DSpace Repository

ทัศนคติและการยอมรับ บทบาทการเป็นผู้นำท้องถิ่นของสตรีในเขตจังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author ชิตาภา สุขพลำ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:53:01Z
dc.date.available 2019-03-25T08:53:01Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/674
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทัศนะของประชาชนในจังหวัดชลบุรี ที่มีต่อบทบาทการเป็นผู้นำท้องถิ่นของสตรี ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการยอมรับในบทบาทของผู้นำสตรีและทัศนะของผู้นำสตรีท้องถิ่นที่มีต่อการแสดงบทบาทของตนเองในฐานะผู้นำ การศึกษาครั้งนี้มีวิธีการศึกษา 2 ลักษณะ คือ เป็นการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในเชิงปริมาณ เป็นการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านสตรี จำนวน 435 ตัวอย่าง และในเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (Depth Interview) ศึกษาความคิดเห็นของตัวสตรีที่เป็นผู้นำ ที่มีต่อการทำหน้าที่ในบทบาทการเป็นผู้นำท้องถิ่นของตนเอง จำนวน 32 ตัวอย่าง ผลการจากวิจัย พบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีความรู้สึกที่ดีต่อผู้นำสตรี ผู้นำสตรีมีความสามารถทำงานได้ดีไม่ด้อยไปกว่าเพศชาย สามารถปฏิบัติงานได้ดีกว่าผู้นำชายคนก่อนทำงานได้ตามที่คาดหวังจนถึงเกินความคาดหวัง ผู้นำสตรีส่วนใหญ่มาจากการเลือกตั้ง โดยที่เหตุผลสำคัญที่สุดในการเลือกคือเลือกเพราะเป็นพรรคพวก และผลงานของผู้นำสตรีเป็นที่ยอมรับในระดับสูง ปัจจัยที่ให้การยอมรับสูงที่สุดคือการมีมนุษยสัมพันธ์ดี ผู้ให้ข้อมูลที่มีปัจจัยต่าง ๆ แตกต่างกันมีความคิดเห็นและการยอมรับในผู้นำสตรีในระดับสูงสอดคล้องกัน และหากเลือกตั้งครั้งต่อไปจะเป็นเพศใดก็ได้จะดูที่ความสามารถของบุคคลเป็นหลัก ด้านผู้นำสตรีเห็นว่าตนเองได้รับการยอมรับในระดับสูงสอดคล้องกับความคิดเห็นของลูกบ้านยกเว้นเรื่องของปัจจัยอันดับต้นในการได้รับเลือกที่คิดว่าตนเองได้รับการเลือกเพราะผลงานเดิม ในขณะที่ลูกบ้านส่วนใหญ่ระบุว่าเลือกตามพรรคพวก th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ผู้นำชุมชน th_TH
dc.subject ผู้นำสตรีในจังหวัด - - ชลบุรี th_TH
dc.subject ภาวะผู้นำของสตรี th_TH
dc.subject สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ th_TH
dc.title ทัศนคติและการยอมรับ บทบาทการเป็นผู้นำท้องถิ่นของสตรีในเขตจังหวัดชลบุรี th_TH
dc.title.alternative Attitude and acceptance to the role of female local leaders in Chonburi en
dc.type Research
dc.year 2549
dc.description.abstractalternative This research was aimed to investigate people's aspects of roles of local woman leaders in Chonburi, to investigate factors which leaded to the acceptation of woman leaders' roles, and to investigate aspects of local woman leaders that played roles as a leader. The methodology consisted of quantitative and qualitative research. The quantitative research was of a survey of people's opinion to woman village headman which consisted of 435 samples. The qualitative research was of depth interview in topics of self-woman leaders' opinion to acting local leafers' roles. It was found that most of the subjects have a good sense with woman leaders, woman leaders have the working's abilities were not less than men. could work better than the previous man leaders, could work as the expectation to the exceed expectation, and most of woman leaders came from an election (followers voted them because they were the same partisan andtheir works were accepted in high level. The high accepted woman leaders' factors were they had a good relationship. Although the subjects who had the different factors, they had coherence of opinions and acceptation of woman leaders. For the next election, the leader would be of any gender which depend on her or his abilities. In the woman leaders' facets, they realized that they were accepted in high level which cohered with their followers. However, they realized that they won the election because of their previous works, while most of followers voted them because of the same partisan. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account