DSpace Repository

การประเมินความเครียดจากการทำงานของพนักงานผู้ทำงานในสำนักงานของโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข th
dc.contributor.author พิศมัย เสรีขจรกิจเจริญ th
dc.contributor.author จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:45:44Z
dc.date.available 2019-03-25T08:45:44Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/52
dc.description.abstract การวิจัยนี้เป็นวิจัยประยุกต์ในแนวทางการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางจิตวิทยาสังคมที่เป็นตัวกำหนดระดับความเครียดและลักษณะการทำงาน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานผู้ทำงานในสำนักงานของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 432 คน โดยเครื่องมือที่ใช้แปลจากแบบประเมินทางสภาพจิตวิทยาสังคมในการทำงานของวินเดอร์ ชาลเบซิล และคณะ ประกอบด้วยองค์ประกอบด้านข้อเรียกร้องจากงาน การควบคุม หรืออำนาจการตัดสินใจในงานและการสนับสนุนทางสังคม โดได้ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาด้วยการแปลย้อนกลับ และได้ทำการทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือด้วยค่าสัมประสิทธิ์คงที่ได้ค่าความเที่ยงระหว่าง 0.52-0.93 และ 0.6-0.93 ตามลำดับ หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลได้นำมาวิเคราะห์โดยสถิติเชิงพรรณาในรูปของความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด พร้อมทั้งทดสอบความแปรปรวนและความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยในแต่ละองค์ประกอบตามตัวแปรอิสระ จากนั้นวิเคราะห์ระดับความเครียดจากการทำงาน ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบทางจิตวิทยาสังคม ทั้ง 3 ด้าน ของพนักงานผู้ทำงานในสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมฯแสดงภาวะการรับรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบด้านข้อเรียกร้องจากงานที่ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.14 จำแนกเป็นองค์ประกอบย่อยด้านข้อเรียกร้องทางสติปัญญา ที่ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.17 องค์ประกอบย่อยด้านข้อเรียกร้องทางจิตกายภาพ ที่ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.43 และองค์ประกอบย่อยด้านข้อเรียกร้องจากงานโดยรวมและรายองค์ประกอบย่อยทุกองค์ประกอบสูงกว่าเพศหญิง และองค์ประกอบด้านการควบคุมหรืออำนาจในการตักสินใจทำงาน พบว่า พนักงานผู้ทำงานในสำนักงาน ฯ แสดงภาวะการรับรู้เกี่ยวกับที่ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.37 จำแนกเป็นองค์ประกอบย่อยด้านควบคุมพฤติกรรมการทำงาน มีค่าเฉลี่ย 3.07 และองค์ประกอบด้านการควบคุมความสามารถใช้ทักษะในการทำงาน มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.68 จากการทดสอบความแปรปรวนและความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ย กับตัวแปรอิสระต่างๆ พบว่า เพศชายมีค่าคะแนนเฉลี่ยในแต่ละองค์ประกอบย่อยด้านการควบคุมความสามารถในการทำงาน สูงกว่าเพศหญิง เกี่ยวกับองค์ประกอบด้านการสนับสนุนทางสังคม พนักงานผู้ทำงานในสำนักงานฯ แสดงภาวะการรับรู้ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.14 จำแนกเป็นองค์ประกอบด้านการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชามีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.19 และองค์ประกอบย่อยด้านการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานมีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.09 จากการทดสอบความแปรปรวน และความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยกับตัวแปรอิสระต่างๆ พบว่า เพศชายมีค่าคะแนนเฉลี่ยด้านการสนับสนุนทางสังคมโดยรวมและรายองค์ประกอบทุกองค์ประกอบสูงกว่าเพศหญิง ผลการศึกษาพบว่าระดับความเครียดจากงานโดนใช้ค่าคะแนนเฉลี่ยรายองค์ประกอบหลัก คือ ข้อเรียกร้องจากงาน อำนาจการตัดสินใจในงาน และการสนับสนุนทางสังคม พบว่า พนักงานผู้ทำงานในสำนักงานส่วนใหญ่ทำงานเป็นเชิงรุก รองลงมามีความเครียดจากการทำงานต่ำ ทำงานในเชิงรับ และมีความเครียดจากการทำงานสูง จากการทำสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระต่างๆ กับระดับความเครียดจากการทำงานและจากลักษณะงาน (เชิงรุก หรือ เชิงรับ) พบว่าเฉพาะเพศเท่านั้นมีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดจากการทำงานและลักษณะการทำงาน