DSpace Repository

การศึกษาศักยภาพ ปัญหา อุปสรรค และทิศทางการพัฒนาชุมชนเทศบาลเมืองและเทศบาลตำบลในภาคตะวันออกไปสู่การเป็นเมืองน่าอยู่

Show simple item record

dc.contributor.author สมชาย เดชะพรหมพันธุ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:45:47Z
dc.date.available 2019-03-25T08:45:47Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/90
dc.description.abstract 1. ภูมิหลังที่มาของการวิจัย 4 จังหวัดของภาคตะวันออกคือ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี มีการขยายตัวของการลงทุนทางอุตสาหกรรมพร้อมๆ กับการเจริญเติบโตของชุมชนเมืองอย่างรวดเร็ว ชุมชนเมืองะน่าอยู่หรือไม่ขึ้นอยู่กับ หน่วยงานกำกับดูแลพัฒนาชุมชนเมืองคือ เทศบาลเมืองและเทศบาลตำบลต่างๆ ซึ่งจะมีความแตกต่างหรือสอดคล้องกันในด้านศักยภาพ ปัญหาอุปสรรคทิศทางและจุดเน้นในการพัฒนาชุมชนเมืองไปสู่การเป็นเมืองน่าอยู่หรือไม่อย่างไร 2. จุดมุ่งหมาย เพื่อการศึกษาศักยภาพ ปัญหาอุปสรรค ทิศทางและจุดเน้นในการพัฒนาชุมชนเมืองในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลตำบล 12 แห่งใน 4 จังหวัดภาคตะวันออก ว่ามีความคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันอย่างไร เพื่อนำพาชุมชนเมืองไปสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ 3. ขอบเขตและวิธีการวิจัย 1. เมืองน่าอยู่จะพิจารณาจากองค์ประกอบ 5 ด้าน คือ ด้านการบริหารและการจัดการ กายภาพ สังคมสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ 2. กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย เทศบาลเมืองจังหวัดละ 4 แห่ง และเทศบาลตำบล 8 แห่งใน 4 จังหวัด ซึ่งประกอบด้วย เทศบาลเมืองจังหวัดละ1 แห่ง และเทศบาลตำบลจังหวัดละ 2 แห่ง 3. การเก็บข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์และกรอกแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่ม คือ ผู้บริหารทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานของเทศบาล ผู้บริหารเทศบาลละประชาชนในเขตเทศบาล 4. การจัดกระทำกับข้อมูลใช้วิธีการรวบรวมเชิงพรรณนาโวหารและสถิติร้อยละ 5. การนำเสนอผลการวิจัยโดยวิธีการพรรณนาโวหาร 4. ผลการศึกษา 1. ศักยภาพในการพัฒนาไปสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ ประกอบด้วย นโยบายเมืองน่าอยู่ของกระทรวงมหาดไทยและนโยบายเมืองน่าอยู่จังหวัด ผังเมือง (ขณะนี้มีการใช้กับเทศบาลเมืองแต่ยังไม่มีกับเทศบาลตำบล) ประสบการณ์ของผู้บริหาร พื้นฐานประวัติศาสตร์สำหรับบางเทศบาล 2. ปัญหาอุปสรรคการพัฒนาไปสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ คือแนวคิดเรื่องเมืองน่าอยู่ยังไม่ชัดเจนในระดับผู้บริหาร บุคลากรของเทศบาลและผู้นำชุมชน ยังไม่มีคณะกรรมการอำนวยการและคณะกรรมการดำเนินเรื่องเมืองน่าอยู่ การประสานงานข้ามฝ่ายหรือข้ามหน่วยงานมีน้อย ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของเทศบาลน้อย เทศบาลขาดคลังข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ ปัญหาด้านสาธารณูปโภค น้ำประปาไม่เพียงพอกับความต้องการ สถานที่พักผ่อนเช่น สวนสาธารณะ สนามกีฬากลาง มีในเทศบาลเมืองแต่เทศบาลตำบลมีน้อย การพัฒนาอาคารบ้านเรือนคู่ควรกับการปลูกต้นไม้ให้เมืองเป็นเมืองสวน (Garden City) ยังห่างไกล จราจรบนถนนหลักของเทศบาลเมืองบางแห่งเริ่มติดขัดชัดเจน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเป็นปัญหาในทุกเทศบาล การสร้างความอบอุ่นและพลังสังคมยังมีน้อย การสร้างความโดดเด่นและความภาคภูมิใจของชุมชนยังไม่ค่อยชัดเจน เพราะ ขาดพื้นฐานทางประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่น ปัญหาขยะมูลฝอย น้ำเสีย พบทุกเทศบาล เสียงดังรบกวน อากาศร้อนเริ่มมีกับเทศบาลเมือง ค่าครองชีพสูงในเทศบาลเมือง และปัญหาการว่างงานมีอยู่ทุกเทศบาลในระดับต่างกัน 3. ทิศทางและจุดเน้นการพัฒนาไปสู่การเป็นเมืองน่าอยู่เทศบาลต่างๆ มีทิศทางและจุดเน้นต่างกัน ตามพื้นฐานของที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ นโยบายการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกและพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรมของชุมชนเมืองในเทศบาลนั้นๆ 1. Background : There have been industrial investment extensions and rapid urban community growth in the four eastern provinces : Chonburi, Rayong, Chachoengsao and Pracheenburi. That an urban community be healthy or not is conditioned by multitude of potentialities, municipalities in charge. 