DSpace Repository

โครงการศึกษากลุ่มอาการ สภาวะการทำหน้าที่ และคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

Show simple item record

dc.contributor.author สุภาภรณ์ ด้วงแพง
dc.contributor.author จุฬาลักษณ์ บารมี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:54:45Z
dc.date.available 2019-03-25T08:54:45Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/814
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลุ่มอาการ สภาวะการทำหน้าที่ และคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และสามารถทำนายกลุ่มอาการ สภาวะการทำหน้าที่ และคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจำนวน 180 คน ที่สุ่มแบบแบ่งชั้นจากผู้ที่มารับบริการที่โรงพยาบาล 4 แห่ง ในเขตภาคตะวันออก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบบันทึกข้อมูลจำนวน 8 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและการเจ็บป่วย แบบประเมินโรคร่วม อาการด้านร่างกายและอาการด้านจิตใจ การรับรู้ภาวะสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม การปฏิบัติตามแผนการรักษา สภาะการทำหน้าที่ และคุณภาพชีวิต ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอาการหายใจลำบาก อาการเหนื่อยล้า อาการนอนไม่หลับ อยู่ในระดับปานกลาง และมีอาการวิตกกังวล และอาการซึมเศร้าอยู่ในระดับต่ำ อาการทั้งห้ามีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลางถึงระดับสูง (r= .423 ถึง .814) และเกิด 2 กลุ่มอาการ คือ กลุ่มอาการทางกายประกอบด้วย อาการหายใจลำบาก อาการเหนื่อยล้า และอาการนอนไม่หลับ ส่วนกลุ่มอาการทางจิตใจ ประกอบด้วย อาการวิตกกังวล และอาการซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างมีสภาวะการทำหน้าที่ การสนับสนุนทางสังคม และการปฏิบัติตามแผนการรักษาโดยรวมอยู่ในระดับดี ส่วนคุณภาพชีวิต และการรับรู้ภาวะสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ความรุนแรงของโรคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับกลุ่มอาการทางกาย กลุ่มอาการทางจิตใจ และคุณภาพชีวิต และมีความสัมพันธ์ทางลบกับสภาวะการทำหน้าที่ในระดับปานกลาง (rs= .512, .509, .558 และ -.611 ตามลำดับ) การเจ็บป่วยร่วมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับกลุ่มอาการทางกายและกลุ่มอาการทางจิตใจ (r= .179 และ .176 ตามลำดับ) การปฏิบัติตามแผนการรักษามีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิต สัมพันธ์ทางลบระดับปานกลางกับกลุ่มอาการทางจิตใต และสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับสภาวะการทำหน้าที่ (r= -.277, -.309 และ r=.331 ตามลำดับ) การรับรู้ภาวะสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางลบกับกลุ่มอาการทางกายและกลุ่มอาการทางจิตใจ และระดับสูงกับคุณภาพชีวิต (r= -.567, -.640 และ -.721 ตามลำดับ) และมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับสภาวะการทำหน้าที่ (r= .732) การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับสภาวะการทำหน้าที่ (r= .235) และมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิต (r= -.178) กลุ่มอาการทางกายมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับสภาวะการทำหน้าที่ (r= -.490) และมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับคุณภาพชีวิต (r= -.566) ส่วนกลุ่มอาการทางจิตใจมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับสภาวะการทำหน้าที่ (r= -.566) และมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับคุณภาพชีวิต (r= .559) ความรุนแรงของโรค การเจ็บป่วยร่วม และการรับรู้ภาวะสุขภาพ สามารถทำนายกลุ่มอาการทางกาย ได้ร้อยละ 40.2 ในขณะที่ความรุนแรงของโรค การเจ็บป่วยร่วม การปฏิบัติตามแผนการรักษา และการรับรู้ภาวะสุขภาพสามารถทำนายกลุ่มอาการทางจิตใจ ได้ร้อยละ 49.8 ความรุนแรงของโรค การปฏิบัติตามแผนการรักษา และการรับรู้ภาวะสุขภาพ สามารถทำนายสภาวะการทำหน้าที่ ได้ร้อยละ 65.0 ในขณะที่ความรุนแรงของโรค การรับรู้ภาวะสุขภาพ สภาวะการทำหน้าที่ และกลุ่มอาการทางกาย สามารถทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ร้อยละ 63.5 The purposes of this study were to study symptom cluster, functional status and quality of life and to examine factors predicting symptom cluster, functional status and quality of life of persons with chronic obstructive pulmonary disease (COPD). The sample was 180 COPD patients multi-stage random sampling from 4 hospitals in the eastern region. The research instrument were 8 questionnaires and recorded forms: personal and illness data, co-morbidity physical and psychological symptom, health status perception, social support, and regimen adherence, functional status and quality of life. The findings revealed that the sample had dyspnea, fatigue and insomnia at moderate level whereas having anxiety and depression at low level. All five symptoms were positively related at moderate to high level (r ranged from .423 to .814). Two symptom clusters were generated: physical symptom cluster including dyspnea, fatigue and insomnia; and, psychological symptom cluster including anxiety and depression. Scores on functional status, social support and overall regimen adherence were at good level whereas scores on quality of life and health status perception were at moderate level. Disease severity was positively related to physical symptom cluster, psychological symptom cluster and quality of life, and was negatively related to functional status at a moderate level (rs= .512, .509, .558 and -.611, respectively). Co-morbidity was positively related to physical symptom cluster and psychological symptom cluster at a low level (r= .179 and .176, respectively). Regimen adherence was negatively related to quality of life and psychological symptom cluster at a low level (r= -.277 and -.309, respectively), and was positively related to functional status at a moderated level (r= .331). Health status perception was negatively related to physical symptom cluster, psychological symptom cluster and quality of life at a moderate to high level (r= -.567, -.640 and -.721, respectively) and was positively related to functional status at a high level (r= .732). Social support was positively related to functional status (r= .235) and was negatively related to quality of life at a low level (r= -.178). Physical symptom cluster was negatively related to functional status (r= -.490) and was positively related to quality of life at a moderate level (r= -.566). Psychological symptom cluster was negatively related to functional status and was positively related to quality of life at a moderate level (r= -.566 and .559, respectively) Disease severity. co-morbidity and health status perception predict 40.2% of the variance of physical symptom cluster. Disease severity, co-morbidity, regimen adherence and health status perception predict 49.8% of the variance of physical symptom cluster. Co-morbidity, regimen adherence and health status perception predict 65.0% of the variance of functional status. Disease severity, health status perception, functional status and physical symptom cluster predict 63.5% of the variance of quality of life in COPD patients. th_TH
dc.description.sponsorship สนับสนุนโดย สำนักบริหารโครงการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject Chronic obstructive pulmonary disease th_TH
dc.subject Health status perception th_TH
dc.subject การรับรู้ภาวะสุขภาพ th_TH
dc.subject คุณภาพชีวิต th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.subject โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง th_TH
dc.title โครงการศึกษากลุ่มอาการ สภาวะการทำหน้าที่ และคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2555


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account