DSpace Repository

ระบบการต่อต้านการเกิดโรคของกุ้งกุลาดำ

Show simple item record

dc.contributor.author ปภาศิริ ศรีโสภาภรณ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:54:48Z
dc.date.available 2019-03-25T08:54:48Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/872
dc.description.abstract การศึกษาระบบภูมิคุ้มกันในกุ้งกุลาดำจะใช้แบคทีเรียที่จำแนกได้ว่าเป็นชนิด Vibrio alginolyticus สามารถเจริญบนอาหารวุ้น TCBS มีโคโลนีสีเหลืองเป็นชนิด non pathogenic bacteria ระบบเม็ดเลือดพื้นฐานสามารถจำแนกชนิดของเม็ดเลือด กุ้งกุลาดำออกมาเป็นสามชนิดได้ดังนี้ Hyalince cell (HY), Small granule hemocyte (SGH), และ Large granule hemocyte (LGH) โดยการย้อมสีเม็ดเลือดและจากการ ส่องเลือดกุ้งสดด้วยกล้องจุลทรรศน์ เม็ดเลือดกุ้งกุลาดำทั้งสามชนิดมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างหลังการทำให้เกิดติดเชื้อ Vibrio alginolyticus รวมทั้งการแตกตัวของ แกรนูลของเม็ดเลือด SGH ปริมาณเม็ดเลือดกุ้งกุลาดำในหนึ่งวงจรการลอกคราบ ถูกศึกษาสุ่มนับปริมาณเม็ดเลือดโดยใช้ค่าปริมาณ Total hemocyte counts (THC) เป็นตัวเปรียบเทียบ ซึ่งพบว่าหนึ่งวงจรการลอกคราบ THC มีค่าเฉลี่ย 26.6±11.2 ล้านเซลล์ต่อมิลลิลิตร จากกุ้งตัวอย่าง 77 ตัว ปริมาณ THC มีค่าแปรผันแตกต่างกันไป ในแต่ละระยะคราบของกุ้ง ระยะก่อนลอกคราบจนถึงหลังลอกคราบ (Stage D4, E และ Stage A) ค่า THC จะต่ำ และจะสูงขึ้นในระยะหลังลอกคราบ (Stage B1) และจะลดลงในระยะ Stage C และ Stage D0 ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของหนึ่งวงจรลอกคราบ และจะสูงที่สุดใน Strage D1 และ Strage D3 ปริมาณเม็ดเลือดกุ้งกุลาดำมีความผันแปร เมื่อทำให้เกิดการติดเชื้อ Vibrio alginolyticus โดยพบว่าที่ 6 ชั่วโมง หลังการฉีดแบคทีเรียเข้าร่างกายปริมาณค่า THC ลดลง 16% และปริมาณเม็ดเลือดจะกลับสู่สภาพปกติในวันที่สอง จากนั้นจะเพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม 50% ในระหว่างวันที่สาม และวันที่หก ในที่สุดปริมาณเม็ดเลือดจะลดลงต่ำสุด (52%) ในวันที่เจ็ดของการทดลอง ชนิดเม็ดเลือดกุ้งกุลาดำมีความแปรผันเมื่อทำให้เกิดการติดเชื้อ Vibrio alginolyticus โดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างค่า HY ต่อ Granulocyte (SGH+LGH) เมื่อนับชนิดของเม็ดเลือดจำนวน 200 เซลล์ ซึ่งพบว่าค่าปริมาณ HY มีแนวโน้มลดลง และค่าปริมาณ Granulocyte มีแนวโน้มสูงขึ้นตลอดระยะการทดลอง 1-7 วัน และชนิดของ Granulocyte ที่พบมาก คือ SGH ละมีการแตกตัวของแกรนูลเป็นส่วนใหญ่ การศึกษาระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งกุลาดำในครั้งนี้ ปริมาณและชนิดของเม็ดเลือดมีความใกล้เคียงกับกุ้งชนิดอื่นและเมื่อทำให้กุ้งกุลาดำติดเชื้อ V. alginolyticus ปริมาณและชนิดของเม็ดเลือดมีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างจากกุ้งปกติและช่วงระหว่างก่อนจนถึงหลังการลอกคราบเป็นระยะที่กุ้งกุลาดำมีระบบภูมิคุ้มกันระดับเซลล์อ่อนแอมากที่สุด th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับเงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดินปี 2540 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject กุ้งกุลาดำ - - การเลี้ยง th_TH
dc.subject กุ้งกุลาดำ - - วิจัย th_TH
dc.subject กุ้งกุลาดำ - - โรค. th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title ระบบการต่อต้านการเกิดโรคของกุ้งกุลาดำ th_TH
dc.title.alternative Body defence system of peneaus monodon fabricius th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2543


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account