DSpace Repository

การศึกษาความเสี่ยงต่อการรับสัมผัสสารโทลูอีนของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

Show simple item record

dc.contributor.author นันทพร ภัทรพุทธ
dc.contributor.author นิภา มหารัชพงศ์
dc.contributor.author ประยุกต์ เดชสุทธิกร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:53:10Z
dc.date.available 2019-03-25T08:53:10Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/798
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลแบบภาคตัดขวาง โดยการทำประเมินความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารโทลูอีนของพนักงาน ตลอดจนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับสัมผัสสารโทลูอีนและกาารขับออกของกรดฮิปพูริค โดยจนทำการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนพฤษภาคม 2554-กุมภาพันธ์ 2555 โดยใช้การตรวจกำกับในสิ่งแวดล้อมและชีวภาพ และการสอบถามสัมภาษณ์พนักงาน จำนวน 154 คน ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ที่มีการใช้สารโทลูอีนในกระบวนการผลิต ในเขตภาคตะวันออกจำนวน 5 โรงผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยปริมาณความเข้มข้นของโทลูอีนแบบติดตัวบุคคลในกลุ่มรับสัมผัส (0.57+0.69 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร) แตกต่างจากค่าเฉลี่ยปริมษรความเข้มข้นของโทลูอีนในพื้นที่ปฏิบัติงานของกลุ่มควบคุม (0.02+0.03 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร) อย่างมีนัยสำคัญที่ P<0.001. ค่าเฉลี่ยของระดับการกรดฮิปพูริคของพนักงานกลุ่มรับสัมผัสและกลุ่มควบคุม มีค่าไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (0.45+0.40 และ 0.40+0.35 กรัม/กรัมครีอิทินิน ตามลำดับ)และไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างระดับกรดฮิปพูริคกับปริมาณการรับสัมผัสโทลูอีนของพนักงาน (rs=0.3072,p>0.05) ค่าความเสี่ยงเชิงสุขภาพของพนักงานจากการรับสัมผัสโทลูอีน (Hazard Quotient ; HQ) เท่ากับ 5.46 x 10^-3 ซึ่งอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ หรือไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ พนักงานกลุ่มรับสัมผัสส่วนใหญ่ (ร้อยละ 74 ) มีการรับรู้ความเสี่ยงต่อการทำงานกับโทลูอีนในระดับปานกลาง ระดับการรับรู้ความเสี่ยงจากการทำงานกับสารตัวทำละลายของกลุ่มรับสัมผัสและกลุ่มควบคุม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนับสำคัญทางสถิติ (P=0.268) เกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับสัมผัสโทลูอีนและการขับออกของกรดฮิปพูริค พบว่า ลักษณะงาน,การดื่มน้ำอัดลม, พฤติกรรมการล้างมือก่อนกลับบ้าน และระดับความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการทำงานโทลูอีนมีความสัมพันธ์กับระดับกรดฮิปพูริคในปัสสาวะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P=0.05 สรุป พนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ มีการรับสัมผัสโทลูอีนในระดับต่ำ แต่กรดฮิปพูริค ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้การรับสัมผัสโทลูอีนที่มีค่าครึงชีวิตที่สั้น จึงมีความสัมพันธ์ที่ดีกับการรับสัมผัสโทลูอีนในปริมาณความเข้มข้นที่สูงโดยเฉพาะแบบเฉียบพลัน ดังนั้นจึงไม่เหมาะที่จะใช้กรดฮิปพูริคในปัสสาวะ เป็นดัชนีชี้วัดการรับสัมผัสโทลูอีนของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งสอดคล้องกับข้อกำหนดของ ACGIH (2012) ซึ่งยกเลิกการใช้กรดฮิปพูริคเป็นตัวบ่งชี้การรับสัมผสโทลูอีน โดยให้เปลี่ยนไปใช้ o-cresol หรือ urinary toluene แทน สถานประกอบกิจการควรส่งเสริมและรณรงค์เรื่องการฝึกอบรมให้ความรู้และสุขอนามัยส่วนบุคคลอย่างต่อนื่อง เพื่อให้พนักงานได้ตระหนักถึงความเสี่ยงอันตรายจากการรับสัมผัสโทลูอีนในการทำงาน This study wsa a cross-sectional survey research. Expoeure and assessment health impact to toluene, and factors related to toluene exposure and excretion of hippuric among workers were conducted in Eastern during may 2011-Februaey 2012 by using rnvironmental and bioloical monitoring, and questionnaires. 154 workers from 5 automotive industries using toluene in the production process were participated in this study. The findings showed that the toluene exposure level among the exposed workers was 0.57+0.69 mg/m, Therewas a significantly different mean levels between two groups at P<0.001.The mean levels of hippuric acid un the exposed and controlgroup were 0.45+0.40 and 0.40+0.35 g/g creatinine, respectively. However,no clear association could be found between levels of urinary hippuric acid and individual toluene exposure level (rs=0.3072,p>0.05). THe non-cencer risk (hazard quotient) from exposure to toluene was in the acceptable level or had no the health impact (HQ = 5.46 x 10^-3). As regards the workers' perception about the risk caused by contacting toluene, it was found that the majority (74%) of them possessed only a moderate level of the risk perception. No significant difference was found between risk perception of expose group and control (P=0.268). About factors relwated to toluene exposure and hippuric acid excretion, results showed a significant correlation between levels of urinary hippuric acid and some factors including working poaition, soft drink consumption, hand weshing after finished work and knowledge levels about hazards of working toluene (P=0.05). In conclusion, automotive industrial workers have exposed to low levels of toluene. But urinary hippuric acid, marker of toluene exposure, has a short half-life and a good relationship with high levels of toluene exposure. Therefore, hippuric acid was not suitable to be used as an indicator of toluene exposure. There were comply with the requirement of ACGIH (2012) that peplaced hippuric acid with o-cresol or urinary toluene for the biomarker of toluene exposure. Workplace should promote and campaign continuously abuot the training programs and personal hygiene which made staffs be aware of the risks of toluene exposure at work. th_TH
dc.description.sponsorship สนับสนุนโดย สำนักบริหารโครงการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject Automotive th_TH
dc.subject Exposure th_TH
dc.subject Industries th_TH
dc.subject Risk th_TH
dc.subject Toluene th_TH
dc.subject ความเสี่ยง th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.subject อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนตร์ th_TH
dc.subject โทลูอีน th_TH
dc.title การศึกษาความเสี่ยงต่อการรับสัมผัสสารโทลูอีนของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ th_TH
dc.title.alternative A study of risk of toluene exposure among workers in automotive industries th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2555


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account