DSpace Repository

ความยุติธรรมและความเหมาะสมของข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบที่ใช้ในการสอบคัดเลือกหรือสอบแข่งขัน: วิเคราะห์โดยความน่าจะเป็น

Show simple item record

dc.contributor.author อำพล ธรรมเจริญ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:53:03Z
dc.date.available 2019-03-25T08:53:03Z
dc.date.issued 2534
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/710
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษ่าผลของการเดาตอบข้อสอบคัดเลือกที่เป็นข้อสอบแบบฟรนัยแบบเลือกตอบ โดยศึกษาผลที่สำคัญของการเดาตอบคือ ความไม่ยุติธรรม (ผู้ที่มีความรู้น้อยกว่าเป็นผู้สอบได้และผู้ที่มีความรู้มากกว่าเป็นผู้สอบตก) และความไม่เหมาะสม (ผู้ที่มีความรู้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ควรจะสอบได้เป็นผู้สอบได้) ปรากฏว่า ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่ยุติธรรมและความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่เหมาะสมมีค่าขึ้นอยู่กับ จำนวนตัวเลือกในข้อสอบแต่ละข้อ จำนวนข้อสอบ ความยากของข้อสอบ และจำนวนของผู้สอบผ่าน ซึ่งสรุปได้ดังนี้ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่ยุติธรรม มีค่าประมาณ .10-.30 ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่เหมาะสม มีค่าประมาณ .08-.49 1. เกี่ยวกับจำนวนตัวเลือก ในทุกๆแบบ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่ยุติธรรมและความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่เหมาะสม มีค่ามากเมื่อข้อสอบมีจำนวนตัวเลือกน้อย และมีค่าน้อยลงเมื่อข้อสอบมีจำนวนตัวเลือกเพิ่มมากขึ้น 2. เกี่ยวกับจำนวนข้อ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่ยุติธรรมมีค่ามากเมื่อข้อสอบมีจำนวนข้อน้อย และมีค่าน้อยลงเมื่อข้อสอบมีจำนวนข้อมากขึ้น ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่เหมาะสม (ส่วนใหญ่ในค่าที่คำนวน) มีค่าน้อยเมื่อข้อสอบมีจำนวนข้อน้อย และมีค่ามากเมื่อข้อสอบมีจำนวนข้อมากขึ้น 3. เกี่ยวกับความยากง่ายของข้อสอบในทุกๆแบบ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่ยุติธรรมและความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่เหมาะสม มีค่ามากเมื่อข้อสอบยาก และมีค่าน้อยลงเมื่อข้อสอบง่ายขึ้น หรือความยากลดลง 4. เกี่ยวกับจำนวนที่รับได้หรือจำนวนผู้สอบได้ในทุกๆรูปแบบ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่ยุติธรรมและความน่าจะเป็นที่จะเกิดความไม่เหมาะสม มีค่ามากเมื่อจำนวนรับน้อย และมีค่าน้อยลงเมื่อจำนวนรับมากขึ้น ข้อเสนอแนะของการวิจัยคือ ควรใช้ข้อสอบที่มีค่าความน่าจะเป็นดังกล่าวมีค่าน้อย ดังนั้นควรใช้ข้อสอบที่มีจำนวนที่มีจำนวนตัวเลือกมาก (5 ตัวเลือก) และข้อสอบควรจะง่าย th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2534 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การสอบ th_TH
dc.subject ข้อสอบปรนัย th_TH
dc.subject ความน่าจะเป็น th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ th_TH
dc.title ความยุติธรรมและความเหมาะสมของข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบที่ใช้ในการสอบคัดเลือกหรือสอบแข่งขัน: วิเคราะห์โดยความน่าจะเป็น th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2534


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account