DSpace Repository

ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมในการบริโภคอาหารของนิสิตระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ในคณะกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author กิตติ กรุงไกรเพชร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:51:50Z
dc.date.available 2019-03-25T08:51:50Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/457
dc.description.abstract รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงสำรวจ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคอาหารในนิสิตระดับปริญญาตรี กลุ่มคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา ประชากร: นิสิตระดับปริญญาตรี กลุ่มคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป ปีการศึกษา 2552 จำนวน 2,085 คน กลุ่มตัวอย่าง: โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นได้ตัวอย่างทั่งสิ้น 336 คน โดยมาจากคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา 136 คน พยาบาลศาสตร์ 99 คน สาธารณสุขศาสตร์ 62 คน การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร 15 คน สหเวชศาสตร์ 14 คน และแพทยศาตร์ 10 คน วิธีการวิจัย: เก็บข้อมูลทั่วไป ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการบริโภคอาหารจากกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ฐานนิยม ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง 336 คน เป็นเพศหญิงร้อยละ 70 เพศชายร้อยละ 30 ส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 2 และ 3 โดยมาจากคณะวิทยาศาสตร์การกีฬามากที่สุด รองไปเป็นคณะพยาบาลศาสตร์ คณะสาธารณสุข การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร คณะสหเวชศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ ตามลำดับ เกรดเฉลี่ยสะสมส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 2.01-3.00 ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อวันประมาณ 100-500 บาท ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ผลการทดสอบความรุ้ พบว่านิสิตส่วนใหญ่มีความรู้ในการบริโภคอาหารอยู่ในเกณฑ์ดี ทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารอยู่ในเกณฑ์ดีและพฤติกรรมบริโภคอาหารอยู่ในเกณฑ์ดี สรุปผลการวิจัย: ความรู้และทัศนคติในการบริโภคอาหารของนิสิตในกลุ่มสาขาคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับดี th
dc.description.sponsorship รายงานวิจัยฉบับนี้ได้รับเงินอุดหนุนการวิจัย ประเภทงบประมาณเงินรายได้ ประจำปี 2554 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การรับประทานอาหาร th_TH
dc.subject นักศึกษา - - โภชนาการ - - ไทย (ภาคตะวันออก) th_TH
dc.subject บริโภคนิสัย - - ไทย (ภาคตะวันออก) th_TH
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา - - นักศึกษา - - ทัศนคติ th_TH
dc.title ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมในการบริโภคอาหารของนิสิตระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ในคณะกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title.alternative Knowledge, Attitude and Behavior in food consumption of the undergraduate students in group of faculties of health sciences, Burapha University, 2009 en
dc.type Research th_TH
dc.year 2554
dc.description.abstractalternative Study design: A survey study Objectives: To find out the knowledge, attitude and behavior of food consumption in undergraduate students of the groups of faculties of Health, Burapha University Population : The 2,085 undergraduate students of the groups of faculties of Health Science, Burapha University, academic year 2009, except 1 st year students Samples: The 336 students derived from stratified and random sampling method who came from faculty of Sport Science 136 persons, faculty of Nurse 99 persons, faculty of Public Health 62, faculty of Abhaibhubejhr Thai Traditional Medicine 15 persons, faculty of Allied Health Science 14 persons and faculty of Medicine 10 persons Materials and Methods: The general data and objective data were collected by the researcher and term with questionnaires. The percentange, mode, mean and standard deviation were used to analyzed the data Results : From 336 students, there was proportion of female 70% and male 30%. Most of them studied in 2 nd and 3 rd year. The majority of samples studied in faculty of Sport Science, the next orders were faculty of Nursing, faculty of Public Health, faculty of Abhaibhubejhr Thai Traditional Medicine, faculty of Allied Health sciences and faculty of Medicine, respectively. The mode of grade point average was in the level of 2.00-3.00 and the mode of daily income was 100-500 baht. The majority of occupation of parent was government or state enterprise working. The results of the study revealed that the overall of samlpes had the good level of knowledge, attitude and behavior of food consumption. Conclusions: Most of undergraduate students who studied in a group of faculities of Health Science of Burapha University had the good level of knowledge, attitude and behavior of food consumption. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account