ผลการศึกษาพบว่าเพศหญิงอยู่ในกลุ่มทำงานในเชิงรับมากกว่าเพศชาย โดยที่เพศชายมีค่าคะแนนเฉลี่ยด้านข้อเรียกร้องจากการทำงานและอำนาจการตัดสินใจในงานสูง ก่อให้เกิดการทำงานในเชิงรุก ในขณะที่เพศชายมีค่าคะแนนเฉลี่ยด้านการสนับสนุนทางสังคมมากกว่าเพศหญิง จึงทำให้อยู่ในกลุ่มที่มีความเครียดจากการทำงานสูงกว่าเพศชาย นอกนั้นไม่พบความเครียดจากการทำงาน ตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบในระดับสูงสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ดำรงตำแหน่งยังไม่ครบ 2 ปี มีความขัดแย้งด้านบทบาทหน้าที่สูงสุด ข้อเสนอแนะจากการวิจัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มที่ทำงานเชิงรับ ควรมีการเพิ่มปริมาณงานและหน้าที่ความรับผิดชอบให้มากขึ้น (Job enlargement) และเพิ่มคุณค่าของการทำงานให้มากขึ้น (Job enrichment) สำหรับกลุ่มที่มีความเครียดจากการทำงานสูง อาจเพิ่มด้วยการให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในกิจกรรมที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อหัวหน้าพนักงาน ส่งเสริมให้มีการทำงานเป็นทีม และให้มีการจัดกิจกรรมร่วมกัน นอกเวลาทำงาน เป็นต้น th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ความเครียดในการทำงาน th_TH
dc.subject นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง th_TH
dc.subject โรงงาน - - พนักงาน - - ความเครียดในการทำงาน th_TH
dc.subject สาขาสังคมวิทยา th_TH
dc.title การประเมินความเครียดจากการทำงานของพนักงานผู้ทำงานในสำนักงานของโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี th_TH
dc.title.alternative An assessment of job stress at work among office workers at Laem Chabang Industrial Estate Facilities, Chonburi province en
dc.type Research
dc.year 2544
dc.description.abstractalternative Abstract: The purpose of this study was to describe phycosocial factors that determined stress levels and job attributes among 432 industrail office workers in Laem Chabang Industrail Eastate Facilities, Chonburi Province. The research instrument was a 71-items questionaire translated from English version of phycosocial Working Condition Questionaire (PWC) developed by Winderzal-Bazyl and Cieslak in Poland 1995. PWC was base on Job demand-Control-Support Model (Johnson,Hall and Theorell,1989) with its own empirical scales constructed by the aoathors in Poland. We had controled for the questionaire's content validity by back translation and for its reliablitt with Cronbach's Alpha and Pearson's Stability Coefficient(0.52-0.93 and 0.6-0.93 respectively).The Findings indicated that the majority of the office workers were in the active job category, followed by low strain job,possitive job, and high strain job(56.99%, 28.76% ,7.51% and 6.74% respecttively).Of the score from 1 to 5, the mean result of demand scale for the entire group was 3.14 with its corresponding sub scales; intellectual demand, phycosocial damand and demand resulting from reponsibility for safety, and demand resulting from role conflict and overload of 3.17,3.43 and 2.73 respectivelu. The mean result of control scale was 3.37 with its corressonsding sub-scales.; behavioral control and connitive control of 3.07 and 3.68 respecively. Significance difference were found on the mean result of all 3 theoretical scales between sex. The result also revealed that noexecutives were categorized in high job strain group. Employee working less than 2 years in the facilities had highest mean score of demand resulting from role comflict and overload scale, indecating a clearer job description and a better communication between supervisor and suboardinates should be emplasized. Among those who were in passive job category, we recommended that job enlargement and job enrichment could be the solution of choice for those who were in high strain job category. Increase of decision latitude. Team work and off the job activities could be the remedies. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account