhibitory effect against superoxide radical with = 0.25±6.41%. Thus, the present study can be concluded that digestive system effect to the bioaccessibility of citrus fruit juice.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1419
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น