2. Objectives : Studying the similarities and differences of the multitude potentialities, obstructions, directions and the focus of city development of the 12 city district municipalities in charge, to find out how these factors enhance a healthy city 3. Extent and research methodology : 1. A healthy city benchmark was based on 5 factors : management, physical characteristics of the terrain, society, environment and economy. 2. Samples were 4 city municipalities and 8 district municipalities : one city municipality and two district municipalities were chosen from each of the 4 provinces. 3. Data Collecting was by means of interviewing and answering questionnaire given to 3 groups of informants : the government administrators, the municipality administrators and the people within the precincts of the municipalities. 4. Data analysis was made by means of description and statistic percentile. 5. The research presentation was by means of description. 4. The Study outcome 1. The development potentiality towards a healthy city was directed the ministry of Interior and the provinces healthy city policy, urban planning (being available to the city municipalities) the administrator experience; and, to some municipalities, the historical background. 2. The obstruction of healthy city development was that the benchmark of a healthy city was not clear among the administrators, the municipality personnel and the community leaders, no administrative committee to see that the community atmosphere was congenial to live, less intrinsic relations among government agencies concerned, people living in the municipality precincts hardly had their say, the municipality lacked background information to make comments, likewise there were infrastructure utility Problems : the shortage of water supply, the shortage of recreation areas such as park, stadiums, greenery and garden city, Traffic congestions in town; life and property were insecured. Again, the people morale was low because of the lack of warmth in the community, the inadequate of social power, the lack of self – esteem because the community lacked historical background and folk wisdom; hygienic problems like trash and sewage existed in every municipality and noise disturbances and termal pollution in the city municipalities. Lastly, unemployment at different levels reigned supreme in all municipalities. 5. Directions and the focus of development towards a healthy city All municipalities had different directions and development focuses towards a “healthy city ” This is due to geographical location, the Eastern Seaboard scheme, historical background, society and community culture of the people in each municipality th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้ประจำปีงบประมาณ 2547 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher ภาควิชาภูมิศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การพัฒนาชุมชน - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัย th_TH
dc.subject การพัฒนาชุมชนเมือง - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัย th_TH
dc.subject การวางแผนพัฒนาระดับจังหวัด - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัย th_TH
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา. ภาควิชาภูมิศาสตร์ - - วิจัย th_TH
dc.subject สาขาสังคมวิทยา th_TH
dc.subject เทศบาล - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัย th_TH
dc.title การศึกษาศักยภาพ ปัญหา อุปสรรค และทิศทางการพัฒนาชุมชนเทศบาลเมืองและเทศบาลตำบลในภาคตะวันออกไปสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ th_TH
dc.title.alternative How the eastern region municipal communities develop a healthy city : the potentiality, the obstruction and direction th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2548


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account