DSpace Repository

ประสิทธิภาพของส่วนสกัดจากมะไฟจีนร่วมกับยาปฎิชีวนะต่อการยับยั้งแบคทีเรียแกรมลบฉวยโอกาสดื้อยา

Show simple item record

dc.contributor.advisor วารี เนื่องจำนงค์
dc.contributor.advisor วิสาตรี คงเจริญสุนทร
dc.contributor.author พัชนันท์ ทองศรีพันธ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:45:39Z
dc.date.available 2023-05-12T03:45:39Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7315
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract มะไฟจีนเป็นพืชพื้นเมืองพบมากในจังหวัดน่าน มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านมะเร็ง ซึ่งงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของส่วนสกัด เมทานอลจากใบมะไฟจีนในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียแกรมลบฉวยโอกาส 6 ชนิด คือ Acinetobacter baumannii ดื้อยาและไม่ดื้อยา, Escherichia coli ATCC 25922, Klebsiella pneumoniae, Pseudomonas aeruginosa ดื้อยาและไม่ดื้อยา ด้วยวิธี Agar diffusion susceptibility test และวัดค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย (MIC) จากนั้นศึกษาประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ ร่วมกันของส่วนสกัดจากใบมะไฟจีนกับยาแอมพิซิลิน และยาเตตราซัยคลินในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียแกรมลบฉวยโอกาส ด้วยการหาค่าดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพร่วม (Fractional Inhibitory Concentration Index: FICI) จากผลการวิจัย พบว่า ส่วนสกัดเมทานอลจากใบมะไฟจีนสามารถยับยั้ง การเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียแกรมลบฉวยโอกาสที่นํามาทดสอบได้ทุกชนิด โดยสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ E. coli ATCC 25922 ได้ดีที่สุด โดยมีค่า MIC เท่ากับ 20 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร รองลงมาคือ A. baumannii, A. baumannii ดื้อยา, P. aeruginosa, P. aeruginosa ดื้อยาและ K. pneumoniaeโดยมีค่า MIC เท่ากันคือเท่ากับ 40 มิลลิกรัม ต่อมิลลิลิตร จากการทดสอบการออกฤทธิ์ร่วมกัน พบว่าส่วนสกัด เมทานอลจากใบมะไฟจีนร่วมกับยาแอมพิซิลลิน แสดงฤทธิ์ไม่แตกต่างจากการใช้ยาแอมพิซิลลินในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย 4 สายพันธุ์ คือ A. baumannii ไม่ดื้อยาและดื้อยา E. coli ATCC 25922 และ K. pneumonia แต่ต้านฤทธิ์กับยาแอมพิซิลลินในการยับยั้งเชื้อ P. aeruginosa ค่า FICI เท่ากับ 4.01 ทั้งนี้พบว่าฤทธิ์ไม่แตกต่างจากการใช้ยาเตตราซัยคลิน ในการยับยั้งเชื้อ A. baumannii และ K. pneumonia แต่ต้านฤทธิ์กับยาเตตราซัยคลินในการยับยั้งเชื้อ A. baumannii ดื้อยา ซึ่งแสดงค่า FICI เท่ากับ 8.01 E. coli ATCC 25922 แสดงค่า FICI เท่ากับ 4.04 และค่า FICI ของ P. aeruginosa ไม่ดื้อยาและดื้อยาแสดงค่า FICI เท่ากันคือ เท่ากับ 4.01
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
dc.subject แบคทีเรีย -- การควบคุมคุณภาพ -- วิจัย
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา
dc.subject เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
dc.subject ปฏิชีวนะ
dc.subject แบคทีเรีย
dc.title ประสิทธิภาพของส่วนสกัดจากมะไฟจีนร่วมกับยาปฎิชีวนะต่อการยับยั้งแบคทีเรียแกรมลบฉวยโอกาสดื้อยา
dc.title.alternative Synergistic ntibcteril effect of clusen lnsium (lour.)skeels extrctwithsome ntibiotics ginst multidrug resistnt nd opportunisticgrmnegtivebcteri
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Clausena lansium (Lour.) Skeels is a native plant, found in Nan province. There were many reports studied on anti-inflammatory activity, antibacterial activity, antioxidant activity and anticancer activity. The objectives of this research were to study the antibacterial activities of methanol extract from the leaves of Wampee (Clausena lansium (Lour.) Skeels) were tested against six opportunistic gram-negative bacteria: drug-resistant and non-resistant Acinetobacter baumannii, Escherichia coli ATCC 25922, Klebsiella pneumoniae, drug-resistant and non-resistant Pseudomonas aeruginosa. All the experiments were conduct by using the agar diffusion susceptibility test, and the minimal inhibitory concentration (MIC) value. Then, synergistic effect of crude methanol extract combined with two antibiotics (ampicillin and tetracycline) was studied against opportunistic gram-negative bacteria, and evaluated by Fractional Inhibitory Concentration Index (FICI). The results indicated that crude methanol extract inhibited the growth of all gram negative opportunistic bacteria. The crude methanol extract indicated the best antibacterial activity against E. coli ATCC 25922 by the MICs of 20 mg/ml, followed by antibacterial activity against A. baumannii, P. aeruginosa drug-resistant A. baumannii, P. aeruginosa and K. pneumoniae by the equal MICs of 40 mg/ml. Also, the synergistic effect was clarified that the leave of crude methanol extract combined with ampicillin exhibited indifferent effects against four strains of drug-resistant and non-resistant A. baumannii, E. coli ATCC 25922 and K.pneumoniae. However, there was an antagonistic effect of ampicillin with crude methanol extract against non-resistant P. aeruginosa (FICI = 4.01). Moreover, the mixture of tetracycline with crude methanol extract exhibited indifferent effect against non-resistant A. baumannii and K. pneumoniae. The antagonistic effects of tetracycline with crude methanol extract were indicated against drug-resistant A. baumannii (FICI=8.01) and E. coli ATCC 25922 (FICI=4.04). The antagonistic FICIs of both drugresistant and non-resistant P. aeruginosa were 4.01.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ชีววิทยาศึกษา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account