DSpace Repository

ปัญหาทางกฎหมายในการจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544

Show simple item record

dc.contributor.advisor รัชนี แตงอ่อน
dc.contributor.author ณัฐภัสสร ธัญวัฒน์สวัสดิ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:14:54Z
dc.date.available 2023-05-12T06:14:54Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7930
dc.description งานนิพนธ์ (น.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract หลักการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายจําเลยในคดีอาญาได้กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเพื่อรองรับสิทธิในการได้รับการช่วยเหลือจากรัฐของบุคคลซึ่งได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทําความผิดอาญาของผู้อื่นโดยตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดนั้น และไม่มีโอกาสได้รับการบรรเทาความเสียหายโดยทางอื่น รวมทั้งการรับรองสิทธิในการได้รับค่าทดแทนในกรณีของบุคคลซึ่งตกเป็นจําเลยในคดีอาญา และถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดีหากปรากฏตามคําพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีนั้นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าจําเลย มิได้เป็นผู้กระทําความผิดหรือการกระทําของจําเลยไม่เป็นความผิด รัฐจึงได้ตราพระราชบัญญัติค่าตอบแทน ผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 ขึ้นโดยสาระสําคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือจ่ายเงินเยียวยาผู้เสียหายและจําเลย ในกรณีผู้เสียหายต้องได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิตหรือร่างกายหรือจิตใจ เนื่องจากการกระทําความผิดอาญาของบุคคลอื่น โดยตนมิได้เกี่ยวข้องในการกระทําความผิดนั้น กรณีผู้บริสุทธิ์ต้อง ตกเป็นจําเลยที่ถูกดําเนินคดีโดยพนักงานอัยการและถูกคุมขังในระหว่างพิจารณาคดีต่อมาปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าผู้ที่ถูกกล่าวหามิได้เป็นผู้กระทําความผิดและมีการถอนฟ้องในระหว่างดําเนินคดี หรือปรากฏตามคําพิพากษาอัน ถึงที่สุดในคดีนั้นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่ามิได้เป็นผู้กระทําความผิดหรือการกระทํานั้นไม่เป็นความผิด โดยมีความจําเป็นที่จะต้องมีหน่วยงานมาช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจําเลยในคดีอาญา จากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลกฎหมายพบประเด็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 ได้ 3 กรณี1. กรณีมีการฟ้องคดีอาญาโดยราษฎรเป็นโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28 (2) ต่อมาศาล ได้พิจารณาพิพากษาว่าจําเลยไม่ได้กระทําความผิด พระราชบัญญัติดังกล่าวไม่คุ้มครอง 2. กรณีที่ศาลยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จําเลย จึงไม่อาจได้รับการเยียวยาจ่ายค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนฯ มาตรา20 (3) 3. กรณีตกเป็นผู้ต้องหา ภายหลังพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องในระหว่างนั้นผู้ต้องหามิได้รับการประกันตัวหรือได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวตามพระราชบัญญัติ ค่าตอบแทนฯ มาตรา 20 ก็มิได้มีบทบัญญัติที่กล่าวถึงส่วนนี้ อย่างไรก็ตามประเทศไทยได้ประกาศใช้และปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าวในปีพ.ศ. 2559 แต่ก็ยังมีในบางมาตราที่ยังไม่ได้รับการปรับปรุงแก้ไข ผู้วิจัยจึงเสนอให้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ผู้ต้องหาและจําเลยที่ได้รับความเสียหายได้รับสิทธิการจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหายค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายกล่าวคือ การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติด้วยการแก้ไขมาตรา 20 (1) ให้เพิ่มเติมสิทธิแก่จําเลยที่ราษฎรนําคดีอาญามาฟ้องต่อศาลด้วย, แก้ไขมาตรา 20 (3) ให้เพิ่มข้อความ “หากจําเลยพ้นผิดหรือถูกยกฟ้อง ไม่ว่ากรณีใด”และให้แก้เพิ่มสิทธิแก่ผู้ต้องหาที่ได้รับความเสียหายให้สามารถมีสิทธิที่จะยื่นคําร้องได้ตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย แล้วจึงให้รัฐใช้สิทธิไล่เบี้ยเอากลับผู้กระทําให้เกิดความเสียหายขึ้นต่อไปได้
dc.language.iso th
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายและอาชญาวิทยา
dc.subject คดีอาญา
dc.subject คดีอาญา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
dc.subject Humanities and Social Sciences
dc.title ปัญหาทางกฎหมายในการจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544
dc.title.alternative A legl problem of crimes victim support nd ssistnce concerning compenstion nd support for the ccused in ccordnce to the criminl cse ct b.e. 2544
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Theprinciple of protecting the rights of the Injured person, the Defendant in criminal cases are defined in the Constitution of the Kingdom of Thailand to support the right and receive relief from the state to the person who has been damaged by the criminal offence of others, without being involved and there is no other way to mitigate the damage, including the right to receive compensation in the case of a person who is a defendant in criminal cases and imprisonment during the trial, if the final judgement ruled in the case that the defendant did not commit the offense or the action of the defendant is not guilty, due to that the state has enacted the Act on Damages for the Injured Person and Compensation and Expense for the Accused in Criminal Case Act, B.E.2544, by the substance of this Act is paying to the injured and the defendant. In case of the victim dies or is killed due to the negligence or misconduct of another cause injury to body and mind, the case of innocent person must be the defendant prosecuted by the prosecutor and imprisoned during the trial. Later on there was clear evidence that the accused is not a perpetrator and the suit is withdrawn or appearing in the final judgment that he is not the offender or the act is not guilty. Due to this fact, it needs the state agencies to provide financial assistance to victims and defendants in criminal cases. According to the analysis of legal information, the law enforcement issues related to the enforcement of the Act, compensation for victims andcompensation and expenses to the defendant in criminal case B.E. 2544 (2011) in 3cases; (1st) In the case of prosecution of criminal cases by the plaintiff according to the Code of Criminal Procedure, Section 28 (2), the Act is not covered if the court later ruled that the defendant did not commit the offense, (2nd) The case is dismissed according to the Code of Criminal Procedure, Section 227that gives the benefit of doubt to the defendant, by that the accused can not be compensated for compensation under Section 20 (3). (3rd) In case of accused, later on the prosecutor ordered not to sue. In the meantime, the accused was not bailed or released temporarily. According to section 20of the Remuneration Act does not contain provisions referring to this section. However, Thailand has promulgated and amended the Act in B.E. 2559 (2016). However there are still some sections that have not been updated. The researcher proposed to amend the law so that the accused and the injured defendant were entitled to compensation for the victims, compensation and expenses. Amendment of Section 20 (1) provides additional right to the defendant to bring a criminal case to the court, amended Section 20 (3) "If the defendant is acquitted or dismissed in any case," andthe right to file a complaint under this Act shall be extended to the accused and then the state recruits back to the person causing extensive damage.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline กฎหมายและอาชญาวิทยา
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account