DSpace Repository

การเปรียบเทียบการใช้แบบทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์กับการใช้แบบทดสอบแบบเดิมในการสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ

Show simple item record

dc.contributor.author สมบูรณ์ เจตน์จำลอง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:45:46Z
dc.date.available 2019-03-25T08:45:46Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/70
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยและเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการทำแบบทดสอบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษด้วยคอมพิวเตอร์กับค่าคะแนนเฉลี่ยและเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการทำแบบทดสอบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษแบบเดิมของนิสิตระดับปริญญาตรีภาคปกติ วิชาเอกและวิชาโทภาษาอังกฤษ จากคณะศึกษาศาสตร์และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 50 คน ซึ่งได้ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 212221 ไวยากรณ์และการเรียน (Structure) ตามหลักสูตรของภาควิชาภาคตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ในภาคเรียนที่ 1 และ 2 ประจำปีการศึกษาพุทธศักราช 2545ในการวิจัยนี้ผู้วิจัยได้แบ่งนิสิตโดยการสุ่มออกเป็นสองกลุ่ม ๆ ละ 25 คนเท่ากัน กลุ่มที่หนึ่งเป็นกลุ่มนิสิตที่เข้ารับการทดสอบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษด้วยคอมพิวเตอร์ ส่วนกลุ่มที่สองเป็นนิสิตที่เข้ารับการทดสอบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษแบบเดิม แบบทดสอบทั้งสองเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือกแยกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทเติมคำ และ ประเภทหาข้อความที่ใช้ผิดไวยากรณ์ โดยมีเนื้อหาเหมือนกัน และจำนวนข้อเท่ากันทุกประการ หัวข้อไวยากรณ์ที่ใช้ในการทดสอบเป็นหัวข้อที่สุ่มมาจากเนื้อหาที่นิสิตเรียนต่อไปนี้ Tense, Direct-Indirect Speech, Subject/Verb Agreement, Gerund, Comparison of Adjectives, Agreement with Pronouns, Causative และ Sentence Types โดยนิสิตต้องเข้ารับการทดสอบหลังจากที่เรียนหัวข้อนั้น ๆ จบแล้ว รวมจำนวนครั้งที่นิสิตทั้งสองกลุ่มต้องเข้ารับการทดสอบตลอดแต่ละภาคเรียนทั้งหมด 8 ครั้งในการทดสอบแต่ละครั้งนิสิตทั้งสองกลุ่มจะเข้ารับการทดสอบพร้อมกันภายในห้องปฏิบัติการทางภาษาห้องเดียวกัน และควบคุมการทดสอบโดยผู้สอนคนเดียวกันก่อนนำแบบทดสอบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษไปเก็บข้อมูลผู้วิจัยได้ทดลองใช้แบบทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มประชากร แล้วจึงนำแบบทดสอบที่วิเคราะห์แล้วผ่านเกณฑ์ค่าอำนาจจำแนกและค่าความยากง่ายมาใช้ในการเก็บข้อมูล นิสิตในกลุ่มที่ใช้แบบทดสอบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษด้วยคอมพิวเตอร์สามารถเลือกคำตอบได้จากการกดแป้น keyboard โดยไม่สามารถเปลี่ยนคำตอบที่เลือกแล้วได้ และจะทราบคะแนนผลการสอบได้ทันทีที่ทำข้อสอบแต่ละชุดเสร็จ ส่วนนิสิตในกลุ่มที่ทำข้อสอบแบบเดิมสามารถเลือกคำตอบแล้วกากบาทลงในกระดาษคำตอบที่กำหนดให้โดยจะทราบผลหลังจากทีผู้สอนตรวจเสร็จแล้ว การบันทึกเวลาในการทดสอบทั้งสองกลุ่มจะเริ่มตั้งแต่นิสิตเริ่มทำข้อสอบไปจนเสร็จสิ้นการทำข้อสอบของแต่ละคนในแต่ละกลุ่ม จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยค่าทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าการทดสอบที (t-test)ผลการวิจัยปรากฎว่า 1) ค่าคะแนนเฉลี่ยของนิสิตกลุ่มที่ใช้แบบทดสอบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษด้วยคอมพิวเตอร์สูงกว่าค่าคะแนนของนิสิตกลุ่มที่ใช้แบบทดสอบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษแบบเดิมทุกหัวข้อที่ทดสอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) กลุ่มนิสิตที่ใช้แบบทดสอบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษด้วยคอมพิวเตอร์ใช้เวลาเฉลี่ยในการทำข้อสอบทุกประเภท ทุกหัวข้อน้อยกว่าเวลาเฉลี่ยของกลุ่มนิสิตที่ใช้แบบทดสอบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษแบบเดิม th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ภาษาอังกฤษ - - แบบทดสอบ - - วิจัย th_TH
dc.subject ภาษาอังกฤษ - - แบบทดสอบ th_TH
dc.subject ภาษาอังกฤษ - - ไวยากรณ์ - - วิจัย th_TH
dc.subject ภาษาอังกฤษ - - ไวยากรณ์ - - แบบทดสอบ th_TH
dc.subject ภาษาอังกฤษ - - ไวยากรณ์ th_TH
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา. ภาควิชาภาษาตะวันตก - - วิจัย th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.title การเปรียบเทียบการใช้แบบทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์กับการใช้แบบทดสอบแบบเดิมในการสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ th_TH
dc.title.alternative Comparison of computer-based and conventional tests in teaching english gramma en
dc.type งานวิจัย
dc.year 2545
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to compare the mean scores of computer-based tests to those of conventional of paper-pencil tests, and to compare the average time used in performing both tests in an English grammar class. The population consisted of 50 undergraduate students, English majors and minors from the Faculty of Education and the Faculty of Humanities and Social Sciences, Burapha University, Chon Buri, Thailand, These sutdents enrolled to study Structure (212221) in the Department of Western Languages, Faculty of Humanities and Social Sciences, Burapha University in semesters 1 and 2 in the academic year 2002.In the study 50 students were divided equivalently into two groups: 25 students in the computer-based test group and another 25 students in the paper-and-pencil test group. For this comparison, the computer-based and paper-and-pencil tests were identical. Eight topics: Tense, Direct-indirect Speech, Subject/Verb Agreement, Gerund, Comparison of Adjectives, Agrement with Pronouns, Causative and Sentence Types, were selected randomly from what the students studied in their grammar class. Throughout the semester, both computer-based and conventional tests were implemented 8 times at the same tiem, in the same language laboratory proctored by the same instructor when the students had finished each topic.After being tried out, both computer-based and conventional tests were manipulated to collect data from the population group. The students in the computer-based test group selected their answers by pressing their computer keyboard while those in the conventional test group marked theirs on answer sheets. The test items providing appropriate results from the standardized criteria of discrimination and difficulty were analyzed through the statistical applications of mean, standard deviation and t-test.The results were 1) the overall mean scores of the students in the computer-based test group were significantly higher than those of the students in the conventional test group at the level of .05, and 2) the students in the computer-based test group used less time to complete their tests than those in the conventional test group did. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account